17 ก.พ. 2021 เวลา 00:48 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
อาหารสด "สดธรรมชาติ" หรือ "สดฟอร์มาลีน"🤔??
1
อาหารที่มักพบสารฟอร์มาลีนปนเปื้อน ได้แก่ อาหารทะเล เนื้อสัตว์ ผักสดและผลไม้
1
วิธีการสังเกตง่ายๆ คือ ถ้าเป็นเนื้อสัตว์ หากถูกแสงแดดหรือลมเป็นเวลานาน แล้วยังดูสดอยู่ก็ไม่ควรซื้อ (แต่ใครจะเอาไปตากแดดให้มันเสียล่ะเนาะทุกคน)
ถ้าเป็นอาหารทะเลที่เนื้อแข่งบางส่วน เปื่อยยุ่ยบางส่วน ไม่ควรซื้อนะคะ
ถ้าเป็นผัก ผลไม้ที่มีลักษณะแข็ง เขียว กรอบหรือสดผิดปกติ ให้ดมที่ใบ ผล หรือหักก้านมาดม ถ้ามีกลิ่นแสบจมูก แสดงว่ามีฟอร์มาลีนปนเปื้อนค่ะ
เวลาซื้ออาหารมาแล้วควรแช่ด้วยสารละลายด่างทับทิมเจือจางในอัตราส่วน 20 เกล็ด ต่อน้ำ 4-5 ลิตร ประมาณ 5 นาที แล้วล้างออก เพราะฟอร์มาลีนจะทำปฏิกิริยากับด่างทับทิมแล้วได้เกลือฟอร์เมตที่ละลายน้ำได้
#จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าฟอร์มาลดีไฮด์เข้าสู่ร่างกาย
“ฟอร์มาลีน” มีส่วนประกอบหลัก คือ ฟอร์มาลดีไฮด์ 37% มีลักษณะเป็นน้ำใส ไม่มีสี กลิ่นฉุน และมีฤทธิ์ระคายเคือง
เมื่อฟอร์มาลดีไฮด์เข้าสู่ร่างกาย จะถูกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วโดยเอนไซม์ ผ่านกระบวนการเมทาบอลิซึม โดยจะรวมตัวกับกลูตาไธโอนได้เป็น "ไฮดรอกซีเมทิลกลูตาไธโอน" จากนั้นถูกออกซิไดซ์เป็น "เอส-ฟอร์มิลกลูตาไธโอน" โดยเอนไซม์ฟอร์มาลดีไฮด์ ดีไฮโดรจีเนส และสลายเป็นฟอร์เมต โดยเอนไซม์เอส-ฟอร์มิลกลูตาไธโอน ไฮโดรเลส จากนั้นจะถูกขับออกจากร่างกายทางปัสสาวะในรูปของเกลือฟอร์เมต หรือหายใจออกในรูปคาร์บอนไดออกไซด์
1
ถึงจะมีการขับออกจากร่างกาย แต่ก็ยังมีบางส่วนที่สะสมในร่างกายในรูปแบบของกรดฟอร์มิก ซึ่งอาจทำให้เกิดพิษแบบฉับพลันและเรื้อรัง
อาการที่เกิดพิษจะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับปริมาณที่ได้รับหรือสัมผัส ความไวเฉพาะบุคคล และช่วงเวลาของการรับสัมผัส
**สิ่งมีชีวิตมีการสร้างฟอร์มาลดีไฮด์ในระดับต่ำ จากกระบวนการต่างๆ ภายในร่างกายนะคะ ดังนั้นอาจพบฟอร์มาลดีไฮด์ตามธรรมชาติในอาหารได้ค่ะ
สำหรับอันตรายจากการได้รับฟอร์มาลีนในอาหาร องค์การอนามัยโลก WHO รายงานว่า ฟอร์มาลีนเป็นสารก่อมะเร็ง เมื่อทานหรือสัมผัสเป็นระยะเวลายาวนานและต่อเนื่อง
การรับประทานฟอร์มาลีนปริมาณ 30 มิลลิลิตร ทำให้เสียชีวิตได้
ดังนั้นก่อนนำอาหารสดมาทำเมนูต่างๆ ควรเลือกให้ดีก่อนนะคะ ว่าอันไหนสดแท้ อันไหนสดเทียม ด้วยความห่วงใยจากเพจ Ginny Bunyo
1
ขอบคุณที่อ่านจนจบ😊🙏

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา