2 เม.ย. 2021 เวลา 10:30 • ศิลปะ & ออกแบบ

ถนนนางงาม สงขลา

ถนนนางงาม สงขลา ครั้งที่ข้าพเจ้าเคยสำรวจ กิน นอน เดินชมตึกคนเดียว 7 วันโดยประมาณ
อาคารฝั่งตรงข้ามตึกที่ผู้เขียนใช้อาศัยนอนตลอดระยะเวลาทริปนี้
จากภารกิจงานชุมชนทำให้ต้องอยู่และเดินเล่นสำรวจ ถนนนางงาม จ.สงขลาเพียงลำพังตลอดเวลา 7 วันโดยประมาณ จึงเกิดการบันทึกเรื่องราวผ่านอาหารและอาคาร
ร้านหมูสะเต๊ะ ที่มาทุกเย็นตามนัด ขายตรงอาคารฝั่งตรงข้ามที่ผู้เขียนอาศัยอยู่
อาคารแรกที่ประทับใจคืออาคารฝั่งตรงข้ามที่ผู้เขียนอาศัยอยู่นี้ เป็นอาคารไม้สองชั้น มีกรอบหน้าต่างแบบ หางนกยูง และความงามทั้งจากโครงสร้าง วัสดุ ร่องรอยของกาลเวลา อีกทั้งด้านข้างยังมี ศิลปะบนกำแพง หนึ่งในโครงการศิลปะอันสัมพันธ์กับพื้นที่ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว
ด้านข้างของอาคารหลังนี้
วิถีชีวิตต่างกัน เช้าอีกแบบ เย็นพลบค่ำอีกแบบ
บางร้านมีภาพร่าง บันทึกบรรยากาศสถานที่จำหน่าย
ด้วยการที่เฝ้าสังเกต ทำให้พบว่าคนที่นี่มีความเป็นมิตรเพราะในอดีตเป็นเมืองท่าตอนในก่อนจะเข้าสู่แผ่นดินหลัก อาคารตรงข้ามนี้มีการแบ่งพื้นที่เป็นที่อาศัยหลายครอบครัว เช่น ร้านหมอดูดวง ร้านตัดเย็บ ร้านอาหาร ในกลางวันแดดสลับฝนพรำตามสภาพอากาศชายฝั่งตอนใต้แบบมรสุม เกิดความร้อนอบอ้าวก่อนในตก ตอนพลบค่ำร้านริมทางตั้งแผง อาหารรสเลิศ แสงไฟ และชีวิตกลางคืนเริ่มต้น
ร้านฝั่งตรงข้ามกับอาคาร ทำให้บรรยากาศการกินอาหารยามเย็นน่าสนใจด้วยการจัดจานและแกล้มด้วยอาคารงามฝั่งตรงข้าม
ถัดมาเป็นร้านเกียดฝั่ง ที่ขึ้นชื่อ แม้ว่าจะเปิดปิดเป็นเวลา รอบเช้า และเย็น ต้องไปตรงกับช่วงเวลาถึงจะได้ลิ้มลอง
โต๊ะแบบดั้งเดิม
ภาพศิลปะที่ขึ้นชื่อและเป็นจุดเด่นที่นักท่องเที่ยวเห็นก็จำได้ อยู่ฝั่งตรงข้ามกับร้านข้าวต้มปลากระพงที่ผู้เขียนชอบเดินไกลไปกินทุกเย็น ให้ความอบอุ่นและเบาท้อง
ภาพเด่นศิลปะบนกำแพงของถนนนางงาม
มุมตึกและถนนที่นี่ค่อนข้างน่าสนใจ
ซอยและถนนย่อยเป็นผังแบบมีระบบกริด
ข้าวต้มปลามีชื่อ รสกลมกล่อม หวานธรรมชาติ แถมน้ำจิ้มเต้าเจี้ยวรสดี
ราคาค่อนข้างสูงหากเทียบกับอาหารจานอื่นแต่ไม่แพง จับต้องได้ คุณภาพคุ้มค่า
บางวันได้มุมดี จะได้ชมภาพศิลปะบนกำแพงแกล้มอาหาร ช่างน่าเจริญตาอย่างยิ่ง
ฝั่งตรงข้ามร้านเป็นภาพศิลปะบนกำแพงเล่าวิถีชีวิตคนที่นี่ได้อย่างดี
ยามกลางวันร้านอาหารต่างๆมีมากมายให้เลือก ผู้เขียนพยายามทดลองเข้าร้านนั้นออกร้านนี้
หมูตุ๋นเครื่องยาจีน ให้ความเบาแต่รสเครื่องยาลึกล้ำ
ทั้งอาหารเส้นและข้าว มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม และเชื้อชาติ สมเป็นเมืองท่า เพราะรับอิทธิพลแบทุกศาสนา วัฒนธรรม
เย็นตาโฟแบบจีนดั้งเดิม ใส่หนังหมู
เลือกชิมร้านนี้เพราะความสงบ จนได้พบความแปลกแบบดั้งเดิม ในวันที่คนพบุกพล่านเพราะวันหยุด
ช่วงวันหยุดอากาศและคน สลับกันครึ้มฝนพรำกับแดดจ้า นักท่องเที่่ยวมาเป็นกลุ่มคล้ายระลอกคลื่น มีแบบเดินเท้า ปั่นจักรยาน หรือกลุ่มรถรางฟังบรรยาย
ร้านข้าวหมูแดงเจ้าดัง
ร้านนี้อยู่ใกล้กับมัสยิด เป็นความแปลกใจ แต่คนที่นี่อยู่ร่วมกันได้ ความแปลกอีกอย่างคือ โถใส่เต้าหู้ยี้ดินเผาเคลือบ เราสามารถขอซื้อจากร้านกลับไปเป็นที่ระลึกได้ คนเยอะตลอดเวลาและวุ่นวาย แถมคนรับรายการมีมิตรไมตรีตลกเสียงดัง มีบะหมี่และข้าวหมูแดงให้ชิม
ร้านข้างใต้ฟ้า เป็นร้านขนมไข่เตาถ่าน
ร้านข้าวๆกันเป็นร้านขนมไข่เตาถ่าน ผมชอบยืนดูกรรมวิธีการทำ เร็วและเพลิดเพลิน หอมเนยมาก ต้องกินแบบร้อนๆใหม่ๆ จะนิ่มนวลหอมเนยในปาก
ไอติมไข่แข็งร้านดัง
นอกจากขนมไข่ขายกลางวัน ไอติมไข่แข็งเจ้าดังก็มีให้ชิม มีหลายแบบ แต่ผมลองกินกับกล้วยหอมเพื่อความอยู่ท้องตอนกลางคืน เพราะแถบนี้ไม่มีร้านสะดวกซื้อ
มื้อเช้าบางครั้งร้านฝั่งตรงข้ามทางซ้ายเปิด เดินจากตึกที่นอนไปลองชิม
หมูกรอบจากก๋วยจั๊บ ที่ร้านฝั่งตรงข้ามชอบมาตากแดดหลังทาน้ำส้มสายชูด้วยการจิ้มๆ ยั่วยวนตอนผมเดินไปมาผ่านหน้าร้าน หอมน้ำซุปและกรอบอร่อย
บางมื้อเป็นอาหารเรียบง่ายร้านใกล้ที่พัก สไตล์การจัดจานยังคงมาตราฐานเสมอ
ข้าวมันไก่ร้านไกลตอนกลางวันมีหลายร้าน ลองร้านถนนใกล้วัด คนค่อนข้างคึกคัก
แถบถนนยะลา ใกล้ท่าเรือ มีจุดหย่อนใจยามเช้า เส้นนี้ก็มีร้านอาหารเช้า และยานเย็นเป็นแหล่งถ่ายรูปแสงอาทิตย์อัสดง
อาคารสมัยยุคเริ่มแรก จากการสันนิษฐาน เพราะรูปแบบวัสดุที่ก่อสร้างและทรงโครงสร้างไม่สูง
มีศิลปะบนกำแพง และบรรยากาศคล้ายสไตล์จีน ถนนปูด้วยอิฐก้อนเล็กเหลี่ยม ต้นหลิวคลอผิวน้ำ
มุมมหาชนและความซนของศิลปิน
อาคารสถานที่แถบนี้เป็นรอยต่อหลายสมัยตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 ใช้อิฐิมอญที่เนื้อแกร่ง สวยงามต่างากสมัยปัจจุบัน อาคารแถวผนังรับน้ำหนักไม่มีเสา ใช้เสาไม้ทำคานรับชั้นด้านบนเพดานสูง บันไดจึงชันมาก หรืออาคารโมเดิร์นหลัง 2475 หรือก่อนหน้านั้น ช่วงสงครามโลก ให้ความแข็ง ทนทานหนักด้วยเส้นวัสดุคอนกรีตเสริมเหล็ก
รูปแบบหน้าบันของอาคารแต่ละยุค
หรืออาคารชุด เป็นกลุ่มบ้านคหบดี ที่มีลานกลางบ้าน ยาวแบบตอนลึก หรืออาคารแถวชาวบ้านมุงด้วยวัสดุกระเบื้องหรือสังกะสี สลับปนผสมกันไป
กระเบื้องหลังคา น่าสนใจ เพิ่มการไหลของน้ำฝน จากพื้นที่มรสุมฝนชุกตลอดปี
หากโชคดี เราจะได้สนทนากับเจ้าของบ้านพิพิธภัณฑ์ผ้า ผู้สะสมงานผ้ายุคเก่าหลายสมัย รวมถึงเครื่องเงินทรงคุณค่าและเครื่องถ้วยราชวงศ์เชง ท่านมีความรู้และคุยสนุก หรือแวะไปจิบน้ำชาร้านบรรยากาศเพิงไม้ผสมสังกะสี ไม่รับร้านกาแฟที่เปิดมากมายหลายร้านตามถนนย่อยรอบๆ
บรรยากาศภายในพิพิธภัณฑ์ผ้า เพดานสูง ผนังรับน้ำหนัก คานไม้รับพื้นด้านบน กลางบ้านมีช่องรับน้ำฝนและแสง กระเบื้องดินเผากรุพื้นเก็บความร้อนคลายความเย็นปรับอุณหภูมิภายใน
วัสดุและองศาลาดเอียงของหลังคา
หรือเดินชมคงามงามของวิถีชีวิต บานประตู แอบดูอาหารพื้นถิ่น
บางบ้านอาศัยจังหวะแดด ตากอาหารเพื่อถนอมหรือประกอบขนม เพราะฝนตกชุกและพื้นที่หน้าบ้านแคบติดถนน จึงต้องเปิดแง้มประตูไว้รับแดด
บางร้านรวมเรื่องราว และของพื้นถิ่น
คุณยายและคุณตา ร้านรวมของฝากงานหัตถกรรม น่ารัก คุยสนุก ของบางชิ้นย้อนระลึกถึงวันวาน ของเล่นเด็กสมัยก่อน
หรือยามค่ำอากาศดี ร้านดนตรีสด เคล้าคลอระว่างการสนทนากับกลุ่มชาวต่างชาติ หรือดื่มด่ำความเงียบไปกับคราฟเบียร์ และอาหารตะวันตกตามร้านรอบนอกที่กระจายหลากหลาย
ร้านนี้พิเศษ มีหลายชั้นและบรรยากาศดี
ยังคิดถึงตึกเก่าและเหล่าอาหารเลิศรสอยู่เสมอ ดีที่นอนตึกอายุเกิน 300 ปีคนเดียวแล้วไม่เจออะไร สารภาพว่าผู้เขียนไม่กล้านอนชั้นบนที่ต้องไต่บันไดสูงชันขึ้นไป หลังจากนอนไปสองคืนแรก ย้ายมาชั้นล่าง และเปิดไฟทิ้งไว้ทุกคืน...ที่นี่เงียบตั้งแต่หนึ่งทุ่มกว่าๆ ราวกับร้างผู้คน
เช้าวันคล้ายวันเกิด รีบมาใส่บาตรกับคุณยายบ้านตรงข้าม มีความสุขมาก
อาคารสองสามหลังในนี้มาจากที่นี่ สงขลา ถ.นางงาม
ตอนนี้มีของที่ระลึกแค่ตึกปูน ลองหาเพจเฟสบุค blue bangkok หรือใน blockdit ชื่อเดียวกันได้นะ มีสินค้าอื่นๆด้วยนะ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา