14 เม.ย. 2021 เวลา 09:42 • ศิลปะ & ออกแบบ
เรเนซองส์พระนคร ด้านจิตกรรมไทย ยังจำได้ในแบบเรียนจนถึงตอนเรียนด้านออกแบบและศิลปะ ว่ามีช่วงรอยต่อยุคสมัยที่จิตรกรรมตะวันตกมาปะทะกับความเป็นไทย ทำให้กลายเป็นสากล ต่อยอดจากความไทยในอุดมคติ เป็นรูปแบบใหม่ โดยผู้สร้างไม่เคยไปตะวันตกมาก่อน แต่สันนิษฐานว่าเรียนรู้จากภาพเขียนที่มาพร้อมเรือขนส่งสินค้าและอุปกรณ์บางอย่าง
ขรัวอินโข่ง ท่านลองใช้เทคนิคแบบใหม่(ส่วนมากเป็นกลุ่มงาน อิมเพรสชั่นนิสซ์) ทั้งทักษะและแนวคิดรูปแบบการเล่าเรื่อง นอกจากนี้ท่านมีสมุดภาพร่างตัวพระ นาง ฤษี ยักษ์ ลิง เราเคยนั่งค้นที่หอสมุดวังท่าพรพะแล้วลองลอกตาม เส้นกริดที่ซ่อนอยู่ในศิลปะไทยน่าสนใจ
ขรัว คือคำเรียกนักบวช พระในศาสนาที่บวชมานานจนล่วงสู่ปัจฉิมวัย งานฝีมือขรัวอินโข่งท่านนอกจากผนังโบสถ์วัดบรมนิวาส(วัดนี้มีอาคารเก่าแก่งดงามหลายหลัง บางหลังคนนิยมเรียกรูปแบบขนมปังขิง) ยังมีที่อุโบสถวัดบวรนิเวศฯ และภาพเขียนเข้ากรอบ(สันนิษฐานว่าเป็นผ้าใบ บางชิ้นเป็นไม้ ตรงนี้ไม่มั่นใจในเนื้อหาต้องขออภัย) ผู้เขียนเคยได้ชมตอนพิพิธภัณฑ์หอศิลป์เจ้าฟ้า นำมาจัดแสดงเมื่อหลายสิบปีก่อน ประทับใจมาก
ปริศนาธรรมและการแทนค่าเชิงสัญลักษณ์
การตีความเนื้อหาในบทสวดมนต์บูชาพระรัตนตรัยออกมาเป็นภาพเขียนฝาผนังโบสถ์วัดบรมนิวาส สมัยร.4(วัดนี้อนุญาตให้เข้าชมภาพเขียนเฉพาะวันพระ)
ผู้รู้บอกวิธีการดูภาพเขียนฝาผนังที่มีการซ่อม จะให้สังเกต เช่น ทีแปรงที่ไม่ไปในทางเดียวกัน การเคลือบสารป้องกันหรือชะลอการเสื่อมสภาพ
ตอนนั้นสมัครทริปนำชมอ.สุทธา ลีนะวัต ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลป์ คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิทพ์ ม.ศิลปากร ท่านบรรยายนำชมวัดบรมนิวาส (ท่านทำป.เอกจบเรื่องนี้ที่ ฝรั่งเศส)
อีกวัดที่น่าสนใจในพระนคร(ไม่รวมวัดที่เมืองเพชรบุรี จิตรกรรมสมัยกรุงศรีอยุธยาที่งามเลิศ หรืองานเขียนในหอธรรมวัดระฆัง กทม. ที่อ.เฟื้อ หริพิทักษ์ ท่านทำการบูรณะคัดลอกไว้) เห็นจะเป็นวัดฝั่งธนบุรี ที่อดีตอ.ศิลป์ พีระศรี ชอบพานักเรียนศิลปะนั่งเรือลัดเลาะมาตามคลองแถบนี้เพื่อดูวัดวาอารามและงานภาพเขียนฝาผนัง (อ.สอนทั้งจิตรกรรมตะวันตกและตะวันออก สอนเขียนฉากลิเกด้วย)
วัดทอง หรือวัดสุวรรณรามฯ เขตบางขุนนนท์ ตรงข้ามกับตลาดบางขุนนนท์ ที่ของกินอร่อยมากมาย ตั้งใกล้ริมน้ำ เป็นคลองที่เชื่อมต่อระหว่างเจ้าพระยา ข้างศิริราช มาสู่ระบบคลองสาขาของเขตบางกอกน้อยและบางกอกใหญ่ นั่งดีๆอาจมาถึงพุทธมณฑล มหาสวัสดิ์ ศาลายา
วัดทอง เป็นเวทีฝากฝีมือของช่างเขียนสมัย ร.3 โดยครูช่างผู้ยิ่งใหญ่ทั้งสอง ได้แก่ ครูทองอยู่ กับ ครูคงแป๊ะ ที่แบ่งฝั่งของพื้นที่ในการเขียนประชันฝีมือให้เราคนรุ่นหลังได้ชม
บางครั้งมีนักเรียนศิลปะไทย มักมาลอกฝีมือครูกันที่นี่ เพื่อเรียนรู้ ถ้าโบสถ์ปิด เราขอเข้าชมได้เสมอ แจ้งทางวัดก่อนได้ ไม่ต้องแจ้งล่วงหน้า แค่เดินทางมาแล้วสอบถามได้เลย
ภาพเขียนไตรภูมิจักรวาล ที่เป็นเนื้อหาหัวใจหลักของจิตรกรรมไทย มักจะอยู่หลังพระประธาน แสดงแผนผังโลกและจักรวาลตามอุดมคติพุทธเจือพราหมณ์ แท่งเสาแทนทวีปและเทือกเขา วิมานบนยอดเขาแทนชั้นของสวรรค์
กรอบกระจกที่หาสภาพสมบูรณ์ยาก น่าจะสมัยร.3-5 ภาพเขียนผนังตรงข้ามพระประธานนิยม มารพจญ แต่เสน่ห์วัดทองคือ ชาวต่างชาติที่เข้ามาสมัยร.3 ถูกแทนค่าเป็นมาร กองทัพตะวันตกที่รุกรานเพื่ออาณานิคม เกิดความคลางแคลงใจ สงสัย และระวังตัวของชาวตะวันออก
ภาพกาก คือความขบขัน ที่ซ่อนไว้ เช่นเรื่องเพศ
ภาพกากที่ต้องตั้งใจดู เป็นการซ่อนเนื้อหา ขบขัน เพศ แต่ที่โจ่งแจ้งจนโดนตำหนิก็มี บันทึกเรื่องนี้ต้องลองสืบค้น ร.4 ทรงพระพิโรธและให้แก้ใหม่ครั้งหนึ่ง
ความงามของชีวิต เรื่องเพศเป็นเรื่องธรรมดา สมัยร.3 มีภาพจิตรกรรมสังวาสหมู่ในวันลอยกระทง จากเอกสารที่มีผู้วิเคราะห์ว่า ความเสรีภาพด้านเพศและการแสดงออกเคยมีจนเข้ารัชสมัยใหม่ ร.4 ได้มีอิทธิพลจากตะวันตก สมเด็จพระนางเจ้าวิกตอเรีย เรื่อง เดอะเวอร์จิ้นควีน เข้ามา สยามจึงรับเอาแนวคิดด้านเพศใหม่ ต้องรักนวลสงวนตัว มีคู่ครองเดียว ตั้งอยู่ในกรอบศีลธรรม ทั้งที่ดินแดนแถบอุษาคเนย์ มีความหลากหลายและเสรีภาพด้านเพศมานาน
เรื่องกิจกรรมในมุ้งที่ถ่ายทอดมาเป็นภาพ ภาษา และสัญลักษณ์
ทศชาติชาดกที่มีภาพกากแฝง
ตอนนี้มีของที่ระลึกแค่ตึกปูน ลองหาเพจเฟสบุค blue bangkok หรือใน blockdit ชื่อเดียวกันได้นะ มีสินค้าอื่นๆด้วยนะ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา