Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Health Me Now
•
ติดตาม
25 ก.พ. 2021 เวลา 09:41 • สุขภาพ
โรคพาร์กินสัน คือ โรคที่เกิดจากความผิดปกติของระบบประสาท เนื่องจากการขาดสารโดปามีนในสมอง พบได้บ่อยในผู้สูงอายุทั้งเพศชายและหญิง โรคนี้เกิดขึ้นจากการเสื่อม และตายไปของเซลล์สมอง ในตำแหน่งที่สร้างสารโดปามีน จนไม่สามารถสร้างสารโดปามีนได้เพียงพอ สารโดปามีนนี้มีความสำคัญต่อ การควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย
1
ปัจจุบันโรคพาร์กินสันจัดเป็นโรคความเสื่อมของระบบประสาท (Neurodegenerative Diseases) ที่พบได้บ่อยเป็นอันดับ 2 รองมาจากโรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s Disease) หรือโรคหลงลืม ในอัตราส่วนประมาณ 1 ใน 100 (ร้อยละ 1) ในคนที่มีอายุมากกกว่า 65 ปีขึ้นไป และเพิ่มเป็นร้อยละ 1-3 ในผู้มีอายุมากกว่า 80 ปี มองดูแล้วตัวเลขอาจจะดูไม่มาก แต่ถ้าเป็นอัตราส่วนเทียบกับคนปกติเป็นจำนวนไม่น้อยเลยทีเดียว
อาการ โรคพาร์กินสัน
ผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน มีอาการสั่นขณะอยู่เฉยๆ เกิดขึ้นที่มือหรือเท้า ซีกใดซีกหนึ่งหรือทั้ง 2 ซีก เคลื่อนไหวช้าลง เช่น เดินช้าลง แขนไม่แกว่ง พูดเสียงเบา มักมีอาการแข็งตึงของแขนขา และลำตัว ทำให้เคลื่อนไหวลำบาก นอกจากนี้ยังพบความผิดปกติของท่าทาง และการทรงตัว เช่น หลังค่อม แขนงอ หกล้มง่าย นั่งตัวเอียง ส่วนอาการอื่นๆ ที่มักพบร่วมด้วย ได้แก่ อาการปวดตามกล้ามเนื้อ ซึมเศร้า นอนไม่หลับ สีหน้าเฉยเมย ไม่แสดงอารมณ์ น้ำลายไหลบ่อย ไม่สามารถควบคุมได้ ลายมือเปลี่ยนไป
1
การรักษา โรคพาร์กินสัน
ขณะนี้ยังไม่มีวิธีการรักษาใดที่จะทำให้โรคพาร์กินสันหายขาดได้ เนื่องจากไม่สามารถหยุดยั้งความเสียหายที่เกิดกับเซลล์สมอง อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีหลายวิธีในการบำบัดรักษาเพื่อควบคุมอาการหรือชะลอไม่ให้โรคเลวลงเร็วนัก เมื่อวินิจฉัยได้แล้วว่าผู้ป่วยเป็นโรคพาร์กินสัน แพทย์จำเป็นต้องวางแผนการรักษา ติดตามอาการ และประเมินผลการรักษาเป็นระยะๆ แตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย
รักษาด้วยยา ซึ่งแม้ว่ายาจะไม่สามารถทำให้เซลล์สมองที่ตายไปแล้วฟื้นตัวหรือกลับมางอกทดแทนเซลล์เดิมได้ แต่ก็จะทำให้สารเคมีโดปามีนในสมองมีปริมาณเพียงพอกับความต้องการของร่างกายได้ สำหรับยาที่ใช้ในปัจจุบัน คือ ยากลุ่ม LEVODOPA และยากลุ่ม DOPAMINE AGONIST เป็นหลัก (การใช้ยาแต่ละชนิดขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยจากแพทย์ ตามความเหมาะสม)
1
ทำกายภาพบำบัด จุดมุ่งหมายของการรักษาก็คือ ให้ผู้ป่วยกลับคืนสู่สภาพชีวิตที่ใกล้เคียงคนปกติที่สุด สามารถเข้าสังคมได้อย่างดี มีความสุขทั้งกายและใจ ซึ่งมีหลักวิธีปฏิบัติง่าย ๆ คือ
ฝึกการเดินให้ค่อย ๆ ก้าวขาแต่พอดี โดยเอาส้นเท้าลงเต็มฝ่าเท้า และแกว่งแขนไปด้วยขณะเดินเพื่อช่วยในการทรงตัวดี นอกจากนี้ควรหมั่นจัดท่าทางในอิริยาบถต่าง ๆ ให้ถูกสุขลักษณะ รองเท้าที่ใช้ควรเป็นแบบส้นเตี้ย และพื้นต้องไม่ทำมาจากยาง หรือวัสดุที่เหนียวติดพื้นง่าย
เมื่อถึงเวลานอน ไม่ควรให้นอนเตียงที่สูงเกินไป เวลาจะขึ้นเตียงต้องค่อย ๆ เอนตัวลงนอนตะแคงข้างโดยใช้ศอกยันก่อนยกเท้าขึ้นเตียง
ฝึกการพูด โดยญาติจะต้องให้ความเข้าอกเข้าใจค่อย ๆ ฝึกผู้ป่วย และควรทำในสถานที่ที่เงียบสงบ
การผ่าตัด โดยมากจะได้ผลดีในผู้ป่วยที่มีอายุน้อย และมีอาการไม่มากนัก หรือในผู้ที่มีอาการแทรกซ้อนจากยาที่ใช้มาเป็นระยะเวลานาน ๆ เช่น อาการสั่นที่รุนแรง หรือมีการเคลื่อนไหวแขน ขา มากผิดปกติจากยา ปัจจุบันมีการใช้วิธีกระตุ้นไฟฟ้าที่สมองส่วนลึกโดยผ่าตัดฝังไว้ในร่างกาย พบว่ามีผลดี แต่ค่าใช้จ่ายสูงมาก ผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน จำเป็นต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่จากคนรอบข้างในการพัฒนาฟื้นฟูด้านร่างกาย รวมถึงจิตใจ ดังนั้นหากท่านมีคนใกล้ชิดที่เป็นโรคชนิดนี้ จึงควรรีบนำมาพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยโรคอันจะนำไปสู่การรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสมต่อไป
เรียนรู้เพิ่มเติม
healthmenowth.com
โรคพาร์กินสัน : Health Me Now
โรคพาร์กินสัน คือ โรคที่เกิดจากความผิดปกติของระบบป...
healthmenow
สุขภาพ
โรคระบบประสาท
บันทึก
3
9
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ประสาทและสมอง
3
9
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย