21 มี.ค. 2021 เวลา 01:08 • ภาพยนตร์ & ซีรีส์
The Devil Wears Prada (2006)
"The Devil Wears Prada (2006)"
**คำเตือนข้อความด้านล่างมีการ Spoil ภาพยนตร์**
01. นิยายเรื่องนี้ขายไปได้มากกว่าหนึ่งล้านเล่ม ติดอันดับหนึ่งถึงสิบสัปดาห์ และติดอันดับหนังสือขายดีของ New York Times ถึงหนึ่งปี นอกจากนั้นยังถูกแปลไปมากกว่าสี่สิบภาษาทั่วโลก
02. Lauren Weisberger ผู้แต่งนิยายเรื่องนี้เคยทำงานเป็นผู้ช่วยบรรณาธิการของนิตยสาร Vogue ซึ่งเธอนำเอาช่วงเวลาที่ดำรงตำแหน่งอยู่นั้นมาเป็นแรงบันดาลใจในการเขียนหนังสือเล่มนี้
"Lauren Weisberger"
03. Lauren Weisberger ผู้แต่งนิยายเรื่อง The Devil Wears Prada กล่าวว่าตัวละคร Emily Charlton ได้ถอดแบบมาจาก Plum Sykes ซึ่งทำงานเป็นผู้ช่วยของ Anna Wintour ในช่วงเวลาเดียวกับตอนที่เธอทำงานอยู่ที่ Vogue
04. Carla Hacken ได้อ่านนิยายจำนวน 100 หน้าแรกแล้วก็ตัดสินใจได้ว่า “ตัวละคร Miranda Priestly จะต้องเป็นตัวร้ายที่ยอดเยี่ยมตัวหนึ่งในวงการภาพยนตร์อย่างแน่นอน” เขาจึงตัดสินใจให้ค่าย 20th Century Fox ซื้อลิขสิทธิ์ของนิยายมาครอบครองก่อนที่นิยายจะถูกเขียนจบด้วยซ้ำ
05. บทภาพยนตร์ดั้งเดิมถูกเขียนก่อนที่นิยายจะจัดจำหน่ายเสียอีก โดยมีการใช้นักเขียนบทภาพยนตร์ถึงสี่คน ซึ่งเนื้อเรื่องและแนวทางของภาพยนตร์จะมีความคล้ายคลึงกับภาพยนตร์เรื่อง Zoolander (2001) แต่เมื่อผู้กำกับ David Frankel เข้ามาควบคุมภาพยนตร์ เขาได้เปลี่ยนแปลงบทภาพยนตร์ใหม่ทั้งหมด โดยเขาต้องการให้ภาพยนตร์มีความจริงจังมากขึ้นและเจาะลึกถึงวงการแฟชั่นในชีวิตจริง
2
06. ตอนแรกผู้กำกับอย่าง David Frankel ปฏิเสธที่จะมาสร้างภาพยนตร์เรื่องนี้เพราะเขามองว่ามันเป็นแนวรักโรแมนติกเรื่องหนึ่งเท่านั้น และยิ่งได้อ่านบทภาพยนตร์ดั้งเดิมเขาก็รู้สึกไม่ค่อยพอใจเท่าไหร่ เพราะบทสุดท้ายของตัวละคร Miranda Priestly นั้นคือเธอได้รับบทเรียนแล้วกลายเป็นคนที่ดีขึ้น โดยเขามีมุมมองว่า “คนที่เก่งเป็นเลิศ ทำไมถึงต้องนิสัยดีกับคนอื่นล่ะ?”
07. Peter Hedges, Howard Michael Gould, Paul Rudnick และ Don Roos ผู้เขียนบทภาพยนตร์ดั้งเดิมไม่ได้รับเครดิตจากภาพยนตร์แต่อย่างใด เนื่องจากบทภาพยนตร์ถูกเปลี่ยนใหม่ทั้งหมด
08. นักออกแบบเครื่องแต่งกายหลายรายยินยอมให้ใช้เสื้อผ้าและเครื่องประดับของตัวเองในภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นจำนวนมาก ทำให้ภาพยนตร์ติดอันดับการใช้เครื่องแต่งกายที่มีราคาแพงที่สุดในประวัติศาสตร์ของวงการภาพยนตร์
09. ทางทีมงานต้องตามหาผ้าพันคอ Hermès สีขาวเพื่อนำมาใช้ในภาพยนตร์ เพราะตามนิยายแล้วตัวละคร Miranda Priestly จะสวมใส่มันอยู่เสมอจนเป็นเอกลักษณ์
10. มีการใช้งบประมาณสำหรับเครื่องแต่งกายในภาพยนตร์ไปมากกว่าหนึ่งล้านเหรียญดอลล่าร์สหรัฐ
"Patricia Field ผู้ดูแลเครื่องแต่งกาย"
11. บทตัวละคร Miranda Priestly เคยถูกส่งไปให้นักแสดง Glenn Close แต่นักแสดงคนดังกล่าวกลับปฏิเสธเพราะเธอเบื่อที่จะต้องแสดงบทแบบนี้แล้ว
12. Jennifer Aniston, Kim Basinger, Cameron Diaz, Heather Graham, Angelina Jolie, Lisa Kudrow, Helen Mirren, Tatum O'Neal, Gwyneth Paltrow, Michelle Pfeiffer, Julia Roberts, Meg Ryan, Alicia Silverstone, Hilary Swank และ Naomi Watts ต่างเคยถูกทาบทามให้มารับบทบาทเป็น Miranda Priestly
13. ความจริงแล้วทางทีมงานต้องการให้ Meryl Streep มารับบท Miranda Priestly เท่านั้น ซึ่งทุกคนรู้สึกว่าความหวังของพวกเขาคงไม่มีทางเกิดขึ้นจริง แต่ก็ยังทาบทามบทบาทดังกล่าวไปให้กับเธอ ผลลัพธ์คือเธอปฏิเสธทันที
14. Meryl Streep ไม่ยอมแสดงภาพยนตร์ในเรื่องนี้เนื่องจากไม่พอใจกับรายได้ แต่ทางค่ายกลับทาบทามเธอเป็นครั้งที่สองพร้อมเสนอรายได้ที่เพิ่มมากขึ้นเป็นเท่าตัวเพื่อดึงให้เธอมาแสดงในภาพยนตร์เรื่องนี้ให้ได้
15. ในวันแรกของการถ่ายทำภาพยนตร์ นักแสดง Meryl Streep บอกกับ Anne Hathaway ว่า “ในความคิดของฉัน เธอช่างเหมาะสมกับบทบาทนี้มาก ฉันรู้สึกดีใจที่ได้ร่วมงานกับเธอนะ” หลังจากนั้นเธอก็หยุดแล้วตามด้วยคำว่า “นั่นจะเป็นการพูดดีครั้งสุดท้ายที่ฉันจะพูดกับเธอ” ซึ่งก็เป็นเช่นนั้นจริง ๆ
"Meryl Streep และ Anne Hathaway"
16. กระเป๋าใบแรกที่ Miranda Priestly ถือเข้าเข้ามาในสำนักงานเป็นกระเป๋าของ Prada
17. Meryl Streep ตัดสินใจย้อมผมเป็นสีขาวเพื่อแสดงบทบาทเป็น Miranda Priestly
18. ฉากโยนเสื้อ Coat ลงบนโต๊ะทำงานของ Andrea "Andy" Sachs นั้น ถูกถ่ายทำถึง 30 ครั้ง ซึ่งนับว่าเป็นวันที่สาหัสสำหรับ Meryl Streep มาก เพราะบางครั้งเสื้อของเธอติดกับแขนจนถอดไม่ได้ หรือการโยนลงบนโต๊ะที่ไม่ถูกตำแหน่ง
19. ฉากการนั่งเปิดใจของ Miranda Priestly กับ Andrea "Andy" Sachs นั้น ความคิดที่ว่าตัวละคร Miranda Priestly ไม่ควรแต่งหน้าเป็นความคิดของ Meryl Streep เพื่อต้องการเพิ่มมิติของตัวละครให้ลึกลงไปอีกขั้น
20. บทสนทนาตอนใกล้จบภาพยนตร์ที่ Miranda Priestly บอกกับ Andrea "Andy" Sachs ในบทภาพยนตร์ดั้งเดิมใช้คำว่า “ทุกคนต่างต้องการเป็นเหมือนฉัน” แต่นักแสดง Meryl Streep ไม่ชอบคำพูดนั้นเพราะรู้สึกว่าตัวละครเห็นแก่ตัวเกินไป เธอจึงเปลี่ยนบทสนทนาใหม่ในตอนอ่านบทภาพยนตร์กัน โดยเปลี่ยนไปใช้คำว่า “ทุกคนต่างต้องการเป็นเหมือนกับพวกเรา”
21. ทีมงานวางตัวให้นักแสดง Rachel McAdams มาแสดงเป็น Andrea "Andy" Sachs เนื่องจากเธอกำลังโด่งดังจากภาพยนตร์เรื่อง The Notebook (2004) และ Mean Girls (2004) แต่เธอกลับปฏิเสธบทบาทดังกล่าวไปด้วยเหตุผลว่าอยากจะพักจากภาพยนตร์แนวโรแมนติกคอมเมดี้สักพัก
"Rachel McAdams ตัวแสดงอันดับหนึ่งที่ทีมงานต้องการ"
22. Juliette Lewis และ Claire Danes ต่างเข้ามาคัดตัวแสดงในบทบาท Andrea "Andy" Sachs
23. Anne Hathaway เป็นนักแสดงลำดับที่เก้าที่ทางทีมงานต้องการให้มารับบทเป็น Andrea "Andy" Sachs
24. ในขณะที่ Carla Hacken เรียกนักแสดง Anne Hathaway มาพูดคุย เธอต้องการบทบาทนี้เป็นอย่างมากจนถึงกับเขียนคำว่า “จ้างฉัน” ในถาดทรายบนโต๊ะทำงานของ Carla Hacken
25. ก่อนหน้านี้ Anne Hathaway เป็นที่รู้จักและโด่งดังมาจากภาพยนตร์สำหรับเด็ก ดังนั้นการได้มาแสดงในภาพยนตร์เรื่องนี้จึงเป็นใบเบิกทางให้เธอเป็นที่รู้จักในฐานะนักแสดงที่เป็นผู้ใหญ่ขึ้น ซึ่งเธอยอมรับว่าภาพยนตร์เรื่องนี้เปลี่ยนแปลงเส้นทางในอาชีพของตัวเอง
26. Anne Hathaway ลดน้ำหนักจากขนาดตัวไซส์ 6 ลงไปเป็น 4 เพื่อแสดงในภาพยนตร์เรื่องนี้
27. เพื่อเตรียมตัวสำหรับการมาแสดงในภาพยนตร์เรื่องนี้ Anne Hathaway ได้อาสาไปทำงานเป็นผู้ช่วยงานที่งานประมูลเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์
28. ตอนแรกนักแสดง Anne Hathaway คิดว่าเมื่อเข้าฉาก Meryl Streep จะต้องพูดด้วยเสียงแหลมชวนน่ารำคาญ แต่เอาเข้าจริง Meryl Streep กลับพูดด้วยเสียงเรียบจนแทบเหมือนเป็นการกระซิบ แต่กลับทำให้ทั้งห้องเงียบกริบได้ ซึ่งเธอบอกว่าเป็นการแสดงที่คาดไม่ถึงและชาญฉลาดมาก
"Meryl Streep กับการแสดงที่ชาญฉลาด"
29. ภาพถ่ายครอบครัวของตัวละคร Andrea "Andy" Sachs เป็นรูปถ่ายของนักแสดง Anne Hathaway กับแม่ของเธอเองที่มีนามว่า Kate McCauley Hathaway และนักแสดง David Marshall Grant
30. ตึกสำนักงานของ Runway ในภาพยนตร์ถูกถ่ายทำที่ 1221 Avenue of the Americas, on W. 49th St. New York City
"ตึกที่ใช้เป็นฉากถ่ายทำของสำนักงาน"
31. หนังสือพิมพ์ The Mirror ที่ตกลงจ้าง Andrea "Andy" Sachs เข้ามาทำงานนั้น เป็นหนังสือพิมพ์ที่เคยมีอยู่จริง โดยสำนักพิมพ์ถูกปิดตัวไปในปี 1898
32. นักแสดง Emily Blunt ได้รับเลือกให้มาแสดงก่อน Anne Hathaway เสียอีก โดยผู้ชมจะได้เห็นว่าในหลายฉากเธอจะทำตัวยุ่งมากทั้งที่ไม่มีการเขียนเอาไว้ในบทภาพยนตร์ แต่เธอกล่าวว่าตัวเองต้องการให้ตัวละครของเธอดูกระฉับกระเฉงและมีชีวิตชีวาในภาพยนตร์อย่างที่ควรจะเป็นในวงการแฟชั่น
33. เสื้อผ้าที่ตัวละครของ Emily Blunt สวมใส่เป็นฝีมือออกแบบของ Vivienne Westwood
34. ปกนิตยสาร Runway ที่อยู่หลังโต๊ะทำงานของ Emily Charlton ถอดแบบมาจากปกนิตยสาร Vogue เดือนสิงหาคม 2004 โดยมี Priscilla Presley, Lisa Marie Presley และ Riley Keough เป็นนางแบบ
35. ความจริงตามบทภาพยนตร์แล้ว ตัวละคร Emily Charlton ที่สวมบทบาทโดย Emily Blunt ไม่ควรเป็นชาวอังกฤษเลยด้วยซ้ำ
36. ในขณะนั้น Emily Blunt ยังไม่เป็นที่รู้จักในวงกว้างเลย ซึ่งเดิมทีเธอเดินทางมายังอเมริกาเพื่อคัดเลือกตัวแสดงในภาพยนตร์เรื่อง Eragon (2006) ของค่าย 20th Century Fox แต่เธอกลับถูกปฏิเสธ ตัวแทนของเธอจึงได้นำเทปการคัดเลือกนักแสดงของเธอไปยังทีมงานของภาพยนตร์เรื่องนี้ ในตอนแรกเธอได้เข้ารอบ 100 คน เมื่อเธอเดินทางกลับไปยังอังกฤษแล้วจึงได้มีการติดต่อจากทีมงานว่าพวกเขาต้องการให้เธอมาแสดงในบทบาทของ Emily Charlton
"Emily Blunt"
37. Emily Blunt ได้เห็นแม่คนหนึ่งตะคอกใส่ลูกสาวกลางถนน เธอจึงขโมยบทสนทนาและการกระทำของแม่คนนั้นมาใส่ในภาพยนตร์ โดยเป็นคำพูดที่ว่า “ใช่ ฉันได้ยินนี้ ใช่ ฉันต้องการได้ยินนี้” พร้อมกับใช้มือทำท่าทางประกอบการพูดด้วย
38. ในปี 2016 นักแสดง Emily Blunt เปิดเผยว่าได้พบเจอคนแปลกหน้าที่เข้ามาพูดคำคมของตัวเองในภาพยนตร์เรื่องนี้แทบทุกสัปดาห์ รวมถึงสามีของเธอได้รับชมภาพยนตร์เรื่องนี้ไม่ต่ำกว่า 75 รอบ
39. ภาพยนตร์เรื่องนี้ทำให้ Emily Blunt โด่งดังสุดขีดในชั่วข้ามคืน โดยวันหนึ่งหลังจากภาพยนตร์ออกฉายแล้วเธอออกไปซื้อกาแฟที่เดิมแต่ปรากฏว่าทุกคนในร้านจดจำเธอได้ในทันที
40. หกปีหลังจาก Stanley Tucci และ Emily Blunt ได้ทำงานร่วมกันในภาพยนตร์เรื่องนี้ นักแสดง Stanley Tucci ก็ได้แต่งงานกับพี่สาวของ Emily Blunt ที่มีนามว่า Felicity Blunt โดยมี Emily Blunt เป็นเพื่อนเจ้าสาวอีกด้วย
41. Gisele Bündchen ตกลงที่จะมาแสดงในภาพยนตร์เรื่องนี้ โดยมีข้อแม้ว่าต้องไม่ใช่บทนางแบบ
42. ในฉบับนิยายนั้น Lauren Weisberger ได้เขียนถึงนางแบบ Gisele Bündchen ว่าเป็นคนให้ของขวัญคริสต์มาสแก่ Miranda Priestly แต่ในฉบับภาพยนตร์ Gisele Bündchen มาเข้าฉากเป็นเพื่อนร่วมงานของ Emily Charlton
"Gisele Bündchen มาเข้าฉากในภาพยนตร์"
43. Valentino Garavani เป็นผู้ออกแบบชุดราตรีสีดำให้กับ Meryl Streep ในฉากงานเลี้ยงที่พิพิธภัณฑ์
44. ฉากที่ Miranda Priestly บอกให้ Andrea "Andy" Sachs เดินทางไป Paris แทนที่ Emily Charlton นั้น สร้อยคอที่ Anne Hathaway สวมใส่อยู่นั้นเป็นของ Chanel ที่ผลิตออกมาจากแรงบรรดาลใจจากหอไอเฟล
45. ฉากการเดินทางไป Paris ของตัวละคร Miranda Priestly นั้นจะใช้งบประมาณที่แพงมากขึ้นสำหรับการพา Meryl Streep ไปยังยุโรป ทำให้ฉากดังกล่าวถูกถ่ายทำที่อเมริกาแทน
46. ฉากที่ Paris และฝรั่งเศสมีเพียงนักแสดง Anne Hathaway และ Simon Baker พร้อมกับทีมงานไม่กี่คนเท่านั้นที่เดินทางไปถ่ายทำ
"Anne Hathaway และ Simon Baker"
47. ด้วยงบประมาณที่จำกัดทำให้ทางทีมงานไม่สามารถไปถ่ายทำที่ MoMa และ Bryant Park ตามบทภาพยนต์ได้สำเร็จ
48. Apartment ใน Manhattan ที่ถูกถ่ายทำเป็นที่พักอาศัยของ Miranda Priestly เป็นที่อยู่จริงของเพื่อนของผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์
49. Daniel Sunjata เป็นตัวเลือกแรกของทีมงานที่ต้องการให้มาแสดงเป็น Nigel Kipling แต่เมื่อได้อ่านบทภาพยนตร์ก็ขอปฏิเสธไปเนื่องจากเขาเพิ่งรับบทบาทที่คล้ายคลึงกับตัวละครนี้ไปหมาด ๆ ทางทีมงานจึงได้ส่งบทภาพยนตร์ไปให้กับ Javier Cámara และ Thomas Lennon แต่ก็ถูกปฏิเสธไป จนกระทั่ง Stanley Tucci เข้ามารับบทบาทดังกล่าว
50. Stanley Tucci รับแสดงเป็น Nigel Kipling ก่อนที่ทีมงานจะเปิดกล้องเพียงแค่ 72 ชั่วโมงเท่านั้น
"Stanley Tucci"
51. Graham Norton พิธีกรรายการชาวไอริช มาคัดเลือกตัวแสดงเป็น Nigel Kipling
52. ภาพยนตร์ที่ฉายในอเมริกา ฉากที่ Nigel Kipling พูดว่า “เธอไม่ควรจะมาถึงที่นี่จนกว่าจะเก้าโมง” แต่สำหรับเวอร์ชั่นที่ฉายในฝรั่งเศสมีการเปลี่ยนคำพูดเป็น “เก้าโมงสิบห้านาที”
53. แฟนหนุ่มของ Andrea "Andy" Sachs ฉบับนิยายมีชื่อว่า Alex มีอาชีพเป็นอาจารย์ แต่ในฉบับภาพยนตร์กลับมีชื่อว่า Nate มีอาชีพเป็นพ่อครัว
54. Mamie Gummer ลูกสาวในชีวิตจริงของ Meryl Streep ได้มาร่วมแสดงภาพยนตร์ในฉากร้าน Starbucks แต่สุดท้ายฉากดังกล่าวถูกตัดออกจากภาพยนตร์ไปในขั้นตอนการตัดต่อ
55. Lauren Weisberger ผู้แต่งนิยายได้มาร่วมแสดงภาพยนตร์ในบทพี่เลี้ยงลูกสาวฝาแฝดของ Miranda Priestly
"ซ้ายมือคือ Lauren Weisberger"
56. มีฝาแฝดมากกว่า 100 คู่ที่เข้ามาคัดเลือกนักแสดงในบทบาทของ Cassidy Priestly และ Caroline Priestly ซึ่งเป็นลูกสาวของ Miranda Priestly
57. ภาพยนตร์ถูกถ่ายทำเสร็จสิ้นภายในระยะเวลา 57 วัน
58. ภาพยนตร์ใช้ทุนสร้างเพียง 41 ล้านเหรียญดอลล่าร์สหรัฐ แต่มีรายได้ถึง 326 ล้านเหรียญดอลล่าร์สหรัฐ
59. เดิมทีภาพยนตร์มีกำหนดการฉายในช่วงฤดูใบไม้ผลิ แต่แล้วทางค่าย 20th Century Fox ตัดสินใจเลื่อนภาพยนตร์เข้าชนกับเรื่อง Superman Returns (2006) แม้ว่ารายได้ของภาพยนตร์จะพ่ายแพ้ในประเทศ แต่กลับเอาชนะได้ในการออกฉายทั่วโลก
60. Anna Wintour บรรณาธิการของนิตยสาร Vogue ที่มีความลือว่าเป็นแรงบันดาลใจสำหรับตัวละคร Miranda Priestly ไม่ได้ถูกรับเชิญให้มาร่วมงานฉายภาพยนตร์รอบปฐมทัศน์
61. Anna Wintour ได้เปิดเผยว่าเธอชื่นชอบภาพยนตร์เรื่องนี้มากและชื่นชม Meryl Streep ว่าสามารถแสดงได้อย่างเป็นธรรมชาติ
"Meryl Streep และ Anna Wintour"
62. หนังสือ Harry Potter and the Deathly Hallows ที่ถูกใช้เป็นอุปกรณ์ประกอบฉากในภาพยนตร์เรื่องนี้ถูกนำไปประมูลขายทางออนไลน์ โดยการประมูลสิ้นสุดที่ราคา 586 เหรียญดอลล่าร์สหรัฐ
63. ภาพยนตร์ได้เข้าชิงรางวัล Academy Awards สองสาขา ได้แก่ นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม และเครื่องแต่งกายยอดเยี่ยม แต่ไม่ชนะรางวัล
64. Anne Hathaway และ Emily Blunt กลับมาเจอกันอีกครั้งในรายการ Lip Sync Battle ปี 2015 สำหรับตอน Devil Wears Prada reunion battle
65. Lauren Weisberger แต่งนิยายภาคต่อในชื่อว่า “Revenge Wears Prada” ออกมาในปี 2013 แต่ทีมงานต่างไม่สนใจที่จะสร้างภาคต่อออกมา รวมถึงเหล่านักแสดงก็เช่นกัน เพราะทุกคนคิดว่าในภาพยนตร์ทุกอย่างมันจบสมบูรณ์แล้ว
66. ในปี 2018 Lauren Weisberger ได้แต่งนิยายเรื่อง When Life Gives You Lululemons ออกมา ซึ่งเป็นเรื่องราวของ Emily Charlton
"หนังสือภาคต่อจาก The Devil Wears Prada"

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา