อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่า ในปี 1858 Elisabeth ได้ให้กำเนิดลูกชายคนแรกที่ราชวงศ์ Hapsberg รอคอยมานานแสนนานนามว่า Rudolf และเธอเริ่มมีบทบาทในราชสำนักมากขึ้น เพราะตอนนี้เธอเป็นถึงมารดาของมกุฎราชกุมารแห่งจักรวรรดิอันยิ่งใหญ่แล้ว
มกุฎราชกุมาร Rudolf และ Gisela พี่สาวของพระองค์ (Source: Pinterest)
Elisabeth ผู้ชื่นชอบการขี่ม้า สังเกตดีดีจะพบว่าเธอมักขะขี่แบบ Side Saddle คือนั่งเอาขาสองข้างไขว้ไว้ข้างเดียวกัน ซึ่งเป็นท่าขี่ม้าของสตรีในสมัยนั้น (Source: Pinterest)
หลังการสถาปนา ทั้งคู่ได้รับของขวัญจากชาวฮังการีเป็นบ้านพักที่เมือง Gödöllő ประมาณ 32 กิโลเมตรจากตัวเมือง Budapest และในอีก 1 ปีต่อมา Elisabeth ก็พักอาศัยอยู่ที่นี่โดยไม่กลับไปยังเวียนนาเลย เธอมักจะเดินเล่นรอบบ้านพักของเธอพร้อมกับ Count Andrássy เพื่อคุยเรื่องสัพเพเหระต่าง ๆ จนนักข่าวต่างพากันประโคมข่าวอย่างสนุกปากว่าจริง ๆ แล้วเธอกับ Count Andrássy เป็นคู่รักกัน และกำลังจะมีลูกชายด้วยกัน แถมทั้งคู่ยังวางแผนว่าจะตั้งชื่อว่า Stephen ตามชื่อของนักบุญประจำฮังการีอีกด้วย
1
พระราชพิธีสถาปนาจักรพรรดิ Franz-Joseph และจักรพรรดินี Elisabeth เป็นราชาและราชินีแห่งฮังการี (Source: Pinterest)
แต่สุดท้ายแล้ว ในปี 1868 เธอก็ให้กำเนิดบุตรคนที่ 4 พร้อมกับสามีของเธอที่อยู่เคียงข้างเธอ โดยครั้งนี้เป็นลูกสาวนามว่า Marie Valerie ซึ่งได้ฉายาจากนักข่าวว่า “The Hungarian Child : เจ้าเด็กฮังการี” เพราะเธอเกิดในฮังการีนั่นเอง และครั้งนี้ Elisabeth ก็ตั้งใจอย่างแน่วแน่ว่าจะเลี้ยงดูลูกสาวคนนี้ด้วยตัวของเธอเอง
หลังจากที่ลูกสาวคนที่ 4 เกิดได้ไม่นาน Elisabeth ถูกเรียกตัวกลับมายังเวียนนา เนื่องจากเจ้าหญิง Sophie แม่สามีของเธอ กำลังจะตายด้วยเนื้องอกในสมอง แม้ว่าเธอจะถูกแม่สามีของเธอทรมาน และทำให้ชีวิตของเธอปั่นป่วนและไม่มีความสุข Elisabeth ก็อยู่เคียงข้างแม่สามีของเธอ จนกระทั่งเธอเสียชีวิต ว่ากันว่าคนสุดท้ายที่เจ้าหญิง Sophie เห็นหน้าก่อนจะเสียชีวิตก็คือหน้าของ Elisabeth ลูกสะใภ้ที่เธอบอกว่าเป็นแม่ที่ไม่ดีนั่นเอง
ภาพครอบครัวของ Elisabeth คนที่เธออุ้มอยู่คือหนูน้อย Marie Valerie (Source: Pinterest)
สนใจในจิตเวช
ไม่นานหลังจากกลับมาอยู่เวียนนา Elisabeth ก็ออกเดินทางอีกครั้ง ในครั้งนี้เธอต้องการเดินทางไปเยี่ยมเพื่อนของเธอที่ประเทศอังกฤษ ซึ่งระหว่างทางเธอแวะที่ ฺBavaria ก่อน เพื่อที่จะเจอกับครอบครัวและญาติ ๆ ของเธอ ที่นี่เธอได้พบกับกษัตริย์ Ludwig ที่ 2 ที่ได้ฉายาว่า “The Mad King” จากการสร้างปราสาทราชวังต่าง ๆ มากมาย และน้องชายของพระองค์ Otto ซึ่งมีอาการทางจิต ทั้งหมดนี้ทำให้เธอเริ่มเกิดความสนใจในเรื่องการรักษาผู้ป่วยจิตเวช
ภาพของขักรพรรดินี Elisabeth ขณะเยี่ยมคนไข้ในโรงพยาบาลต่าง ๆ (Source: Pinterest)
ปีแห่งความสูญเสีย
อีกคนหนึ่งที่มีความสำคัญมากทั้งกับตัวเธอและราชวงศ์ก็คือ มกุฎราชกุมาร Rudolf ผู้ที่จะมาเป็นจักรพรรดิในอนาคต แต่เนื่องจากพระองค์ถูกพรากไปจากอ้อมอกของมารดาตั้งแต่ยังเด็ก พระองค์จึงโตมาภายใต้ความดูแลของเจ้าหญิง Sophie ซึ่งเป็นย่าของตนเองมากกว่า
แต่อย่างไรก็ตาม ตอนที่ Rudolf อายุได้ประมาณ 4 ขวบ และ Elisabeth กลับมาจากการเดินทางท่องเที่ยว เธอเริ่มมีบทบาทในการเลี้ยงดู Rudolf มากขึ้น เพราะเธอทนไม่ได้ที่จะเห็นลูกชายที่มีนิสัยค่อนข้างขี้อาย ไม่ชอบสุงสิงกับคน ต้องมาได้รับการเลี้ยงดูแบบทหาร
และสิ่งที่ทำให้สติเธอขาดผึงเอา ก็คือตอนที่ Rudolf อายุได้ประมาณ 10 ขวบ เขาถูกครูพี่เลี้ยงฝึกด้วยความทารุณเช่น ปล่อย Rudolf ไว้ในป่าคนเดียว แล้วให้หาทางกลับออกมาเอง หรือยิงปืนในห้องนอนของ Rudolf เพื่อฝึก “ความเป็นชายชาตรี” รวมไปถึงให้อาบน้ำเย็นจัดในทุกเช้า จนกระทั่งหนูน้อย Rudolf มีอาการผวาทุกครั้งเมื่อได้ยินเสียงเปิดก๊อกน้ำ เธอจึงยื่นคำขาดว่าเธอจะต้องมีส่วนเลี้ยงดู Rudolf มากกว่าที่เป็นอยู่
1
มกุฎราชกุมาร Rudolf ในวัยเด็ก (Source: Pinterest)
ต่อมาเมื่อ Rudolf อายุได้ 31 ปี กษัตริย์ Franz-Joseph และพระเจ้า Leopold ที่ 2 แห่งเบลเยี่ยมก็ได้ทำข้อตกลงกัน โดยทางพระเจ้า Leopold ที่ 2 ได้ส่งตัวบุตรสาวของตนเองนามว่า Stephanie น้องสาวของ Louise of Belgium ที่มีอายุเพียง 16 ปี เข้าสู่ประตูวิวาห์กับมกุฎราชกุมาร Rudolf