Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ลงทุนในบัญชีและภาษี
•
ติดตาม
3 เม.ย. 2021 เวลา 03:39 • การศึกษา
มาตรวจสุขภาพกิจการผ่านงบการเงินกันเถอะ 😊
การดำเนินธุรกิจ ก็เหมือนกับการดำรงชีวิตอยู่ของคนๆ หนึ่ง เพียงต่างกันที่สถานภาพ เป็นบุคคลธรรมดา หรือเป็นนิติบุคคล
สำหรับการดำรงอยู่ของคนนั้น หากเกิดการเจ็บป่วยขึ้นมา ก็จะมีอาการบอก เช่น วิงเวียน ปวดหัว อาเจียน เป็นไข้ เป็นต้น
แล้วถ้าเป็นธุรกิจล่ะ เราจะรู้ได้อย่างไร ว่าธุรกิจนี้เติบโตดี หรือย่ำแย่ หรือแย่แค่ไหน ขั้นโคม่าหรือยัง วันนี้เราจะพาคุณผู้อ่านมาสำรวจ ตรวจสุขภาพของกิจการผ่านงบการเงินกันนะคะ
1
โดยทั่วไปแล้ว งบการเงินสามารถบอกอาการให้เราสามารถเข้าใจถึงสภาพของกิจการเป็น 4 ลักษณะด้วยกัน ดังนี้
1.สภาพคล่อง (Liquidity Ratios)
2.ความสามารถในการทำกำไร (Profitability Ratios)
3.ประสิทธิภาพในการดำเนินงาน (Efficiency Ratios)
4.ความสามารถในการชำระหนี้ (Leverage Ratios)
⛳ สภาพคล่อง (Liquidity Ratios)
สภาพคล่อง คือ ความสามารถในการเปลี่ยนสภาพสินทรัพย์ให้เป็นเงินสด เพื่อนําไปชําระหนี้สินระยะสั้น สินทรัพย์ใดที่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ง่ายและรวดเร็วถือว่าสินทรัพย์นั้นมีสภาพคล่องสูง
2
อัตราส่วนนี้จะช่วยบอกความสามารถของกิจการในการจ่ายชําระหนี้ระยะสั้น เช่น เจ้าหนี้การค้า และธนาคารจะสนใจอัตราส่วนในกลุ่มนี้ ซึ่งจะให้ความสําคัญกับ กระแสเงินสดและเงินทุนหมุนเวียนของกิจการ ซึ่งเป็นแหล่งที่มาของเงินสดในระยะสั้น
กิจการที่มีสินทรัพย์ที่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ง่ายเป็นจํานวนมาก แสดงว่ากิจการนั้นจะมีสภาพคล่องสูง
อัตราส่วนที่ใช้วัดสภาพคล่อง ได้แก่
>> อัตราส่วนทุนหมุนเวียน (Current Ratio)
>> อัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็ว (Quick Ratio)
>> อัตราการหมุนเวียนของลูกหนี้ (Account Receivable Turnover)
>> ระยะเวลาถัวเฉลี่ยในการเรียกเก็บหนี้ (Average Collection Period)
>> อัตราการหมุนเวียนของเจ้าหนี้ (Account Payable Turnover)
>> อัตราการหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือ (Inventory Turnover)
⛳ ความสามารถในการทำกำไร (Profitability Ratios)
การตรวจสอบส่วนนี้ ใช้วัดความสามารถในการทํากําไรของกิจการ กิจการที่มีกําไรสูงก็จะแสดงถึงความสามารถในการชําระหนี้แก่เจ้าหนี้ และตอบแทนต่อผู้เป็นเจ้าของได้ดี
1
อัตราส่วนที่แสดงถึงความสามารถในการทำกำไร ประกอบด้วย
>> อัตรากําไรขั้นต้น (Gross Profit Margin)
>> อัตรากําไรจากการดําเนินงาน (Operating Profit Margin)
>> อัตรากําไรสุทธิ (Net Profit Margin)
>> อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ (Return on Assets หรือ ROA)
>> อัตราผลตอบแทนต่อส่วนของเจ้าของ (Return on Equity หรือ ROE)
>> อัตรากำไรต่อหุ้น (Earnings per Share หรือ EPS)
⛳ ประสิทธิภาพในการดำเนินงาน (Efficiency Ratios)
เป็นการตรวจวิเคราะห์เพื่อให้ทราบว่ากิจการได้มีการนําสินทรัพย์ทั้งหมดที่กิจการมีอยู่ มาใช้ในการดําเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด
1
ถ้ากิจการสามารถใช้สินทรัพย์ที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพ อัตราส่วนนี้จะสูง แสดงถึงสินทรัพย์ที่กิจการมีอยู่นั้นก่อให้เกิดยอดขายมาก
แต่ถ้าอัตราส่วนที่คํานวณได้ต่ํา แสดงถึงกิจการได้มีการใช้ประโยชน์ในสินทรัพย์ที่ลงทุนไปนั้นยังไม่คุ้มค่า หรือมีการลงทุนในสินทรัพย์มากเกินไป
อัตราส่วนที่แสดงถึงประสิทธิภาพในการดําเนินงาน ประกอบด้วย
>> อัตราการหมุนเวียนของลูกหนี้ (Account Receivable Turnover)
>> อัตราการหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือ (Inventory Turnover)
>> อัตราการหมุนเวียนของสินทรัพย์ถาวร (Fixed Asset Turnover)
>> อัตราการหมุนเวียนของสินทรัพย์รวม (Total Assets Turnover)
⛳ ความสามารถในการชำระหนี้ (Leverage Ratios)
เป็นการตรวจวัดโครงสร้างทางการเงินของกิจการ ซึ่งได้มาจาก 2 แหล่ง คือ มาจากการลงทุนของเจ้าของส่วนหนึ่งและมาจากการก่อหนี้ หรือการกู้ยืมบุคคลภายนอก
1
หากสัดส่วนโครงสร้างทางการเงินของกิจการ มาจากการก่อหนี้มากกว่าเงินทุนจากเจ้าของ กิจการก็จะมีความเสี่ยงสูง อัตราส่วนเพื่อวิเคราะห์ความสามารถในการชําระหนี้ พิจารณาจากหนี้สิน และส่วนของเจ้าของ รวมทั้งความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ย
1
อัตราส่วนเพื่อการวิเคราะห์ความสามารถในการชำระหนี้ ประกอบด้วย
>> อัตราส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์ (Debt to Asset หรือ D/A)
>> อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของเจ้าของ (Debt to Equity หรือ D/E)
>> อัตราส่วนหนี้สินระยะยาวต่อสินทรัพย์(Long –Term Debt to Assets)
>> อัตราส่วนแสดงความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ย (Times Interest Earned)
คุณผู้อ่านสามารถอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับอัตราส่วนทางการเงินบอกอะไรได้บ้าง ได้เพิ่มเติมจากลิ้งข้างล่างนี้ค่ะ
อ่านเพิ่มเติม
blockdit.com
[ลงทุนในบัญชีและภาษี] อัตราส่วนทางการเงิน บอกอะไรได้บ้าง
อัตราส่วนทางการเงิน บอกอะไรได้บ้าง
💦.....การหมั่นตรวจวัดสภาพกิจการดังที่กล่าวมาข้างต้น จะช่วยให้เราทราบสภาพร่ายกายของกิจการเป็นอย่างไร หากสุขภาพกิจการดี มีแนวโน้มการเจริญเติบโตได้ดี ก็เหมาะแก่การที่เราจะเข้าไปลงทุนด้วย หรือลงทุนอยู่แล้วก็สามารถเพิ่มการลงทุนเข้าไปอีกได้
แต่หากสภาพกิจการเริ่มบอกอาการแย่แล้ว เช่น หนี้สินมากกว่าส่วนของเจ้าของ เช่นนี้ ก็รีบถอยให้ห่าง หากมีการลงทุนอยู่ ก็ต้องรีบถอนทุนออกมา เพื่อไปหากิจการใหม่ที่มีสุขภาพที่ดีเหมาะแก่การลงทุนดีกว่าค่ะ 😊
เรียบเรียงโดย : ลงทุนในบัญชีและภาษี
ขอบคุณกำลังใจและการติดตามนะคะ ทุกการอ่าน ไลค์ แชร์ หรือคอมเม้นท์มีความหมายเสมอค่ะ ❤❤🙏🙏❤❤
11 บันทึก
31
46
26
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
งบการเงินเพื่อการลงทุน
11
31
46
26
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย