11 มี.ค. 2021 เวลา 05:46 • ประวัติศาสตร์
“ซูสีไทเฮา (Empress Cixi)” สตรีที่ทรงอิทธิพลที่สุดคนหนึ่งในประวัติศาสตร์จีน
3
“ซูสีไทเฮา (Empress Cixi)” ชื่อนี้หลายคนรู้จักดี
พระองค์เป็นบุคคลหนึ่งที่มีความสำคัญและโด่งดังที่สุดคนหนึ่งในประวัติศาสตร์จีน
พระองค์ประสูติในปีค.ศ.1835 (พ.ศ.2378) โดยเป็นธิดาของขุนนางผู้หนึ่ง โดยครอบครัวของพระองค์มีเชื้อสายแมนจู
ขณะมีพระชนม์ได้ 16 พรรษา พระองค์ได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งในชายาของ “จักรพรรดิเสียนเฟิง (Xiangfeng Emperor)” และได้ใช้ชีวิตที่สุขสบาย แตกต่างจากชีวิตนอกวัง
1
จักรพรรดิเสียนเฟิง (Xiangfeng Emperor)
ในรัชสมัยของจักรพรรดิเสียนเฟิง ได้เกิด “กบฏไท่ผิง (Taiping Rebellion)” ซึ่งเป็นสงครามกลางเมืองที่เริ่มลุกลามไปทั่วแผ่นดิน และคร่าชีวิตผู้คนไปกว่า 20 ล้านคน
1
กบฏไท่ผิง (Taiping Rebellion)
ในปีค.ศ.1856 (พ.ศ.2399) พระองค์ให้กำเนิดพระราชโอรสและองค์รัชทายาท นั่นคือ “จักรพรรดิถงจื้อ (Tongzhi Emperor)” และในเวลาไม่นาน พระองค์ก็ได้ขึ้นเป็นหนึ่งในผู้ที่มีอำนาจมากที่สุดในราชสำนัก
1
รัชสมัยของจักรพรรดิเสียนเฟิงนั้นไม่ค่อยจะดีนัก นอกจากสงครามกลางเมืองที่ไม่มีทีท่าจะสิ้นสุด อังกฤษก็เริ่มจะต่อต้านและจับมือกับฝรั่งเศส ทำสงครามกับจีน เกิดเป็นสงครามฝิ่นครั้งที่ 2 (Second Opium War)
1
สงครามฝิ่นครั้งที่ 2 (Second Opium War)
จักรพรรดิเสียนเฟิงสวรรคตในปีค.ศ.1861 (พ.ศ.2404) ทิ้งประเทศที่โกลาหลไว้เบื้องหลัง
ซูสีไทเฮา ซึ่งในเวลานั้นคือ “ซูสีฮองไทเฮา” เริ่มจะหาทางรวบรวมอำนาจ
ตามพระราชพินัยกรรมของจักรพรรดิเสียนเฟิง ขุนนางชั้นผู้ใหญ่จำนวนแปดคนจะทำหน้าที่ถวายคำปรึกษาแก่จักรพรรดิถงจื้อ ซึ่งมีพระชนมายุเพียงห้าพรรษา ในขณะเดียวกัน ซูสีไทเฮาก็ได้ร่วมมือกับ “ซูอันไทเฮา (Empress Dowager Ci'an)” อัครมเหสีของจักรพรรดิเสียนเฟิง แต่งตั้งตนเป็นผู้สำเร็จราชการแทนองค์จักรพรรดิร่วมกัน มีอำนาจที่จะสั่งการหรือยับยั้งคำสั่งทุกอย่าง
จักรพรรดิถงจื้อ (Tongzhi Emperor)
ซูอันไทเฮา (Empress Dowager Ci'an)
ซูสีไทเฮา ซูอันไทเฮา และ “เจ้าชายกงชินหวัง (Prince Gong)” ได้ร่วมมือกันยึดอำนาจ และได้กล่าวหาขุนนางจำนวนสามคนที่สงสัยว่าจะทำให้ตนเสียอำนาจ กล่าวหาว่าไม่มีความจงรักภักดี และสั่งประหารชีวิต
เจ้าชายกงชินหวัง (Prince Gong)
เมื่อได้อำนาจ ก็มีการแบ่งหน้าที่ โดยซูอันไทเฮาจะดูแลเรื่องในวัง ซูสีไทเฮาจะดูแลเรื่องการบ้านการเมืองต่างๆ ส่วนเจ้าชายกงชินหวัง ซึ่งเป็นเชื้อพระวงศ์โดยกำเนิด ก็เป็นเสมือนตัวแทนความชอบธรรม เป็นหน้าตาของกลุ่ม
1
ในช่วงเวลานี้เอง จักรพรรดิถงจื้อก็ไม่ได้ทรงมีอำนาจอะไร และไม่รับรู้เรื่องราวของบ้านเมืองเลยตลอดช่วงเวลาที่พระองค์ทรงพระเยาว์
2
ภายหลังสงครามฝิ่นครั้งที่ 2 ชาติตะวันตกก็ได้เข้ามาแผ่อำนาจในจีน แต่ทางการจีนก็สามารถขอความช่วยเหลือจากอังกฤษและฝรั่งเศสในการปราบปรามกลุ่มกบฏ ซึ่งซูสีไทเฮาก็ทรงส่งเสริมการนำเทคโนโลยีทางการทหารของตะวันตกมาปรับใช้
4
นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงสนับสนุนการสร้างโรงเรียนสำหรับสอนภาษาต่างประเทศและวิทยาศาสตร์ และส่งเสริมอุตสาหกรรม และการปรับปรุงประเทศสู่ความทันสมัย หากแต่ก็ทรงคัดค้านการสร้างทางรถไฟ โดยทรงให้เหตุผลว่า “เสียงของรถไฟจะไปรบกวนคนตาย”
1
ในช่วงเวลานี้ ซูสีไทเฮาได้ทรงใกล้ชิดกับขันทีผู้หนึ่ง ชื่อว่า “อันเต๋อไห่ (An Dehai)” ซึ่งก็มีข่าวลือว่าพระองค์ทรงมีความสัมพันธ์เกินเลยกับอันเต๋อไห่
1
ความใกล้ชิดนี้สร้างความไม่พอใจแก่เจ้าชายกงชินหวังและข้าราชสำนัก อันเต๋อไห่จึงถูกนำตัวไปตัดหัวในปีค.ศ.1869 (พ.ศ.2412)
อันเต๋อไห่ (An Dehai)
จักรพรรดิถงจื้อได้สวรรคตขณะมีพระชนมายุ 18 พรรษา โดยมีข่าวลือว่าพระองค์เป็นซิฟิลิส ทำให้ภาพลักษณ์ของพระองค์ไม่ดีนัก
ภายหลังจากจักรพรรดิถงจื้อสวรรคต ซูสีไทเฮาก็ทรงมีปัญหา กระทบกระทั่งกับ “จักรพรรดินีเซี่ยวเจ๋ออี้ (Empress Xiaozheyi)” อัครมเหสีในจักรพรรดิถงจื้อ
ในเวลาต่อมา จักรพรรดินีเซี่ยวเจ๋ออี้สวรรคตจากการทำอัตวินิบาตกรรม ไม่นานหลังการสวรรคตของพระราชสวามี
1
จักรพรรดินีเซี่ยวเจ๋ออี้ (Empress Xiaozheyi)
จากนั้น ซูสีไทเฮาก็ทรงอุปการะ “จักรพรรดิกวังซวี่ (Guangxu Emperor)” พระราชโอรสในจักรพรรดิถงจื้อและจักรพรรดินีเซี่ยวเจ๋ออี้
ในช่วงเวลานี้ ซูอันไทเฮาได้เป็นผู้สำเร็จราชการหลัก มีอำนาจมากกว่าใครๆ แต่ในปีค.ศ.1881 (พ.ศ.2424) ซูอันไทเฮาก็ได้สวรรคตจากอาการประชวร ทำให้ซูสีไทเฮากลับมามีอำนาจอีกครั้ง
จักรพรรดิกวังซวี่ (Guangxu Emperor)
จักรพรรดิกวังซวี่ได้ขึ้นสู่อำนาจในปีค.ศ.1889 (พ.ศ.2432) ขณะมีพระชนมายุ 18 พรรษา และซูสีไทเฮาก็ได้ทรงเกษียณองค์เอง ไปประทับอยู่ยังชานเมืองปักกิ่ง หากแต่ก็ยังมีอำนาจ ให้คำแนะนำรัฐบาลในเรื่องต่างๆ
1
ในปีค.ศ.1898 (พ.ศ.2441) ซูสีไทเฮาได้ทรงคัดค้านการปฏิรูปที่เรียกว่า “การปฏิรูปร้อยวัน (Hundred Days' Reform)”
การปฏิรูปนี้ได้รับการสนับสนุนจากองค์จักรพรรดิและเหล่าที่ปรึกษา และจะให้ปกครองในระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ
ซูสีไทเฮาทรงคัดค้านและทำทุกวิถีทางเพื่อไม่ให้การปฏิรูปนี้เกิดขึ้น มีการโยกย้ายขุนนางที่สนับสนุนการปฏิรูป และประหารขุนนางอีกจำนวนมาก ส่วนจักรพรรดิกวังซวี่ก็ถูกควบคุมองค์ ย้ายไปประทับที่อื่น และหมดสิ้นอำนาจ
ต่อมา ได้เกิดกระแสต่อต้านตะวันตก เกิดเป็น “กบฏนักมวย (Boxer Rebellion)” ซึ่งพระองค์ทรงสนับสนุน หากแต่ก็พ่ายแพ้ และจีนก็ต้องเสียเงินค่าปรับจำนวนมาก
กบฏนักมวย (Boxer Rebellion)
พระพลานามัยของซูสีไทเฮาเสื่อมโทรมลงเรื่องๆ จนพระองค์สวรรคตในวันที่ 15 พฤศจิกายน ค.ศ.1908 (พ.ศ.2451)
ภายหลังการเสียชีวิต ภาพลักษณ์ของพระองค์ก็มีทั้งด้านดีและลบ
1
นักประวัติศาสตร์สมัยใหม่หลายคนยกย่องพระองค์ว่าทรงนำพาประเทศผ่านช่วงเวลาที่เลวร้ายได้หลายครั้ง แต่หลายคนก็ไม่ชอบที่พระองค์ทรงสั่งประหารผู้คนจำนวนมาก อีกทั้งยังทรงต่อต้านการปฏิรูปประเทศเนื่องจากเกรงว่าจะเสียอำนาจ
1
ก็ต้องแล้วแต่มุมมองของแต่ละคนแล้วครับ
โฆษณา