25 ก.พ. 2021 เวลา 05:55 • ความคิดเห็น
คราฟเบียร์ ศิลปะแห่งการปรุงดื่ม
ส่วนตัวชมชอบคราฟเบียร์ หลายครั้งที่เดินทางต่างประเทศและได้มีโอกาสลิ้มลองรสชาติอันเป็นเอกลักษณ์ของเบียร์แต่ละร้าน แต่ละเมือง พร้อมอาหาร มันกลายเป็นของคู่กันระหว่างการดื่มและกิน
แม้ในบางประเทศอย่างญี่ปุ่นจะมีเครื่องดื่มชนิดอื่นเป็นที่นิยมกว่า หากแต่ก็ให้ความรู้สึกถึงวัฒนธรรรมการดื่มกินในแต่ละมื้ออาหารเช่นเดียวกัน มีความหลากหลายแต่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละท้องถิ่น ล้วนเป็นประสบการณ์ที่จะถูกจดจำเพื่อระลึกถึง
วันหนึ่งมีโอกาสได้ฟังฟังมุมของประธานสมาคมคราฟเบียร์ไทยออกสื่อ คุยถึงเรื่องราวแง่มุมต่างๆ ที่หน้าสนใจหลายด้าน ซึ่งโดยปกติเราก็ไม่เคยทราบมากก่อน หลายครั้งที่ได้ยินข่าว ผู้คนก็จะไม่ได้สนใจอะไรมากนัก แต่พอได้นั่งฟังอย่างเอาความ ก็พบว่ามีอะไรน่าสนใจมากมาย และพอจับประเด็นได้ดังนี้
สถานะคราฟเบียร์ไทย
เรียกได้ว่าดังไกลทั่วโลก คราฟหลายตัวขายดี มีชื่อเสียง หลายคนอยากมาลองชิมที่ไทย แต่มาแล้วอาจหาไม่ได้หายาก เพราะยังไม่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐมากนัก
กำหนดเวลาขาย
เป็นอะไรที่นักท่องเที่ยวงง เพราะเขามาเที่ยว แต่ดื่มไม่ได้ ต้องรอตามเวลา ส่วนตัวเวลาไปเที่ยวต่างประเทศก็ไม่เคยเจอ มีแต่ห้ามดื่มในที่สาธารณะ ซื้อได้ตลอด เครื่องดื่มมีแอลเป็นส่วนหนึ่งของทุกมื้ออาหาร
การท่องเที่ยว
ด้วยชื่อเสียงในระดับสากลของคราฟเบียร์ไทย ใครมากก็อยากจะหาลอง แต่เบียร์ดังหลายตัวไม่ได้ผลิตในประเทศเพราะติดเรื่องกฏหมาย เบียร์ไทยแต่ made in ประเทศเพื่อนบ้านแทบทั้งนั้น
Research and development
บ้านเราผิดกฏหมาย การทอดลองทำเพื่อปรับปรุงผลงาน เพื่อให้ได้รสชาติที่ต้องการ ก่อนไปตั้งโรงงานหรือจ้างผลิตเป็นได้ยาก โดนจับกันอยู่บ่อย ถูกมองว่าเป็นต้มเหล้าเถื่อน ตรงนี้ผมว่าเป็นไปได้มะที่จะทำลักษณะ co space 555
การผลิต
คราฟตัวดังหลายตัวผลิตประเทศเพื่อนบ้านเพื่อส่งออก เพราะปริมาณไม่เยอะพอตามกฏหมายกำหนดสำหรับการตั้งโรงงานผลิต ซึ่งทำให้คราฟไทยเกิดยาก เพราะไม่สามารถทำในลักษณะโฮมเมด หรือค่อยเป็นค่อยไปได้ ทางออกจึงต้องจ้างผลิต เวลาลูกค้าสั่งก็มีงงว่าอ้าวเบียร์ไทยทำไมผลิต เวียดนามบ้าง ลาวบ้าง
ปัจจุบันเวียดนาม ลาวเริ่มหันมาสนใจและเริ่มผลิตคราฟเบียร์เพิ่มมากขึ้น และเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวในอนาคต
วัตถุดิบข้าวไทย
ข้าวไทยได้รับความนิยมในอย่างมากในการผลิตแอลกอร์ฮอ เช่น ญี่ปุ่นสั่งข้าวหอมมะลิไทยเพื่อผลิตสาเกระดับพรีเมี่ยมหลายตัว ถ้าแก้กฏหมายเปิดโอกาสการลงทุนในกระบวนการผลิตแอลกอร์ฮอในบ้านเรา เขาเชื่อว่ามีบริษัทต่างชาติมากมายที่พร้อมเข้ามาลงทุนตั้งโรงงาน เหมือนในประเทศเพื่อนบ้าน การที่ไทยไม่ขยับหรือปรับตัว เท่ากับเสียโอกาส
ห้ามขายออนไลน์ เดี๋ยวเด็กสั่งมากิน
อันนี้เป็นอีกมุมหนึ่ง ที่ผู้ให้สัมภาษณ์อยากสะท้อนอีกมุม คือมองว่าเบียร์คราฟไม่ได้มีหน้าร้านมากมาย กลุ่มลูกค้าส่วนใหญ่คือต่างประเทศและกลุ่มลูกค้าเฉพาะ การขายออนไลน์คือช่องทางสื่อสารเฉพาะกลุ่ม และแทบเป็นช่องทางการตลาดหลัก การห้ามขายออนไลน์จึงเท่ากับปิดโอกาสของเบียร์คราฟ
ส่วนเด็กจะสั่งเบียร์คราฟมาลองนั้น สามารถป้องการและกำหนดวิธีการขายได้ เหมือนในต่างประเทศ และเขามองว่าการซื้อหาเบียร์ตลาดตามร้านขายของชำหรือร้านสะดวกซื้อนั้นง่ายและถูกกว่า เบียร์คราฟมีราคาแพง รสชาติเฉพาะ ไม่ใช่ใครก็ชอบดื่ม เครื่องดื่มที่ขายในร้านสะดวกซื้อนั่นละหาง่ายกว่าสั่งออนไลน์เสียอีก
ส่วนแบ่งการตลาด ทำให้ปลาใหญ่ไล่กินปลาเล็กจริงหรือ ?
ส่วนนี้เขามองว่า ตลาดเบียร์คราฟมีสัดส่วนน้อยมาก บริษัทใหญ่เองก็อยากลงมาเล่นตลาดนี่เพื่อเพิ่มความหลากหลาย และเป็นตลาดเฉพาะกลุ่ม มีผลต่อการแบรนด์มากกว่ายอดขาย ไม่ได้มีผลต่อสินค้าเบียร์ในตลาดของเจ้าใหญ่ ดังจะเห็นเจ้าใหญ่ก็เริ่มลงมาทำอยู่บ้าง ซึ่งราคาสูง และจะเป็นอีกกลุ่มลูกค้า
ส่วนตัวผมเองมองเครื่องดื่ม Home made แบบคราฟเบียร์ว่ามันเหมือนกันปรุงอาหาร มีลักษณะเฉพาะของท้องถิ่นทฤดูการ วัสถุดิบ มันมีเรื่องราวน่าสนใจและจดจำ ไม่ใช่เครื่องดื่มเชิงอุตสาหกรรม ผลิตจำนวนมาก ส่วนอนาคตของคราฟเบียร์ไทยจะเป็นอย่างไรคงได้แต่เอาใจช่วย
เอ้าชนนนน

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา