9 เม.ย. 2021 เวลา 10:00 • ศิลปะ & ออกแบบ
ปีนัง(Penang) หรือจอร์จ ทาวน์(George Town) และมะละกา(Melaka)
อากาศร้อนชื้นอบอ้าว แต่สนุกเพราะเมืองมีชีวิต
ได้มีโอกาสไปเยือนช่วง 2018 จึงขอเล่าในมุมอาคารและร้านริมทาง เพราะระบบอาคารเก่าแก่ที่นี่ซับซ้อนและใหญ่มากเมืองหนึ่งของโลก จนได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก( 7 กรกฎาคม ค.ศ. 2008) เพราะความหลากหลาย ไม่ซ้ำ และอยู่ร่วมกันในพื้นที่ระหว่างรอยต่อยุคอดีตกับความล้ำสมัยในบริบทปัจจุบัน
ยานพาหนะชมเมือง นอกจากรถบัสนักท่องเที่ยว Grab แล้วจักรยานเป็นทางเลือก แต่เราเลือกเดินเป็นส่วนมาก
ในด้านอาคาร เส่นห์นอกจากการอยู่ร่วมกันของยุคเก่าและวิถีชีวิตสมัยปัจจุบันทำให้เกิดกระบวนการพัฒนาสู่อนาคตแล้ว ความฉลาดในการกระตุ้นเมืองคือใช้ศิลปะ โดยเฉพาะศิลปะบนกำแพงและวัฒนธรรมคนหมู่มาก(Pop culture) เป็นตัวช่วย มีการเชิญศิลปินจากนานาชาติเพื่อสร้างสรคค์ ซึ่งงานมีหลากหลาย ที่พบและบันทึกภาพได้จะแยกเป็น การพ่นสีบนผนัง กับ การสร้างสรรค์จากเทคนิคบนแผ่นโลหะ
งานศิลปินท่านนี้ถ่ายมาค่อนข้างมาก เนื่องจากลายเส้นเอกลักษณ์ เทคนิคน่าสนใจอาจใช้เทคโนโลยีการตัด มีเนื้อหาที่บ่งบอกความเป็นมิติพื้นที่ และถ้าอนาคตกลับมาชมสีคงมีร่งอรอยของคราบแห่งเวลา แปลกตาเปลี่ยนแปลงอย่างแน่แท้
ศิลปะส่วนมากแบ่งเป็นหลายหมวดของที่นี่ตามเนื้อหาที่ถูกถ่ายทอด จากกำแพงภาษาและวัฒนธรรม ทำให้ผู้เขียนตีความยาก แต่ไร้พรมแดนในด้านองค์ประกอบและการสื่อสารด้วยการรับชมทางทัศนธาตุ
นั่งรถผ่านจึงบันทึกภาพได้
คณะเรา ลองใช้วิธีการจองที่พักแล้วเก็บของจากนั้นนั่งรถประจำทางรอบเมือง ดูแผนที่ของโฮสเทล เพื่อสำรวจเส้นทางกับกลุ่มสถานที่น่าสจในก่อน จากนั้นค่อยเดินไปตามจุดต่างๆที่หมายตา
การเล่นกับมิติพื้นที่แต่ละจุด เนื้อหาจะไม่ซ้ำ และเชื่อว่ามีความเฉพาะแต่ละที่ตั้ง เป็นการทำการบ้านอย่างหนักก่อนการสร้าง และติดตั้งผลงาน
ที่ว่างค้างร้านสะดวกซื้อและเป็นจุดเด่นในเส้นทางมุมตึกสี่แยกถนน
เพียงวูบเห็นก็จำได้ถึงเอกลักษณ์ลายเส้น
นอกจากนี้ยังมีภาพศิลปะบนกำแพงหลากหลายเทคนิค บางครั้งฉลาดในการเล่าเรื่องที่ ล้อเล่น กับสถานที่ หรือวิถีชีวิตผู้คน ทำให้เกิดรอยยิ้มและความประทับใจ
งานหลายแนวทางที่รวมกันในจุดเด่นของพื้นที่ว่าง กลมกลืนไปในบรรยากาศเมือง
มีการเพิ่มวัสดุอุปกรณ์ประกอบฉาก เพื่อขับเน้นการเล่าเรื่องให้ลึกซึ้ง
ผู้คนที่เดินทางผ่านไปมา ส่วนมากนักท่องเที่ยวจะหยุดถ่ายรูป
แผนที่เป็นสิ่งสำคัญ มีหลากหลายรูปแบบ แต่ละอย่างสื่อถึงความเข้าใจในความต้องการของผู้ใช้แบบเฉพาะ
ความหลากหลายทางวัฒนธรรม เชื้อชาติและประเพณี
ทำแหน่งการติดตั้งและวิธีการ สร้างความน่าสนใจ
ความแนบเนียบและกลมกลืน หากไม่คอยสังเกตอาจไม่เห็น ภาพนี้ต้องแหงนดู
กลุ่มภาพแมว ที่ผู้เขียนพยายามรวมกลุ่มบันทึกภาพ
สิงโตแมวใหญ่ และประเพณี
ความฉลาดในการเล่าเรื่องกับสถานที่ เทคนิคเดาว่าทำบลอคกั้นพ่นสี
การเล่นกับทำเลของภาพที่ติดตั้ง สร้างเรื่องราวและเสียงหัวเราะได้ เกิดคำถามว่า แมวตัวนี้มองที่หนูหรือของไหว้เจ้าที่
การลงสีที่น่าสนใจเป็นเทคนิคเหมือนจริง
ทางตอนใต้ของแผ่นดินทวีป คนเชื้อสายจีนนิยมบูชาเทพท้องถิ่นและผลไม้อย่างสับปะรด เพื่อความเป็นมงคล เคยเห็นบางท่านบันทึกภาพเทพเจ้าที่ในความเชื่อคนเชื้อสายจีนแต่มีรูปเคารพเป็นชาวพื้นถิ่นแต่งกายในศาสนาอิสลาม
การใช้ผลไม้ที่มงคลมาเล่าเรื่องราวเป็นทั้งงานศิลปะและป้ายร้าน
ประตู และเรื่องราวคนในหลายเชื้อชาติ
ตรอกนี้รวมงานทำให้เกิดความคับแคบจากนักท่องเที่ยวที่เดินทางมา
การใช้สิ่งของสร้างมิติของงาน อีกทั้งเป็นแหล่งถ่ายรูป
เบื้องหลังรูปถ่ายสวยๆคนเข้าคิวต่อแถวเพื่อบันทึกภาพในแบบฉบับของตน
วัสดุที่น่าสนใจ ร่องรอยอิฐร่อนและสนิม ทำให้มุมนี้คนมาบันทึกภาพอย่างมากมาย
ด้านตรงข้ามกับศิลปะชิงช้า มีการขายสินค้าจากคนพื้นที่
อาหารริมทาง
การให้ข้อมูลเชิงความรู้ รูปแบบอาคารต่างๆในแต่ะยุคสมัย
อาคารทรงคุณค่าที่เปลี่ยนบริบท
ศาสนสถานในรูปแบบอาคารทรงคุณค่า
ตึกแถวแบบ shop house มีให้พบเห็นโดยทั่วไป
จังหวะและวัสดุของหลังคา เกิดมิติรอยต่อแต่ละยุคผ่านการใช้งาน คราบน้ำฝนที่เกาะเกรอะกรังทำให้ทราบถึงมรสุมและอากาศ องศาการลาดเอียงของหลังคา กันสาด แสดงการใช้งานในพื้นที่
สัญลักษณ์ทางศาสนามาประดับประดาอาคาร
อาคารเดี่ยวบริเวณสี่แยกทางร่วม เป็นจุดเด่น
การอยู่ร่วมกันของระดับและยุคของอาคาร แต่ทั้งหมดมีทางเดินลอดทะลุด้านหน้า บ่งบอกถึงแนวคิดที่ออกแบบคำนึงการใช้งานของพื้นที่ กันแดดและฝนที่มีสลับกันตลอดเวลา
อาคารปิดมุมที่ตัดมิติเหลี่ยม เปิดหน้าหลายด้านเพื่อการค้า และลดอุบัติเหติจากพาหนะสูง เช่น กรณีเกิดเพลิงไหม้ รถดับเพลิงต้องเคลื่อนผ่าน ลดการเกี่ยวชน
อาคารไม้และรอยอิฐก่อ ชี้ให้เห็นถึงขอบแนวอาคารเก่าที่รื้อสร้าง ปรับปรุงตลอดเวลา และเป็นย่านการค้าเชื้อชายอินเดีย สังเกตจากป้าย
กันสาด และความไม่เข้ากันของรูปแบบอาคาร(สวยหรู คล้ายวิกตอเรีย หรือนีโอคลาสสิก) เพราะการใช้งานจึงยอมลดความงาม กันแดดจ้าและฝนสาด
กลุ่มเส้นด้านข้างของอาคารรูปแบบจีน และการเผชิญหน้าของ shop house กับ อาคารเดี่ยวมุมถนน
ป้ายการตกแต่ง บ่งบอกถึงย่านที่รวมเชื้อชาติ
หน้าต่าง บางครั้งมีกลไกเปิด-ปิดรับแสงจากช่องบังลมริ้วไม้
บรรยากาศในย่าน Little India
ย่านของฝากของที่ระลึกตามจุดสำคัญ สีสันและโปสเตอร์
ของที่ระลึกแบบห้อยแขวน กระเบื้องเคลือบลงสี
โปสการ์ด ภาพเขียนสีน้ำที่พิมพ์ออกมาหลากหลายรูปแบบ
บรรดาของที่ระลึกจากรูปแบบสถาปัตยกรรม และเครื่องแต่งกาย ส่วนมากทำจากวัสดุดินเผาเคลือบทำสีราคาค่อนข้างสูงมาก
งานหัตถกรรมที่ประณีต สู่ของที่ระลึกในพิพิธภัณฑ์
ภาพกราฟิกเขียนแนวใหม่ อิงสถานที่พิพิธภัณฑ์ชาว Perankan
วิถีชีวิตและร้านหัตถกรรม
ขนมหวานขึ้นชื่อราคาไม่แพง มีทั้งร้านและรถเร่ ทุกวันนี้ยังคิดถึง เป็นการรวมกันหลายอย่าง คลายร้อน
วิถีชีวิตที่ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพเมือง
มะละกา เมืองท่าทางใต้ของเกาะ
คลอง ณ จุดท่องเที่ยวย่านดัง สถานที่สำคัญในอดีตของการตั้งสถานีการค้าของชาวต่างชาติ เพราะเป็นชัยภูมิยุทธศาสตร์ที่ดี ตั้งแต่โจรสลัด กองทัพเรือตะวันตกหลายชาติ ต่างแย่งชิงและปกครอง
หมู่อาคารจีนริมน้ำ บรรยากาศทางเดินเลียบน้ำ ถูกออกแบบและสร้างมาเพื่อการพักผ่อนและรับนักท่องเที่ยว ร้านค้าทั้งมีชื่อสาขามากมายหรือท้องถิ่นเรียงรายตลอดแนว
ร้านดินเผาที่น่าสนใจ
นำอาคารบ้านเรือนมาเล่าในมิติดินเคลือบ ราคาสูงมากแต่น่ารัก
ศิลปะ เป็นหัตกรรมที่ใช้สอยและซื้อฝาก
ร้านตรงข้ามร้านของที่ระลึกตกแต่งน่ารัก
ของหวานจากทางเหนือคือจอร์จทาวน์ สู่ทางใต้คือมะละกา อร่อยแบบหลากหลายสูตรและวัตถุดิบการใส่
อาหารจีนยามเช้า
ร้านริมทาง บางครั้งมีให้เลือกมากมาย
ศิลปะแบบกระดาษตัดแปะ
การใช้สีสันที่สดใส ตัดกับท้องฟ้าแดดจ้าสลับครึ้มฝน
ศิลปะบนกำแพงที่มีพื้นที่แนวกว้างริมสองข้างทางเดินเลียบน้ำ ออกแบบให้ใช้รูปแบบเดียวกัน
ศิลปะประดับหน้าบันของศาลบรรพชนในบ้านขนาดใหญ่ของคนเชื้อสายจีน ยังคงมีให้เห็นทั้งบ้านคหบดี หรือศาลเจ้า
การตกแต่งด้านหน้าอาคารเป็นการปรับเปลี่ยนรูปแบบ จากตะวันตกสู่ตะวันออก แสดงถึงรสนิยมผู้เป็นเจ้าของที่อาศัย
ตอนนี้มีของที่ระลึกแค่ตึกปูน ลองหาเพจเฟสบุค blue bangkok หรือใน blockdit ชื่อเดียวกันได้นะ มีสินค้าอื่นๆด้วยนะ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา