Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
อยากทำไป-มด
•
ติดตาม
16 มี.ค. 2021 เวลา 07:15 • การศึกษา
เด็กในวัยประถมอายุ 6-7 ขวบ ในสายตาเรา ดูยังเป็นเจ้าตัวน้อยเล็กจ้อย ทำอะไรไม่เป็นอยู่เลย แต่ทำไมคุณครูถึงให้ทำสิ่งแบบนี้แล้ว?? เราสามารถวางใจให้เด็ก ๆ ทำแบบนั้นได้จริง ๆ ใช่มั้ย?? ตามไปดูกันค่ะ
5
สิ่งหนึ่งที่ประทับใจโรงเรียนอนุบาล-ประถมที่นี่ก็คือ การที่ให้เด็กสองชั้นเรียนร่วมกัน ซึ่งเรื่องนี้เป็นไปไม่ได้ที่ประเทศไทยอยู่แล้ว บางโรงเรียนจำนวนเด็กแต่ละชั้นนั้นมากจนบางครั้งต้องแบ่งเป็นสองห้องด้วยซ้ำ
ข้อดีของการเรียนร่วมกันสองชั้นมีประโยชน์หลายอย่าง แต่ที่เห็นชัดที่สุดก็คือ เด็กจะไม่รู้สึกเปลี่ยวดายต่อการต้องเลื่อนชั้น เพราะรู้ว่าจะมีเพื่อนที่รู้จักรออยู่
5
อยากรู้ว่าคืออะไร อ่านต่อไปจนถึงด้านล่างนะคะ
ก่อนจบปีการศึกษาชั้นอนุบาลสอง คุณครูจะจัดหนึ่งสัปดาห์ ให้เด็กชั้นเรียนอนุบาล 2 เข้าไปทดลองเรียนกับเด็กชั้นประถม 1 ในบางคาบของวัน และจัดวันสุดท้ายให้มีการเดินเขาเข้าป่าระยะไกล (ประมาณ 6-7 กม ไปกลับ) ของชั้นอนุบาล 1-2 และชั้น ประถม 1-2 เพื่อให้เด็กอนุบาล 2 ทำความรู้จักกับคุณครูประถมหนึ่ง ที่จะได้พบกันเมื่อเปิดภาคเรียนใหม่
7
วันเดินเขาเข้าป่าระยะไกล ผู้ใหญ่เดินก็ยังเหนื่อย
อีกทั้งเป็นการพาเด็กอนุบาล 2 มาพบกับพี่ประถม 1 อีกครั้ง รื้อฟื้นความสัมพันธ์เดิมที่เคยเป็นเพื่อนกันสมัยเรียน อนุบาล 1-2 ห้องเดียวกัน โดยครูจะจัดให้พี่ประถมหนึ่ง มาคอยเทคแคร์น้องอนุบาล 2 ทั้งแนะนำคร่าว ๆ ว่าจะมีการเรียนการสอนอะไรบ้าง
1
ขออธิบายภาพให้ชัดว่า ความกลัวของเด็ก ๆ อนุบาลสองนั้นเป็นเรื่องที่มองข้ามไม่ได้ เด็กอนุบาลคือวัยเพียง 4-5 ขวบ ได้ไปโรงเรียนเป็นครั้งแรก ได้พบเจอคุณครูอนุบาลเป็นครั้งแรก และยืดถือห้องเรียนและครูเป็นที่ปลอดภัยตลอด 2 ปี โดยไม่ต้องเรียนเรื่องอะไรที่เป็นวิชาการแม้แต่น้อย
ดังนั้นเมื่อได้ทราบว่า ปีต่อไปต้องไปเรียนชั้นประถม กับครูอีกคนที่ไม่รู้จัก และต้องเริ่มเรียนบางอย่าง ที่ไม่ใช่การเล่นสนุกอีกต่อไป นี่คือการเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง ซึ่งในหัวใจดวงน้อย ๆ นั้นมันยิ่งใหญ่และน่ากลัวอยู่มิใช่หรือ
การที่คุณครูจัดสัปดาห์ปรับความรู้สึก ทำให้ความกลัวที่ดูใหญ่ค่อย ๆ เล็กและหายไปในที่สุด เด็กรู้ว่า จะได้ไปเจอเพื่อนที่เคยคุ้นหน้ากัน จะได้เรียนอะไรบางอย่างที่น่าสนุกไม่แพ้การเล่นที่ผ่านมา ได้เจอครูที่ใจดีพอ ๆ กับครูอนุบาล พอถึงเวลาเปิดเทอมก็ตั้งหน้าตั้งตารอที่จะได้เป็นพี่ประถมแล้วล่ะ
6
ในวันแรกของการเข้าเรียนชั้นประถม คุณครูจัดให้พี่ประถม 2 ถือดอกทานตะวันมารับ โดยให้พี่ประถมสองแต่ละคนจับคู่ Buddy กับน้องประถมหนึ่ง ซึ่งคู่ Buddy นี้จะดูแลกันไปในเดือนแรก
5
การเรียนการสอนของที่นี่ ต่างจากชั้นเรียนในประเทศไทย ไม่มีการนั่งเรียงแถวจ้องมองกระดาน และจดหรือเรียนตามที่ครูพูดหน้าชั้น แต่โต๊ะนักเรียนจะตั้งชิดกับผนังห้อง และบางส่วนตั้งอยู่กลางห้อง โดยมีที่ว่างหน้าชั้นสำหรับนั่งล้อมวงกันเพื่อทำกิจกรรมรวม
2
ในแต่ละคาบเรียนจะมีทั้งการให้เด็ก ๆ นั่งทำงานเงียบ ๆ ของตัวเองในสมุดงานส่วนตัว และการทำกิจกรรมล้อมวงกัน บางวิชาก็แยกประถม1 และ 2 ออกจากกันเช่นวิชางานฝีมือ
1
และนี่คือเรื่องราวที่มาเป็นหัวข้อของบทความนี้ “โรงเรียนประถมที่สวิส ให้เด็กทำสิ่งนี้แล้วเหรอ” เพราะประโยคนี้คือความรู้สึกจริง ๆ ที่ได้เห็นห้องงานฝีมือของเด็ก ๆ มันพร้อมพรั่งไปด้วยอุปกรณ์ที่เป็นมืออาชีพมาก ๆ
5
ห้องงานฝีมือเด็กประถม ช่างน่าอิจฉาจริง ๆ
เด็ก ๆ ก็ได้รับการสอนวิธีการใช้อย่างถูกต้อง และให้รับความไว้ใจให้ทำกันเองโดยคุณครูควบคุมอยู่ห่าง ๆ ในคาบที่เราได้มีโอกาสเข้าไปเยี่ยมชม เด็ก ๆ กำลังทำงานไม้กันอย่างขมักเขม้น เด็กเล่าว่า ทุกคนจะได้รับกระดาษงานว่าต้องทำอะไร เป็นรูปที่เข้าใจได้ง่าย ๆ ไม่ต้องมีคำอธิบาย เพราะยังอ่านหนังสือไม่ออก โดยครูจะสอนคร่าว ๆ ว่าต้องใช้เครื่องมือไหนทำอะไร อย่างไร
1
จากนั้นเด็ก ๆ จะเริ่มผลิตชิ้นงานของตนเอง ซึ่งบางชิ้นงานก็จะมีระยะเวลายาวนานร่วมสามสี่เดือน ให้เด็ก ๆ ค่อย ๆ ทำไปในแต่ละครั้ง เพื่อนคนไหนทำขั้นตอนไหนเสร็จเร็ว ก็จะมาช่วยดูเพื่อนที่ไม่ค่อยถนัด
2
ครูให้ความไว้วางใจให้เด็กทำทุกอย่างด้วยตนเอง
นอกจากนี้ก็จะสลับกับห้องงานเย็บปักถักร้อยเบื้องต้น เรียนการเย็บผ้าด้วยมือ วันนั้นเราได้เห็นทั้งเด็กหญิงเด็กชาย ทำทั้งงานช่างและงานฝีมืออย่างไม่รู้สึกอิลักอิเหลื่อ ทุกคนแคล่วคล่องว่องไว เด็กหญิงก็ไสไม้ได้ดี เด็กชายก็เย็บผ้าได้รวดเร็วสวยงาม
6
จากที่เคยคิดว่า เมื่อลูกขึ้นประถมจะมีการบ้านงานฝีมือให้พ่อแม่ต้องอดตาหลับขับตานอนช่วยกันปั้นเหมือนเพื่อนที่อยู่ทางเมืองไทย ปรากฎว่าที่โรงเรียนที่นี่ก็ยังคงไม่มีการบ้านงานฝีมือที่ต้องทำล่วงเวลาหลังเลิกเรียน
งานเย็บปักถักร้อย พื้นฐานของชีวิตประจำ
พ่อแม่โปรดสบายใจได้ งานฝืมือของเด็ก ต้องมาจากฝีมือเด็กเท่านั้น และเมื่อถึงเวลาที่ปิด Job เด็ก ๆ จะหอบชิ้นงานกลับมาอวดที่บ้านด้วยความภาคภูมิใจ ว่าเขาและเธอได้ใส่ใจทำด้วยตัวเองทุกขั้นตอน
4
ส่วนพ่อแม่เมื่อได้เห็นก็จะถามย้ำ ๆ อยู่ซ้ำ ๆ ว่า
“ทำเองหมดเลยเหรอลูก”
เท่านั้นเอง รอยยิ้มแห่งความภูมิใจจะแผ่ซ่านไปทั้งดวงหน้าและเต็มหัวใจ เห็นดังนั้นพ่อแม่ก็สบายใจขึ้นมาก ถึงแม้ลูกจะยังไม่เริ่มเรียนการอ่านเขียนเสียที
4
🙏❤️ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมเพจมดนะคะ
พูดคุย ทักทาย ได้ที่คอมเม้นด้านล่างค่ะ
2
48 บันทึก
158
97
73
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ชีวิตที่สวิตเซอร์แลนด์
48
158
97
73
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย