15 เม.ย. 2021 เวลา 07:35 • หนังสือ
#42 เล่ม 2 บทที่ 17 หน้า 259 ~ 262
...
นี่เป็นคำถามในเรื่องของ #โอกาส มากกว่าจะเป็นเรื่องของความเต็มใจ ฉะนั้นสิ่งที่จะต้องทำจริงๆเป็นอย่างแรกในการปรับโครงสร้างระเบียบของสังคมคือ การสร้างหลักประกันว่าแต่ละคนและแต่ละประเทศจะได้รับ #โอกาสที่เท่าเทียมกัน
เรื่องเหล่านี้ไม่มีวันเป็นจริงได้หากผู้ครอบครองและควบคุมความมั่งคั่งรวมไปถึงทรัพยากรโลกในปัจจุบันยังคงยืนกรานจะยึดกุมเอาไว้เหมือนเดิม
...
...
...
N>: ใช่ครับ ผมถึงอ้างถึงประเทศเม็กซิโกไง ไม่ได้จะโจมตีอะไรหรอกนะครับ แต่ผมคิดว่าประเทศนี้เป็นตัวอย่างที่ชัดมากของเรื่องที่พูดมานี้ ตระกูลที่ร่ำรวยและมีอิทธิพลจำนวนหนึ่งควบคุมความมั่งคั่งและทรัพยากรของทั้งประเทศ...มา 40 ปีแล้ว
"การเลือกตั้ง" ตามประชาธิปไตยแบบตะวันตกกลายเป็นเรื่องน่าตลก เพราะตระกูลเดิมๆมีอิทธิพลเหนือพรรคการเมืองเดิมๆมาหลายทศวรรษ เพื่อรับประกันว่าจะไม่มีฝ่ายค้านที่สามารถส่งผลกระทบกับฝ่ายตนได้ ผลเป็นยังไงงั้นหรือครับ❓ "คนรวยก็รวยเอาๆ ส่วนคนจนก็จนลงๆ" น่ะสิ
ถ้าค่าจ้างขึ้นจาก 1.75 เหรียญไปเป็น 3.15 เหรียญต่อชั่วโมง คนรวยก็จะบอกว่าพวกตนทำให้คนจนได้มีงานทำและทำให้เกิดโอกาสของความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ แต่คนที่กอบโกยและก้าวหน้าจริงๆก็คือพวกคนรวยเหมือนเดิมที่เป็นเจ้าของอุตสาหกรรมและธุรกิจต่างๆ ที่ขายสินค้าให้แก่คนในประเทศและต่างประเทศแล้วทำกำไรได้มหาศาล โดยมีต้นทุนค่าแรงที่ต่ำเตี้ยเรี่ยดิน
ชาวอเมริกันที่ร่ำรวยต่างก็รู้เรื่องนี้กันดี นี่เป็นสาเหตุที่ชาวอเมริกันผู้ร่ำรวยและมีอำนาจเหล่านี้ย้ายโรงงานและฐานการผลิตไปที่เม็กซิโกและประเทศอื่นๆที่ซึ่งค่าจ้างระดับแรงงานทาสถูกมองว่าเป็นโอกาสทองของชาวชนบท
ในขณะเดียวกันคนงานเหล่านั้นต้องทำงานอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ทำลายสุขภาพและหาความปลอดภัยไม่ได้เอาเสียเลย แต่รัฐบาลท้องถิ่นของประเทศนั้นๆ (ซึ่งก็ถูกบงการโดยกลุ่มคนที่ได้รับผลประโยชน์หรือผลกำไรจากตรงนี้) ก็จะออกกฏระเบียบข้อบังคับเล็กๆน้อยๆที่แทบจะไม่มีมาตรฐานทางด้านสุขภาพ ความปลอดภัย และการปกป้องคุ้มครองสิ่งแวดล้อมในสถานที่นั้นเลย
คุณภาพชีวิตของคนงานไม่ได้รับการใส่ใจเช่นเดียวกันกับโลกที่ก็ไม่ได้รับการใส่ใจ พวกเขา (คนงาน) ต้องพักอยู่ในเพิงโกโรโกโสข้างๆทางน้ำที่เอาไว้ใช้ซักเสื้อผ้าและบางทีก็ใช้ขับถ่าย เพราะศักดิ์ศรีของพวกเขาไม่คู่ควรกับระบบน้ำประปา
การทิ้งขว้างคุณภาพชีวิตของผู้คนที่น่ารังเกียจนี้เกิดขึ้นมาเพราะผู้คนไม่มีปัญญาซื้อสินค้าที่ถูกผลิตขึ้นมานั่นล่ะ แต่พวกคนรวยที่เป็นเจ้าของโรงงานก็ไม่สนใจอยู่แล้ว เพราะพวกเขาสามารถส่งสินค้าของตัวเองไปขายในประเทศที่ผู้คนมีกำลังซื้อได้อยู่ดี
แต่ผมเชื่อว่าที่สุดแล้วไม่ช้าก็เร็วผลลัพธ์ที่เลวร้ายก็จะย้อนกลับมาทำร้ายตัวเอง ไม่เฉพาะที่เม็กซิโกเท่านั้น แต่ในทุกๆที่ที่มนุษย์ถูกขูดรีดด้วย
G>: การปฏิวัติและสงครามกลางเมืองคือสิ่งที่เลี่ยงไม่พ้น (สงครามระหว่างประเทศก็ด้วย) ถ้า "คนรวย" ยังไม่ยอมหยุดขูดรีด "คนจน" 💢ภายใต้หน้าฉากอันสวยหรูของคำว่าการสร้างโอกาส💢
N>: การครอบครองความมั่งคั่งและทรัพยากรถูกทำให้กลายเป็นสถาบันหรือองค์กรที่ในยุคนี้ถูกมองว่าเป็นอะไรที่น่าจะยอมรับได้ แม้กระทั่งกับคนที่มีจิตใจเป็นธรรมยังมองว่ามันเป็นเพียงแค่เรื่องเศรษฐกิจระบบการค้าเสรีก็เท่านั้น
G>: อำนาจที่คนและประเทศที่ร่ำรวยของโลกถืออยู่ในมือนั่นไงที่ทำให้เกิดมายาภาพแห่งความเท่าเทียมกันขึ้นมา
ความจริงก็คือ 🔸มันไม่เป็นธรรมต่อประชากรโลกส่วนใหญ่และประเทศอื่น ๆ ที่ถูกรั้งไว้ไม่ให้แม้แต่จะใช้ความพยายามเพื่อบรรลุถึงสิ่งที่ผู้มีอำนาจได้รับ🔸
ระบบการปกครองที่อธิบายไว้ตรงนี้จะเคลื่อนย้ายสมดุลทางอำนาจครั้งใหญ่จากผู้ที่ยึดครองทรัพยากรจำนวนมากเอาไว้สู่ผู้ที่ขาดโอกาสในการเข้าถึงทรัพยากร ให้มีการจัดสรรใหม่อย่างเท่าเทียม
N>: นี่คือสิ่งที่ผู้มีอำนาจกลัว
G>: ใช่ ฉะนั้นทางออกระยะสั้นจากความปั่นป่วนของโลก อาจเป็นโครงสร้างทางสังคมชนิดใหม่ นั่นคือ รัฐบาลใหม่ที่มีอำนาจบริหารโลก
ที่ผ่านมามีผู้นำของพวกเธอที่มองการณ์ไกลพอและกล้าพอจะเสนอให้เริ่มมีการจัดระเบียบโลกใหม่ (New world order ***) ในลักษณะที่กล่าวมานั้น จอร์จ บุช★ (ผู้ซึ่งประวัติศาสตร์จะตัดสินว่าเป็นผู้มีสติปัญญา วิสัยทัศน์ เมตตา และกล้าหาญกว่าที่สังคมในปัจจุบันจะพร้อมและสามารถยอมรับได้มากนัก) คือผู้นำประเภทนั้น
★George Bush Senior / จอร์จ บุช คนพ่อ : ผู้นำเสนอแนวคิดการจัดระเบียบโลกใหม่ ~ ผู้แปล
ไม่ต่างจากอดีตประธานาธิบดีสหภาพโซเวียต มิคาอิล กอร์บาชอฟ★ ผู้นำแห่งรัฐคอมมิวนิสต์คนแรกที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ และยังเป็นผู้เสนอการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองครั้งใหญ่จนทำให้สิ่งที่พวกเธอเรียกว่าสงครามเย็นเกือบจะยุติลงได้อย่างสิ้นเชิง
★มิคาอิล กอร์บาชอฟ / Mikhail Gorbachev : ผู้นำเสนอแนวทางสำคัญ 3 ประการเพื่อปฏิรูปโซเวียต นั่นคือ การปรับเศรษฐกิจ (เปอเรสทรอยก้า - Perestroika) การเปิดประเทศ (กลาสนอสต์ - Glasnost) และการสร้างประชาธิปไตย (Democratization)
~ ผู้แปล
รวมถึงประธานาธิบดีคาร์เตอร์ ที่นำนายเบกินและนายซาดัต★ เข้าสู่การเจรจาที่ไม่มีใครคาดฝันถึงมาก่อน หลังพ้นจากตำแหน่งก็ยังเป็นผู้คอยรั้งไม่ให้โลกถลำลงสู่การเผชิญหน้าที่รุนแรงครั้งแล้วครั้งเล่าผ่านการให้คำมั่นอันเรียบง่ายจากความจริงที่เรียบง่ายว่า : 🔹ไม่มีมุมมองของใครควรค่าแก่การรับฟังน้อยไปกว่าใคร🔹 🔹ไม่มีมนุษย์คนไหนมีศักดิ์ศรีที่ต้อยต่ำไปกว่าอีกคน🔹
★ เมนเนเคม เบกิน / Menachem Begin นายกรัฐมนตรีอิสราเอล ผู้มีบทบาทสำคัญในการลงนามในสนธิสัญญา อียิปต์-อิสราเอล 1979 ร่วมกับนาย อันวาร์ ซาดัต / Anwar Sadat ประธานาธิบดีอียิปต์ ในปี ค.ศ. 1979 โดยอิสราเอลตกลงจะคืนแหลมซีนายให้แก่อียิปต์ โดยอียิปต์ยอมรับรองรัฐอิสราเอล กระบวนการเจรจาสันติภาพครั้งสำคัญนี้ส่งผลให้เบกินกับซาดัตได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพร่วมกัน
~ ผู้แปล
มันน่าสนใจตรงที่ผู้นำที่กล้าหาญเหล่านี้ (ที่แต่ละคนต่างฉุดโลกขึ้นจากปากเหวแห่งสงครามในช่วงเวลาของตน แต่ละคนต่างสนับสนุนและนำเสนอการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่เพื่อให้หลุดพ้นจากโครงสร้างทางการเมืองที่ครอบงำยุคสมัย และแต่ละคนได้รับการเลือกตั้งเพียงสมัยเดียว) ถูกโค่นลงจากตำแหน่งโดยผู้ที่ตนกำลังช่วยยกระดับให้
พวกเขาได้รับความนิยมอย่างล้นหลามจากประชาคมโลกแต่กลับถูกปฏิเสธอย่างแข็งขันจากประชาชนในชาติของตัวเอง ถูกตราหน้าว่าไร้เกียรติและศักดิ์ศรีแห่งมาตุภูมิ
ที่เป็นแบบนี้เพราะวิสัยทัศน์ของคนเหล่านี้ก้าวล้ำเกินกว่าที่ประชาชนของตัวเองจะตามทัน ประชาชนที่สนใจแต่เฉพาะเรื่องใกล้ตัวอันคับแคบจำกัดและไม่คิดถึงเรื่องอะไรอื่นอีกนอกจากยอดขายที่จะต้องเสียไปจากวิสัยทัศน์อันกว้างไกลนี้
ยังมีผู้นำคนอื่นๆอีกที่หมดกำลังใจเพราะถูกใส่ร้ายและถูกประณามจากการก้าวเท้าออกมาเพื่อเรียกร้องให้ผู้มีอำนาจทั้งหลายหยุดกดขี่ข่มเหงประชาชน
มันจะต้องเป็นอย่างนี้ต่อไปเรื่อยๆจนกว่าจะนำ`วิธีแก้ปัญหาระยะยาว`มาใช้ ซึ่งไม่ใช่วิธีทางการเมือง วิธีแก้ปัญหาในระยะยาว (และเป็นวิธีแก้ปัญหาที่แท้จริงเพียงหนึ่งเดียว) ก็คือ 🌟การตระหนักรู้แบบใหม่และการมีจิตสำนึกแบบใหม่🌟 ซึ่งก็คือ ✴️การตระหนักรู้ถึงความเป็นหนึ่งเดียวและจิตสำนึกแห่งความรัก✴️
แรงจูงใจที่จะประสบความสำเร็จในการใช้ชีวิตให้เกิดประโยชน์สูงสุดนั้นไม่ควรขึ้นอยู่กับผลตอบแทนทางเศรษฐกิจหรือวัตถุทั้งหลาย นั่นคือ 💢การให้ความสำคัญผิดที่ และการให้ความสำคัญผิดที่ได้ก่อให้เกิดปัญหานานัปการอย่างที่เราได้คุยกันไป💢
เมื่อแรงจูงใจสู่ความยิ่งใหญ่ไม่ใช่เรื่องทางเศรษฐกิจ (เมื่อมีการรับประกันความมั่นคงทางเศรษฐกิจและปัจจัยขั้นพื้นฐานให้กับมนุษย์ทุกคนแล้ว) เมื่อนั้นแรงจูงใจไม่ได้หายไปไหนแต่จะเปลี่ยนรูปแบบไป โดยมีจิตใจที่มุ่งมั่นและเข้มแข็งมากยิ่งขึ้นในการสร้างความยิ่งใหญ่ที่แท้จริง หาใช่ "ความยิ่งใหญ่" อย่างที่แรงจูงใจในปัจจุบันได้สร้างขึ้นไม่
N>: แล้วการมีชีวิตที่ดีขึ้นหรือการสร้างชีวิตที่ดีกว่าเดิมให้กับลูกหลานของเรายังไม่ถือว่าเป็นแรงจูงใจที่ดีอีกหรือครับ❓
...
...
...
~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~
*** หลังจากพิจารณาสิ่งที่พระองค์อธิบายมาจนถึงตรงนี้ผมรู้สึกว่า การจัดระเบียบโลกใหม่ (New world order) หลักการของมันเป็นสิ่งที่ดีมากที่จะสามารถจัดการแก้ปัญหาให้กับโลกใบนี้ได้ แต่อาจเป็นเพราะมีมนุษย์บางกลุ่มที่ทำให้เรื่องการจัดระเบียบโลกใหม่นี้ เฉไฉออกไปจากหลักการหรือแนวทางเดิม และสร้างภาพให้ผู้คนหวาดกลัวกับแนวคิดนี้แทน เหมือนกับที่พระองค์กล่าวไว้ว่า : แนวคิดเรื่องคอมมิวนิสต์นั้นยอดเยี่ยมมาก (เช่นเดียวกับแนวคิดเรื่องการจัดระเบียบโลกใหม่) แต่ปัญหาก็คือวิธีที่มนุษย์นำมันไปปฏิบัติใช้ต่างหาก
อ่านแนวคิดเรื่องการจัดระเบียบโลกใหม่เพิ่มเติมได้ตามลิงค์ครับ
แอดมิน

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา