18 มี.ค. 2021 เวลา 14:35 • ศิลปะ & ออกแบบ
ทรงวาด เท่าที่รู้ ร่างๆข้อเขียนไว้ก่อน ไว้มีเวลาและค้นคว้าแบบจริงจังจะมาเขียนเพิ่ม
ตึกนี้ตั้งอยู่หัวมุมถนนทรงวาด ตัดถนนสุรวงศ์ ถ้าเดินมาจากท่าเรือข้ามฝากสุรวงศ์ จะพบอาคารนี้ได้ไม่ไกลกันนัก ถ้าเดินตรงต่อไปจนพบสี่แยกใหญ่ จะเห็นตรงข้ามกับโรงแรมแกรนด์ไชน่า เยาวราช เราเคยเดินจากแยกนี้ยาวไปจนเจอร้านผัดไทยประตูผี แต่เหนื่อยหอบเหงื่อท่วมตัว
หลายข้อมูลระบุไม่ชัดว่ามีประวัติที่มาอย่างไร เพียงแต่ได้สันนิษฐานไปตามเอกสารทั้งอักษรและภาพถ่าย บ้างตั้งชื่อว่าตึกผลไม้ แต่หลายคนไม่เห็นด้วย เพราะน่าจะเป็นกลุ่มตึกกลางถนนทรงวาดมากกว่า จากลายปูนปั้นรูปผลไม้ ดอกไม้และสัตว์มงคลที่วิจิตรตระการตา นูนลอยออกมาใต้ชายคาเป็นแถวยาวตลอดแนว
บ้างเขียนเกินจริงปนสนุก ว่าความงามของศิลปะลอยตัวของปูนปั้นที่สมจริงมากจนนกหลงจิกกิน
เหลือข้อสันนิษฐานที่สมเหตุสมผลคือชื่อ ตึกแขก แม้หลายข้อเขียนจะพาดพิงถึงตึกของชาวมุสลิมที่เดิมเป็นอาคารพาณิชย์ใช้ขายผ้า ว่าห้างมัสกาตี แต่อันที่จริงห้างนี้เป็นอาคารครึ่งอิฐด้านล่างครึ่งไม้ด้านบนทรงเหลี่ยมชายคาคนละแบบกับตึกที่อยู่ตรงนี้ หรือเจอว่าเคยเรียกตึกขาวตึกแดงจากสีอาคาร แต่ปัจจุบันถูกรื้อลงไปหลายปีมาแล้ว(มีรูปถ่ายจาหนังสือครอบครัวมัสกาตี ตึกตั้งอยู่บริเวณถนนอนุวงศ์คนบะจุดกับตึกหลังนี้ในข้อเขียน) เหลือเพียงภาพถ่ายให้ได้เห็น แต่สิ่งที่น่าสนใจ คำว่าแขก มาจากการที่คนไทยเรียกเหมารวม(บางทีอาจเป็นการเหยียดเชื้อชาติ เช่นเรียก ลาว เจ๊ก เขมร) เนื่องด้วยเป็นตึกทรงเดียวและส่วนร่วมทางสถาปัตยกรรม จากผ้าที่นำเข้ามาจากอินเดีย(ถ้าค้นเพิ่ม ลองสืบค้นคลิปวิดีโอ youtube ต้นตระกูล นานา จะพบที่มาของผ้า เมือง เชื้อชาติ และศาสนา) โดยชาวมุสลิม
มุสลิมที่ทำการค้ากับไทย ย้อนไปสมัยที่มีบันทึกทางประวัติศาสตร์ได้แก่ชาติอาหรับ เช่น เปอร์เชีย(อิหร่าน) มัวส์ ฯลฯ
1
ในส่วนอาคารหลังนี้มีผู้ให้ข้อสังเกตว่าเป็นอาคารของชาวมัวส์ แต่ยังหาเอกสารหรือหลักฐานแน่ชัดยังไม่ได้ เพียงแต่สิ่งที่มียืนยันและพ้องกันคือ หน้าต่าง กับการตั้งถิ่นฐานของชุมชนมุสลิม ใจกลางย่านเศรษฐกิจของคนจีน มีคนญวน(เวียดนาม) อีกทั้งคริสเตียน ผสมพุทธ ปะปนกัน
หน้าต้างกรอบซุ้มยอดแหลม Arch โค้งด้านข้างแต่มียอดแหลมด้านบนคือสิ่งบ่งชี้ สืบไปคล้ายวังนารายณ์ราชนิเวศน์ เพราะยุคนั้นรับเอาอิทธิพลสถาปัตยกรรมจากตะวันออกกลาง รวมถึง นายใน(ขันที)เข้ามา อาคารแวดล้อมบริเวณนี้สามารถพบกรอบซุ้มโค้งปลายยอดแหลมดังกล่าวด้วย
ฝั่งตรงข้ามของตึกแขกที่ว่า มีอาคารนี้ที่มีซุ้มโค้งปลายยอดแหลมให้ชม
หรืออีกช่วงถนน ตรงเยาวราชฝั่งตรงข้าพิพิธภัณฑ์หอศิลป์ธนาคารกรุงไทย ใกล้ชุมชนเลื่อนฤทธิ์ ก็มีกรอบซุ้มหน้าต่างอิทธิพลศิลปะศาสนาอิสลาม จากข้อสันนิษฐานของผู้เขียน
กรอบสามเหลี่มซุ้มคล้ายโกธิก
เมื่อพิจารณาใกล้ๆจะเห็นรูปแบบวัฒนธรรมกระจกสีภายใต้กรอบซุ้มโค้งยอดแหลมลงไป เป็นงานศิลปะตกแต่งไม่กี่ช่วงเวลา ซึ่งหากมีผู้เชี่ยวชาญคงสามารถวิเคราะห์ได้ละเอียด (ผู้เขียนความสามารถจำกัด เพียงคาดเดาว่ายุคก่อนคริษศตวรรษที่ 19 จากการได้ชมศิลปะการเป่าแก้วงานอิตาลีที่เป็นแจกันสีจากทั้งชุมชนที่ภูเก็ต หรือเมืองมรดกโลกจอร์จทาวน์)
รายละเอียดของการฉลุไม้และกระจก เพื่อการตกแต่ง
หรือการใช้รูปแบบการฉลุลวดลายบนแผ่นไม้เพื่อประดับประดาทางสถาปัตยกรรม มักจะพบในรูปแบบอาคารไม้ เช่น บ้านขนมปังขิง และอาคารทรงปั้นหยา (จึงเกิดข้อสันนิษฐานต่อมาว่า การเดินทางเข้ามาสู่ท่าเรือตอนในของไทย ต้องผ่านหัวเมืองทางใต้ในการติดต่อการค้าข้ามทวีป ดังนั้นอิทธิพลของการอยู่อาศัย งานฝีมือ จึงมีส่วนรีงับมาเผยแพร่ต่อ และอาจมีลวดลายเฉพาะทางใต้ที่นับถือศาสนาอิสลาม)
กระจกสีน้ำเงินและการใช้คู่สีเขียว ขาว น้ำตาลของไม้ มีความน่าสนใจ
หรือแม้แต่รูปแบบของการทำระเบียงยื่นออกมาจากนอกตัวอาคาร อาจมีสิ่งบ่งชี้เฉพาะภายใต้เงื่อนไขของการตกแต่งด้านศาสนา ประกอบกับักษณะอาคารปิดมุมถนน ทำให้มีความโดดเด่นทางสายตา อีกทั้งเป็นอาคารที่ผ่านกาลเวลาและยังใช้งานตามเจตนา ด้านล่างขายของด้านบนอยู่อาศัย(ไม่ทราบสถานะที่ใช้งานจริงในปัจจุบัน) ของ shop house
ความสมบูรณ์ของอาคาร ไม่ทรุดโทรมมาก แต่ควรค่ากับการรักษาให้คงอยู่
หวังว่าจะได้เห็นชื่นชมอาคารลักษณะพิเศษนี้ไปเท่าที่จะอำนวย เพราะการอนุรักษ์ คือการมีพื้นที่ร่วมกัน เข้าถึงและปรับเปลี่ยนไปตามบริบทของยุคสมัย เราไม่อาจหยุดยั้งแช่แข็ง เพราะแต่ละยุคมีการใช้งาน ควรอยู่ร่วมอย่างกลมกลืน
ดีใจที่เราเข้าถึงอาคารี้ได้จากถนน มีการใช้งานขายของ มีชีวิต ไม่ใช่สถานที่แห้งแล้งแล้วปิดป้ายว่าอนุรักษ์

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา