19 มี.ค. 2021 เวลา 12:20 • สิ่งแวดล้อม
ORIGINAL : ว่าด้วยเรื่องของเบียร์กับสิ่งแวดล้อม
ไม่มีอะไรดีไปกว่าการดื่มเบียร์เย็น ๆ ซักขวด สองขวด หลังเลิกงาน หรือว่าสังสรรค์กับเพื่อน ๆ ที่ไม่ได้เจอกันนาน แต่รู้หรือเปล่าว่าเบียร์มีผลกระทบต่อธรรมชาติอย่างไรบ้าง
ส่วนประกอบหลัก ๆ ในการทำเบียร์คือ น้ำ มอลต์ และ ฮ๊อป แน่นอนว่าการเพาะปลูกทั้ง ฮ๊อป และ มอลต์นั้น จำเป็นต้องใช้น้ำที่เยอะมาก ให้เพียงพอต่อการผลิตเพื่อส่งออกไปจำหน่าย จากรายงานของ Journal of Cleaner Production เผยว่า โดยทั่วไปเเล้ว น้ำที่ใช้ในกระบวนการทำเบียร์ 1 ลิตร จำเป็นต้องใช้น้ำถึง 5 ลิตร อีกทั้งใช้พลังงานไฟฟ้าถึง 1.5 MJ (Megajoule)
1
โรงเบียร์หลาย ๆ ที่ เริ่มตระหนักถึงปัญหาพลังงาน และทรัพยากรณ์ที่ถูกใช้ไป และเริ่มที่จะนำ ”Sustainable Report” มาเป็นส่วนหนึ่งในการบันทึกประจำปี หนึ่งในโรงเบียร์ที่เรานำมาเป็นตัวอย่างคือ Krombacher
โดยที่ทาง Krombacher เผยว่า ในการผลิตเบียร์ 1 ลิตรของทางโรงเบียร์นั้นใช้น้ำที่น้อยกว่าเพียง 3.52 ลิตร อีกทั้งพลังงานไฟฟ้าที่ถูกใช้ไป เหลือเพียง 1.27 MJ หากเปรียบเทียบง่ายๆ เบียร์ 1 ขวด (0.5 ลิตร) ใช้พลังงานไฟฟ้าเทียบเท่ากับประมาณกาแฟ 12 แก้ว (หากเปรียบว่าการชงกาแฟ 1 แก้วใช้พลังงาน 70 Kwh) อีกทั้งทางโรงเบียร์ได้เผยอีกว่า ในแต่ละปี ทางโรงเบียร์ผลิตก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 51.020 ตัน
1
แต่ถ้าหากเราลองคำนวณกันดูดี ๆ ตามรายงานจากผลวิจัยในหลาย ๆ ที่ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูกปล่อยออกมาระหว่างการทำเบียร์คือ 300-900 กรัม ต่อเบียร์ 1 ลิตร Krombacher ผลิตเบียร์ในปี 2018 ทั้งหมด 420,000 เฮคโตลิตร ดังนั้นหากเราคำนวนด้วยเครื่องคิดเลขง่าย ๆ เมื่อเบียร์ 1 ลิตรเท่ากับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 300 กรัม Krombacher ควรที่จะผลิตก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 135.600 ตัน ซึ่งตัวเลขนี้ มากกว่าตัวเลขที่ทางโรงเบียร์เผยกว่า 2.6 เท่า
อย่างไรก็ตาม ทาง Krombacher ได้เผยว่า ตัวเลขข้างต้นนั้น (51.020 ตัน) มาจากการทำเบียร์เท่านั้น ไม่รวมถึงการเพาะปลูก การขนส่ง จัดเก็บ และปัจจัยอีกมากมาย ซึ่งตัวเลขที่เเท้จริงนี้ ไม่ว่าจะเป็นของ Krombacher หรือโรงเบียร์อื่น ๆ ยังจำเป็นที่จะต้องได้รับการตรวจสอบจากภายนอกอีก
ไม่เพียงแค่การผลิตเท่านั้นที่เป็นปัจจัยต่ออุตสาหกรรมเบียร์ที่มีผลต่อสิ่งเเวดล้อม ภาชนะที่บรรจุ ก็เป็นสิ่งที่ควรคำนึงถึงอีกด้วย จากกว่า 15 รายงานของ Departments of Environmental Equality des US-Staates Oregon ที่ได้สำรวจโรงเบียร์ทั้งในยุโรป เอเชีย และอเมริกาเหนือ เผยว่า ภาชนะที่บรรจุเป็นปัจจัยที่ใหญ่ที่สุดในการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอุสาหกรรมเบียร์ หากเราจำแนกมาเป็นเปอร์เซนต์ 22% มาจากวัตถุดิบ 9% มาจากการทำเบียร์ 18% มาจากการจัดเก็บ 7% มาจากการจำหน่าย 4% มาจากการจัดการขยะ และอีก 40% ที่เหลือ มาจากภาชนะบรรจุ
ภาชนะที่บรรจุเบียร์นั้นมีหลายรูปแบบ ทั้งขวดแก้วที่ใช้ครั้งเดียว กระป๋องอลูมิเนียม กระป๋องเหล็ก ขวดแก้วที่สามารถนำมาใช้ได้หลายครั้ง รวมถึงถัง ในหลายๆ ประเทศในยุโรปได้มีระบบ Pfandsysteme หรือการนำขวดที่ใช้เเล้ว ไปแลกเพื่อที่จะรับเป็นเงินสดในการซื้อของ หรือจะบริจาคก็ได้ โดยที่การซื้อสินค้าที่มีฉลากแลกคืน จะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมตามรูปแบบของบรรจุภัณฑ์ ซึ่งระบบนี้จะทำให้การจัดการขยะมีประสิทธิภาพมากขึ้น และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้เป็นอย่างสูง
อย่างไรก็ตาม ได้มีงานวิจัยจาก IFEU-Institut ที่ได้มาเสริม เเละโต้แย้งในบางส่วน อย่างเช่น อย่างที่รู้กันว่า กระป๋อง ไม่ว่าจะเป็นอะลูมิเนียม หรือเหล็ก ไม่สามารถที่จะนำมาใช้ใหม่ได้ ต้องรีไซเคิลเท่านั้น หากแต่ข้อดีของมันคือการจัดเก็บและรักษาง่ายกว่า เย็นเร็วกว่า ทำให้การขนส่ง และจัดจำหน่ายออกไปที่ไกล ๆ สะดวกขึ้น ถึงแม้ว่าขวดแก้วจะเป็นตัวเลือกที่ดี แต่จะดีกว่านี้ ถ้าไม่จำเป็นต้องขนส่งข้ามโลก
ผู้เขียนเชื่อว่า ประเทศไทยสามารถที่จะทำเบียร์ที่อร่อยไม่แพ้ชาติอื่น ๆ ในโลกได้ หากได้รับโอกาสที่เหมาะสม ไม่เพียงเเค่ทำให้มีอาชีพมากขึ้น และทำให้คนไทยได้ลิ้มรสชาติใหม่ ๆ จากวัตถุดิบประเทศตัวเอง แต่ยังสามารถช่วยลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่มาจากการขนส่งเบียร์ต่างประเทศได้อย่างมากอีกด้วย
แหล่งที่มา :
1. Nachhaltigkeitsbericht Krombacher
2. Department of Environmental Quality: Food Product Environmental Footprint Literature Summary: Beer
3. IFEU-Institut: Umweltargumente für die Getränkedose Auf Basis der Ökobilanziellen Untersuchung verschiedener Verpackungssysteme für Bier (2010)
4. Hauser, Shellhammer: An Overview of Sustainability Challenges in Beer Production, and the Carbon Footprint of Hops Production
5. Journal of Cleaner Production: The brewing industry and environmental challenges
เรียบเรียง : Dewery

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา