Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Wasabi
•
ติดตาม
12 มี.ค. 2021 เวลา 11:30 • สุขภาพ
การนอนกัดฟัน (Sleep Bruxism) คืออะไร?
2
การนอนกัดฟัน (Sleep Bruxism) เป็นพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์อย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นกับระบบบดเคี้ยวในขณะที่นอนหลับ ทำให้กล้ามเนื้อบดเขว ข้อต่อขากรรไกรและฟันต้องทำงานเพิ่มขึ้น การนอนกัดฟันจึงอาจทำให้เกิดผลเสียต่ออวัยวะในระบบบดเคี้ยวได้
1
อาการกัดฟัน (Bruxism)
1
คือ การกัดเน้นฟันหรือถูฟัน และกล้ามเนื้อขากรรไกรทำงานหนักขึ้น ซึ่งจริง ๆ แล้วสามารถเกิดได้สองช่วงเวลา
1. ขณะนอนหลับ (Sleep bruxism)
คนส่วนใหญ่มักไม่รู้ตัว หรืออาจจะรู้จากคนที่นอนด้วยทุก ๆ วัน อย่างภรรยา หรือสามีของท่านนั่นเอง
2. ขณะตื่น (Awake bruxism)
บางคนก็รู้ตัวว่ากัดฟัน บางคนก็ไม่รู้เลยจริง ๆ เพราะว่าการกัดฟันตนเองขณะตื่นมักจะเกิดตอนที่มีสมาธิ หรือกำลังจดจ่อกับอะไรบางอย่างมาก ๆ แล้วเผลอไปกัดฟันตนเอง
อาการกัดฟัน (Bruxism)
สาเหตุของการนอนกัดฟัน
โดยส่วนใหญ่จะมีความเกี่ยวข้องกับปัจจัยทางด้านจิตใจ เช่น ความเครียดและความวิตกกังวล มักจะเกิดในช่วงเวลาที่กำลังนอนหลับโดยที่ไม่รู้ตัวว่ากำลังนอนกัดฟันอยู่ หรืออาจมีสาเหตุจากปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการนอนหลับ เช่น ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ (Sleep Apnea) นอกจากนั้นอาจเกิดขึ้นจากความผิดปกติในการกัดฟัน การสบฟัน ฟันหลอ หรือฟันเบี้ยว
ปัจจัยอื่น ๆ ที่เพิ่มโอกาสให้เกิดการนอนกัดฟัน ได้แก่
- สภาพของจิตใจ
การดำเนินชีวิตประจำวันอาจมีความเครียด เนื่องจากความเร่งรีบในการทำงานก็เป็นสาเหตุที่ให้เรานอนกัดฟันในเวลานอน โดยเราไม่รู้สึกตัวได้
- สภาพฟัน
อาจมีจุดสูงที่อยู่บนตัวฟัน ที่อาจเกิดจากวัสดุอุดฟัน มีการเรียงกันของฟันที่ผิดปกติ ฟันซ้อนเก หรือเป็นโรคปริทันต์ หรือในคนไข้ที่สูญเสียฟันแท้ไป โดยที่ไม่ได้ใส่ฟันปลอมทดแทน ซึ่งถ้าหากว่าจุดสูงหรือจุดขัดขวางการบดเคี้ยว โดยธรรมชาติของคนเราจะพยายามกำจัดจุดสูงหรือจุดขัดขวางการบดเคี้ยว โดยพยายามบดเคี้ยวให้จุดสูงนั้นหมดไป มักจะเกิดในเวลาที่เรานอนหลับ ซึ่งเป็นเวลาที่เราไม่รู้สึกตัว
- อายุ
การนอนกัดฟันเป็นเรื่องปกติที่เกิดกับเด็ก แต่โดยทั่วจะหายไปเองเมื่อเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น
- บุคลิกภาพ หรือลักษณะเฉพาะของแต่ละคน
เช่น ผู้ที่มีนิสัยก้าวร้าว ชอบการแข่งขัน หรือสมาธิสั้น สามารถเพิ่มโอกาสในการนอนกัดฟันได้
- สารกระตุ้นต่าง ๆ
เช่น การสูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือคาเฟอีน
- การใช้ยารักษาโรค
การนอนกัดฟันสามารถเกิดขึ้นจากผลข้างเคียงจากการใช้ยาบางประเภท ซึ่งรวมไปถึงยาทางจิตเวชที่มีผลกระทบต่ออารมณ์หรือจิตใจ เช่น ยารักษาโรคซึมเศร้า และยารักษาอาการทางจิต
ผลเสียของการนอนกัดฟัน
- ผลต่อฟันและเหงือกทำให้ฟันสึก เตี้ย แบนเป็นหลุม ไม่สวยงามและทำให้มีเศษอาหารติดได้ง่าย วัสดุอุดฟัน
- กรอบฟันหรือสะพานฟัน บิ่นหรือแตกหักเสียหายได้ง่าย บางรายอาจมีปัญหาฟันโยก คอฟันสึก เหงือกร่น หรือมีปัญหากัดกระพุ้งแก้มบ่อย ๆ
2
- ผลต่อกล้ามเนื้อและข้อต่อขากรรไกร อาจทำให้เกิดอาการปาด เมื่อย ตึงที่กล้ามเนื้อบดเคี้ยว ซึ่งมีมัดใหญ่อยู่ที่แก้มและขมับทั้งสองข้าง รามทั้งกล้ามเนื้อมัดอื่น ๆ โดยเฉพาะเมื่อตื่นนอน นอกจากนี้เสียงที่เกิดในขณะนอนกัดฟันอาจทำความรบกวนให้แก่ผู้ที่นอนร่วมห้องอีกด้วย
การรักษาการนอนกัดฟัน
การรักษาผู้ที่นอนกัดฟันจะมีความจำเป็นในกรณีที่มีความรุนแรง ซึ่งวิธีการรักษาได้แก่ การรักษาทางทันตกรรม การบำบัดและการใช้ยารักษาโรค ซึ่งควรปรึกษาแพทย์ว่าการรักษาแบบใดจะเหมาะสมที่สุด
1. วิธีทางทันตกรรม
- เฝือกสบฟันหรือฟันยาง
ถูกออกแบบมาเพื่อป้องกันไม่ให้ฟันถูกทำลายจากการบดเคี้ยวและการขบเน้นฟัน ทำจากอะคริลิกแข็งหรือวัสดุที่มีความอ่อนนุ่ม โดยทันตแพทย์จะให้ใส่ระหว่างนอนหลับ
- การจัดฟันหรือแก้ไขทางทันตกรรม
การแก้ไขฟันที่มีปัญหาให้เรียงตัวกันอย่างเหมาะสม จะช่วยแก้ปัญหาการนอนกัดฟันที่มีสาเหตุทางทันตกรรมได้ ในรายที่มีอาการรุนแรง มีฟันที่เสื่อมสภาพและทำให้เกิดอาการเสียวฟันหรือทำให้การบดเคี้ยวมีปัญหา ทันตแพทย์อาจทำการปรับแต่งพื้นผิวฟันที่ใช้ในการบดเคี้ยวหรือที่มีการครอบฟัน ในบางรายทันตแพทย์อาจแนะนำให้มีการจัดฟันหรือการผ่าตัด
2. การบำบัดรักษา
การบำบัดรักษาที่อาจช่วยบรรเทาการนอนกัดฟัน
- การจัดการกับความเครียด
หากมีภาวะกัดฟันเป็นประจำหรือนอนกัดฟันที่มีสาเหตุมาจากความเครียด สามารถป้องกันหรือแก้ไขปัญหาได้ด้วยการพบผู้ให้คำปรึกษามืออาชีพหรือมองหาวิธีที่ช่วยให้มีการผ่อนคลาย เช่น การออกกำลังกายหรือการนั่งสมาธิ
- การบำบัดหรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
เมื่อพบว่ามีการนอนกัดฟัน สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ด้วยการฝึกฝนการวางตำแหน่งของปากหรือขากรรไกรให้เหมาะสม ซึ่งทันตแพทย์จะแสดงตำแหน่งของฟันและขากรรไกรที่เหมาะสมที่สุดสำหรับแต่ละคน
- ไบโอฟีดแบ็ค (Biofeedback)
หากเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมได้ยากลำบาก อาจใชัวิธีฝึกไบโอฟีดแบ็ค ซึ่งเป็นการใช้คอมพิวเตอร์บันทึกการทำงาน การหดตัว การคลายตัวของกล้ามเนื้อ และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ทำให้สามารถรู้จุดบกพร่องและทำให้ควบคุมกล้ามเนื้อที่ขากรรไกรได้อย่างถูกต้อง
3. ใช้ยารักษา
โดยปกติแล้วการใช้ยารักษาการนอดกัดฟันจะไม่มีประสิทธิภาพนัก และยังต้องการการค้นคว้าวิจัยอีกมาก
ตัวอย่างการใช้ยาที่ใช้ในการรักษาการนอนกัดฟัน เช่น...
- ยาคลายกล้ามเนื้อ
แพทย์อาจให้ใช้ในบางรายด้วยการใช้ยาคลายกล้ามเนื้อก่อนนอน โดยใช้เป็นระยะเวลาสั้น ๆ
- การฉีดโบทอกซ์ (OnabotulinumtoxinA: Botox)
การฉีดโบทอกซ์อาจช่วยผู้ที่มีการนอนกัดฟันอย่างรุนแรงและไม่ตอบสนองต่อการบรรเทารักษาอื่น ๆ
#สาระจี๊ดจี๊ด
การนอนกัดฟันเป็นอาการของผู้ที่มีความผิดปกติด้านการบดเคี้ยว สามารถพบได้ตั้งแต่เด็กไป จนถึงผู้ใหญ่ ทั้งเพศชายและหญิง สาเหตุที่แท้จริงของการนอนกัดฟันยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด "การนอนกัดฟันจึงเป็นภัยเงียบ และส่งผลเสียต่อตัวผู้ที่นอนกัดฟันเองโดยไม่รู้ตัว"
#Wasabi ขอเพียงมีส่วนเล็ก ๆ ที่ช่วยให้คุณ!
"เจริญเติบโต ก้าวหน้า สำเร็จ อย่างภาคภูมิใจ"
แหล่งที่มา / แหล่งอ้างอิง
https://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=1017
https://www.mission-hospital.org/images/pdf/sleep.pdf
https://www.facebook.com/110958707289352/posts/117702849948271
#สาระจี๊ดจี๊ด #Wasabi #ความรู้ขึ้นสมอง
5 บันทึก
17
22
17
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
สุขภาพ โรคภัย การแพทย์
Sleep Rest Relaxation
5
17
22
17
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย