29 มี.ค. 2021 เวลา 04:23 • ประวัติศาสตร์
10 มีนาคม 2328
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกเสด็จพระราชดำเนินทางชลมารคยกทัพหลวงจำนวน 30,000 คน ขึ้นสมทบทัพไทยทางเหนือที่กำลังขับไล่พม่าข้าศึกอยู่ โดยทรงตั้งกองทัพหลวงชั่วคราวอยู่ที่เมืองอินทร์บุรี
เเละมีพระราชโองการให้เจ้าฟ้ากรมขุนอนุรักษ์เทเวศร์เร่งยกทัพขึ้นไปสมทบกับทัพของเจ้าพระยามหาเสนาที่ปากพิง เเละโปรดเกล้าให้เจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์พร้อมด้วยพระยาพระคลังเเละพระยาอุทัยธรรมซึ่งเป็นกองระวังหลังอยู่ที่ชัยนาท เร่งยกทัพขึ้นไปที่เมืองตากเพื่อขับไล่ทัพของ
"จอข่องนรทา"
หลังจากนั้นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้เสด็จยกทัพหลวงขึ้นไปที่นครสวรรค์เเละยกต่อไปที่บางข้าวตอก เเขวงเมืองพิจิตร เพื่อเป็นกองหนุนให้กับทัพของเจ้าฟ้ากรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์เเละเจ้าพระยามหาเสนา ได้มีพระราชโองการขึ้นไปเร่งเเม่ทัพทั้งสองว่าให้ยกทัพไปตีค่ายพม่าที่ปากพิงให้ได้ภายในวันเดียว
"มิฉะนั้นจะถูกลงโทษถึงขั้นประหารชีวิต"
18 มีนาคม 2328
หลังจากจัดเตรียมกำลังพลเรียบร้อยดีเเล้ว เจ้าฟ้ากรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์เเละเจ้าพระยามหาเสนา จึงทุ่มสรรพกำลังเข้าโจมตีค่ายพม่าที่ปากพิงทุกค่ายพร้อมกัน ฝ่ายพม่าข้าศึกก็ต่อสู้กับทัพไทยอย่างทรหดไม่ยอมเเพ้ตั้งเเต่เช้าจรดค่ำ ทั้งเข้าประดาบประชิดตัวรวมถึงอาวุธปืนระดมยิงกันอย่างต่อเนื่อง
เมื่อถึงเวลากลางคืนพม่าก็เสียค่ายเเตกหนีว่ายข้ามน้ำกันอลม่าน ทัพทหารไทยไล่ตามไปอย่างไม่ลดละฆ่าฟันข้าศึกตายจมอยู่ในเเม่น้ำทั้งม้าทั้งคนประมาณ 800 คน จนศพลอยเกลื่อนเเม่น้ำไม่สามารถนำมาดื่มกินได้
1
หลังจากได้ชัยชนะที่ปากพิงเเล้วพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงมีพระราชโองการให้เจ้าฟ้ากรมหลวงจักรเจษฎาคุมกำลังพลส่วนหนึ่งของทัพหลวงสมทบเข้ากับทัพของเจ้าพระยามหาเสนายกติดตามไล่ล่าข้าศึกที่เเตกหนีจากปากพิงรวมถึงยกทัพต่อไปเพื่อช่วยเจ้ากาวิละที่ถูกทัพพม่าล้อมเมืองอยู่ที่ลำปาง
เเละพระองค์ได้เคลื่อนทัพหลวงกลับลงมาตั้งรออยู่ที่เมืองนครสวรรค์เพื่อคอยติดตามเหตุการณ์ของทุกทัพที่ส่งออกไปอย่างใกล้ชิด ทางฝั่งทัพของกรมหลวงเทพหริรักษ์ได้ยกไปตั้งอยู่ที่กำเเพงเพชร เเละได้มีพระบัญชาให้พระยาคลังเเละพระยาอุทัยธรรมนำทัพหน้าไปที่บ้านระเเหง
เเต่ทัพพม่าของ"จอข่องนรทา"ได้ถอนทัพกลับออกไปทางด่านเเม่ละเมาเเล้ว เนื่องจากได้ข่าวว่าทัพของพม่าที่ปากพิงถูกทัพไทยตีเเตกพ่ายเเล้วเเละตัวพระเจ้าปดุงก็ได้ออกคำสั่งให้ทุกทัพถอนกลับเมืองพม่า
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกจึงมีพระราชโองการให้ เจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์ทรงนำทัพกลับมารักษาเมืองนครสวรรค์ ส่วนพระองค์ทรงเสด็จนำทัพหลวงกลับพระนคร
ทัพของพม่าบางส่วนที่หนีรอดตายจากปากพิงมานั้น ได้นำกำลังเข้าร่วมกับทัพพม่าที่ล้อมเมืองลำปางอยู่ในเวลานั้น "เจ้ากาวิละ" เจ้าเมืองลำปางได้ระดมไพร่พลชาวเมืองลำปางเเละเมืองใกล้เคียงต้านทัพพม่าอย่างเข้มเเข็งได้ถึง 4 เดือน
เมื่อกองทัพของเจ้าฟ้ากรมหลวงจักรเจษฎาเเละเจ้าพระยามหาเสนา ตามขึ้นมาถึงก็ได้จัดทัพไพร่พลระดมตีทัพพม่าที่ล้อมเมืองลำปางอย่างดุเดือด รบกันตั้งเเต่เช้าถึงเที่ยง ทัพพม่าก็เเตกพ่ายหนีออกไปตั้งหลักทางเชียงเเสนก่อนจะเลิกทัพกลับไปตามพระราชโองการของพระเจ้าปดุง
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกขณะทรงประทับอยู่ที่พระนคร ทรงทราบว่าฝ่ายไทยได้ชัยชนะในสมรภูมิเเดนเหนือสามารถขับไล่ข้าศึกออกจากพระราชอาณาเขตทางเหนือได้หมดเเล้วจึงทรงโปรดเกล้าให้กองทัพที่ขึ้นไปป้องกันหัวเมืองภาคเหนือทั้งปวงยกทัพกลับพระนคร..............

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา