16 เม.ย. 2021 เวลา 08:16 • ปรัชญา
มงคลที่ 26 การฟังธรรมตามกาล
คำว่า “การฟังธรรมตามกาล” แปลว่า การ
ฟังธรรมในยามที่จิตถูกครอบงำด้วยกิเลส
3 ประการ คือ
1. กามวิตก ความครุ่นคำนึงถึงกามารมณ์
2. พยาบาทวิตก ความครุ่นคำนึงถึงการ
พยาบาทอาฆาตแค้น
3. วิหิงสาวิตก ความครุ่นคำนึงถึงการ
เบียดเบียนบีฑาสรรพชีวาให้เดือดร้อน
แต่เมื่อกล่าวโดยสาระสำคัญก็คือ “เวลาใดที่จิตถูกกิเลสเข้าครอบงำ เวลานั้นแหละคือเวลาในการฟังธรรม”
ในพระไตรปิฎกท่านนิยามไว้อีกแง่มุมหนึ่งว่า “เวลาใดก็ตามที่บุคคลสนใจใฝ่ศึกษาธรรม เวลานั้นก็จัดว่าเป็นการฟังธรรมตามกาลได้เหมือนกัน”
การฟังธรรมในวันธรรมสวนะ (8 ค่ำ 14 ค่ำ 15 ค่ำ) ก็ถือว่าเป็นการฟังธรรมตามกาล
การฟังธรรมตามกาลจัดว่าเป็นอุดมมงคล
เพราะได้รับประโยชน์ 5 ประการ
1. ได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง
2. สิ่งใดที่เคยฟังแล้ว แต่ยังไม่เข้าใจ
เข้าใจแจ่มแจ้ง
3. บรรเทาความสงสัย
4. ทำความเห็นให้ถูกต้อง
5. จิตย่อมผ่องใส
การฟังธรรม ย่อมหมายรวมถึง การเรียน
การอ่าน การสนทนาธรรมด้วยการฟังธรรมนับว่าเป็นมงคลแห่งชีวิต เพราะเป็นการพัฒนาปัญญาเป็นความก้าวหน้าทางจิต เป็นเข็มทิศแห่งชีวิตที่ดีงาม
ท่าน ว.วชิรเมธี

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา