Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
มูลนิธิสืบนาคะเสถียร
•
ติดตาม
2 มี.ค. 2021 เวลา 03:00 • สิ่งแวดล้อม
บันทึก การพบนกกระสาคอขาวปากแดงครั้งแรก ของ สืบ นาคะเสถียร ตอนที่ 2
รังนก
รังนกตั้งอยู่บนง่ามกิ่งขนาดใหญ่ของต้นยางซึ่งสูง 27 เมตร โดยกิ่งที่ตั้งของรังนกสูงจากระดับน้ำท่วม 15 เมตร และอยู่ทางตะวันออกของลำต้น
ต้นยางต้นนี้ขึ้นอยู่ริมฝั่งคลองมอญ ซึ่งเป็นสาขาของคลองพระแสง พื้นที่ดังกล่าวอยู่ที่ระดับ 69 เมตรจากระดับน้ำทะเล (9 องศา 05 ฟิลิปดาเหนือ 98 องศา 60 ฟิลิปดาตะวันออก)
ครั้งแรกที่พบ รังนกสูงจากระดับน้ำเพียง 15 เมตร
รังนกประกอบด้วยพื้นราบ ลึก 15 ซม. เส้นผ่านศูนย์กลางแนบนอนของรังภายนอกมีขนาด 50 ซม. สร้างจากกิ่งไม้แห้งยาว 15.60 ซม. เป็นหลัก
บางกิ่งดูเหมือนจะเป็นกิ่งไม้วงศ์อบเชย วงศ์ตันยางและวงศ์กระทุ่ม พื้นรังปูด้วยใบไม้แห้งและปุยฝ้าย
รังที่สองซึ่งเป็นรังร้าง มีลักษณะคล้ายกับรังแรกแต่อยู่บนกิ่งยอดสูงสุด 30 เมตร ข้อมูลเหล่านี้เป็นการบรรยายลักษณะรังของนกกระสาคอขาวปากแดงเป็นครั้งแรก
ลักษณะของพ่อแม่นก
รูปร่างลักษณะของนกกระสาคอขาวปากแดงไม่เป็นที่รู้จักกันนัก และในอดีตความไม่รู้ทำให้เกิดการสับสนกันกับนกกระสาคอขาว
ทั้งสองพันธุ์มีตัวและปีกสีดำตัดกับสีขาวของท้องและขนคลุมหางด้านล่าง แต่นกกระสาคอขาวปากแดงจะมีขนดำด้านข้างและด้านหน้าของคอด้วย ส่วนสีขาวที่หัวและคอจะปรากฏเฉพาะแถวแก้มและต้นคอ เป็นแถบรูปลิ่มแคบยาวต่อมาจากกลางเส้นคอด้านหน้าประมาณหนึ่งในสามของความยาวของคอ
โดยบริเวณที่เป็นสีขาวนี้อยู่ส่วนบน ที่หางมีขนด้านนอกเป็นสีดำ ลักษณะเช่นนี้จะมองเห็นยากนอกจากเวลาบิน
อย่างไรก็ดี ลักษณะเด่นที่สุดของนกชนิดนี้คือ ปากสีส้มสด และหนังรอบตาสีเหลืองกระจ่าง ส่วนขามีสีส้มอ่อนและหนังที่หน้าสีส้มจาง ทั้งสองเพศมีลักษณะคล้ายกัน
การเจริญเติบโตของลูกนก
วันแรกที่เห็นลูกนกคือวันที่ 24 ตุลาคม ซึ่งเชื่อว่าลูกนกเกิดมาแล้ว 1-3 วัน ทั้งสองตัวมีขนอ่อนสีขาวขึ้นทั่วตัว แต่จะงอยปากสีดำและหัวสีดำไม่มีขน
ระหว่างการเฝ้าสังเกตเป็นเวลา 20 นาที เห็นพ่อหรือไม่ก็แม่นกตัวใดตัวหนึ่งคอยเฝ้าดูแลลูกนก ส่วนลูกนกมักจะเดินไปมา แต่เมื่อได้ยินนกเหยี่ยวรุ้งร้องลูกนกก็หมอบตัวลงและนั่งนิ่งอยู่บนพื้นรัง
วันที่ 13 พฤศจิกายน ลูกนกมีขนาดใหญ่ขึ้นประมาณเท่าตัว และเห็นขนสีดำงอกแซมขึ้นระหว่างขนอ่อนสีขาวบริเวณคอหอย ปีก และลำตัว ปลายปากเป็นสีเหลือง หนังบริเวณใบหน้าจะเป็นสีเหลืองอ่อน และหนังใต้คางเป็นสีเหลืองสด บางครั้งนกจะยืนตรงและกางปีก
ในระหว่างการสังเกตนั้น แม้เป็นช่วงที่พ่อแม่นกไม่ได้เฝ้าอยู่ ลูกนกก็ยังคงหมอบราบและไม่เคลื่อนไหวอยู่บนพื้นรังเมื่อได้ยินเสียงที่ไม่คุ้นเคย
ที่น่าสังเกตคือลูกนกทั้งสองตัวโตไม่เท่ากัน ประมาณ 30 วัน หลังออกจากไข่บริเวณขนสีดำมีเพิ่มขึ้น และรวมทั้งขนที่หน้าอกและปีกเป็นมันเงาด้วยสีทองแดงและสีเขียว
หลังจาก 45 วันไปแล้วลูกนกจะมีลักษณะคล้ายพ่อแม่นก ถึงแม้จะยังมีตัวเล็กกว่ามาก ปากก็สั้นกว่า ขนอ่อนยังขึ้นเป็นหย่อมเล็กในบางบริเวณ หนังที่หน้าเป็นสีเหลืองจางจะงอยปากเป็นสีส้มสดโดยส่วนปลายสีจะคล้ำ
ส่วนที่ต่างจากพ่อแม่นกอีกประการคือ ลูกนกทั้งสองมีขนดำบริเวณหัวครอบคลุมถึงบริเวณใต้ตาและฐานปาก ขาตอนบนมีสีเทาเข้ม แต่ตอนล่างจะเปลี่ยนเป็นสีส้มออกแดงทึมๆ
หลังอายุ 3 สัปดาห์ เมื่อลูกนกที่จับมาอายุ 90 วัน ก็บินได้ใกล้ๆ นกตัวที่ได้รับบาดเจ็บที่จงอยปากก็สามารถกินอาหารได้ตามปกติ และตลอดเวลาที่ศึกษาลูกนกร้องเสียงแหบดังแครกแครก
ก่อนจะมีการสร้างเขื่อนเชี่ยวหลาน บริเวณที่เป็นแอ่ง คือ ตามฝั่งแม่น้ำไม่เกิน 100 เมตร นั้นถูกหักร้างถางพง ตั้งเป็นถิ่นฐานของชาวบ้าน 283 ครอบครัว ไม่เกิน 21 ตารางกิโลเมตร และพื้นที่ส่วนใหญ่ที่เป็นที่ลุ่มต่ำ ซึ่งเป็นกึ่งป่าเขตร้อนผลัดใบ ประกอบด้วยเรือนยอดของต้นไม้ 3 ระดับชั้น มีไม้ใหญ่มากมาย ได้แก่ ตะเคียน, มะค่า, ยาง, บุญนาค, ไทรหลายชนิด ต้นไม้ส่วนใหญ่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 10 ซม. ที่ระดับอก
ความหนาแน่นของต้นไม้ประมาณ 500-800 ต้นต่อ 6.25 ไร่ และพื้นที่ที่มีพืชขึ้นปกคลุมเป็นร้อยละ 80-90 ของพื้นที่ทั้งหมด เรือนยอดชั้นล่างประกอบด้วยหวาย ปาล์ม ไผ่ ไม้พุ่ม และไม้เลื้อย
ดินส่วนใหญ่เป็นดินทรายแม่น้ำที่อุดมสมบูรณ์ บริเวณหุบเขาซึ่งเป็นที่ต่ำที่สุดสูงเพียง 13.5 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล และมีความกว้างตั้งแต่ 5 กม. ถึงไม่เกิน 100 เมตร ในบางลำห้วยที่อยู่ตอนบน
ก่อนการสร้างเขื่อน จำนวนนกกระสาคอขาวปากแดงในพื้นที่นี้ก็มีน้อยมากอาจจะค่อยๆ ลดจำนวนลงเพราะการล่ามาหลายสิบปี
ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านซึ่งเคยอาศัยอยู่ใกล้กับบริเวณที่พบรังเล่าว่า เขาเคยเห็นนกกระสาคอขาวปากแดงหากินอยู่ตามลำห้วยสาขาของคลองมอญก่อนที่เขาจะย้ายออกไปในปี 2528
ชื่อพื้นเมืองของนกชนิดนี้คือ นกกระสุ่ม มาจากวิธีการหาปลาของมันที่เดินย่างไปตามชายฝั่งแม่น้ำในป่าทึบ เขายังบอกด้วยว่านกพันธุ์นี้ยิงยากเพราะขี้อายมาก
บทความเรื่อง การพบนกกระสาคอขาวปากแดงในประเทศไทย โดย สืบ นาคะเสถียร ยังมีต่ออีกหนึ่งตอน เป็นบันทึกเสนอถึงแนวทางอนุรักษ์ ติดตามอ่านได้ในวันพรุ่งนี้
บันทึก
1
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ความคิดและผลงานของ สืบ นาคะเสถียร
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย