Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
โคลงชมวัดฝรั่ง(โรม)
•
ติดตาม
1 ส.ค. 2021 เวลา 13:20 • ศิลปะ & ออกแบบ
ตอนที่17.วาดทันที Pantheon หลุมศพของราฟาเอล 2.
XVII.Pantheon 3
1
.....ใน โรมมีสถาปัตยกรรมอยู่ไม่กี่แห่งที่มีพลังกลิ่นอายหรือเสน่ห์ของสถานที่ ที่จะทำให้ผมสามารถเข้าไปดูเป็นครั้งที่สองที่สามฯได้โดยไม่เบื่อ โดยยิ่งดูยิ่งกระตือรือล้นอยากรู้อยากเห็นเพิ่มเติมและผมสัญญากับตัวเองว่ามาครั้งต่อไปจะซื้อไวด์แองเกิ้ลเพื่อมาถ่ายให้ได้ หลังจากครั้งแรกที่ถ่ายไปแล้วรู้สึกมีข้อจำกัดจากเลนซ์ระยะธรรมดาว่าถ่ายแล้วไม่พอกว้างสักที แต่ไวด์ที่กว้างแล้วก็ยังถ่ายไม่พอวงของโดม แม้มุมไวด์จะบิดเบือนแต่ก็สามารถทำให้สื่อถึงคนดูคนอ่านได้ว่า ที่นี่ยิ่งใหญ่ขนาดไหน รูปหลายรูปในครั้งที่สองหลังจากครั้งแรกสองปีมุมมองจึงดูบิดเบือนแปลกแยกออกไป
....
.....
....
...
มีคนว่าที่นี่บนพื้นที่ยอดโดมที่ให้อากาศผ่านเข้ามาฝนไม่ตกลงมาในพื้นที่เลย ครั้งนี้ผมคงต้องมาพิสูจน์ แต่ฝนทางนี้ยังไม่ตกสักทีจนอากาศเริ่มร้อน เท่าที่สอบถามคาดคั้นคนในพื้นที่บอกว่ามีเข้ามาบ้างแต่เป็นละอองปรายๆในช่วงที่ฝนตกใหญ่ ก็เลยยังไม่ได้พิสูจน์ด้วยตัวเองสักที
.....การหยิบยืมพลังของพระอาทิตย์(หรือพระจันทร์)เข้ามาในพื้นที่ของวิหารอาจจะเป็นมุมมองใหม่หรืออีกมุมมองหนึ่ง เพราะในส่วนอื่นก็ไม่มีช่องแสงจากหน้าต่างใดใดเลยนอกจากประตูที่ถูกทางเข้าบล๊อกแสงไป บ้านเราอาจจะคุ้นเคยกับวิธีคิดในสายจิตวิญญานของจีนหรือของอินเดียในการจัดวางผังสถาปัตยกรรม การกำหนดตำแหน่งต่างๆของตัวอาคาร วิธีคิดวิธีที่ซ่อนเหตุซ่อนผลกับการก่อสร้างไว้ในรูปแบบของความเชื่อที่ผูกโยงให้ต่อเนื่องกันต่อได้เป็นรุ่นๆไป ในสมัยก่อนแนวคิดของชนชาติต่างๆก็มีนัยยะเชิงเดียวกันทั้งสิ้น โรมันก็เช่นกัน ทิศของแกนแม่เหล็กเหนือใต้ก็ดี สัญลักษณ์ต่างๆที่เกี่ยวเนื่องและเชื่อมต่อจากสรวงสวรรค์ เทพ และถ่ายลงมาสัมพันธ์เชื่อมต่อกับผู้คนหรือมนุษย์ช่องแสงบนโดมพร้อมที่จะเป็นความคิดเชิงวิทยาศาสตร์ใหม่ ที่โรมันรับต่อเนื่องจากกรีกจากค่า PI ของกรีกหรือเป็นความคิดในเชิงเทพเจ้า ทั้งกรีกและอียิปต์ ช่องผ่านหรือประตูสวรรค์จุดเปลี่ยนผ่านพลังงาน ที่ผู้คนเชื่อมต่อสื่อสารกับเทพเจ้า เหล่านี้คงเป็นนามธรรมที่แทบไม่มีสัญชาติ สิ่งต่างๆล้วนเป็นความคิดและการสร้างขึ้นจากมนุษย์อันเดียวกันทั้งหมดกับเหล่าเทพเจ้ากระทั่งพระเจ้า
google earth
....
รูปปั้นและตำแหน่งหลุมศพของราฟาเอล
ราฟาเอล หน้าตายังหนุ่มอยู่เลยตามประวัติว่าเสียชีวิตเมื่ออายุ 37 ในวาติกันมีห้องที่ราฟาเอลเขียนรูปยังตั้งชื่อไว้ว่าเป็นห้องราฟาเอลก่อนเข้าไปยังโบสถ์น้อยซีสทีน นักเรียนศิลปะในโรมหมายเอาราฟาเอลเป็นอาจารย์ใหญ่ คงเหมือนที่เรามีภาพต่อเช่นอาจารย์ศิลป์ พีระศรี พอถึงวันที่ครบรอบ(ไม่แน่ใจว่าวันเกิดหรือเสียชีวิต)ของแกจะมีคนโดยเฉพาะอย่างยิ่งนักเรียนศิลปะเอาดอกไม้มาวางรำลึกถึงแก รูปด้านล่างผมพยายามวาดภายในวิหารที่ตรงนั้น จะตั้งใจหรือไม่ตั้งใจอย่างไรก็ตามก็เป็นการระลึกถึงครูศิลปะที่ยิ่งใหญ่แห่งยุค
....
ได้มาวาดต่อหน้าครูศิลปะที่ยิ่ฃงใหญ่แห่งยุค
แท่นบูชา
.....
......ฝั่งตรงข้ามกับหลุมศพราฟาเอล เป็นหลุมศพของพระเจ้าเอ็มมานูแอลที่2 ดูซิครับราฟาเอลยิ่งใหญ่ขนาดไหนที่หลุมศพประจัญและอยู่ในที่เดียวกับกษัตริย์ที่กอบกู้รวบรวมประเทศ
......แล้วผมก็ไปนั่งอยู่ที่ตรงหน้า แท่นพิธีซึ่งเป็นจุดเดียวที่มีที่นั่ง นั่กท่องเที่ยวหลายคนใช้เป็นที่นั่งพักและแหงนดูความยิ่งใหญ่และอัศจรรย์ในพื้นที่ แม้เดี๋ยวนี้ประสาทสัมผัสจะไม่แจ่มชัดเหมือนสมัยก่อน แต่ก็ยังสัมผัสได้ถึงความรู้สึกที่ผ่องใสสบายเมื่อนั่งอยู่ใต้โดมอันนี้ ผมนั่งอยู่หน้าสุดในเก้าอี้หน้าแท่นพิธี จนเวลาใกล้เที่ยง มีเจ้าหน้าที่มากั้นแนวใหม่และขอร้องให้คนออกจากบริเวณนั้นเพื่อเตรียมทำพิธีทางศาสนาในตอนเที่ยง
.......ตอนนั้นเริ่มลงสีไปกว่าครึ่งแล้ว และผมก็เอารูปมาเขียนต่อที่หน้ามหาวิหารดูก็ยังไม่ค่อยเสร็จดีเท่าไรนักและผมก็ไม่พยายามลงรายละเอียดต่อจากนั้นด้วยอยากจะเก็บ อารมณ์ในรูปไว้การลงสีหลายตำแหน่งใช้ความทรงจำที่ไม่นานนัก เขียนต่อที่หน้าวิหาร อารมณ์สดในรูปยังอยู่แม้ฝีมือเป็นรอง เท่านี้เอง เท่านี้ขอได้มาเขียนอยู่กลางมหาวิหารใหญ่กับพลังกว่าสองพันปีหลังนี้
ทราบว่ามีเพื่อนหลายคนถือหนังสือเรื่องนี้อยู่ Angles & Demons เวลาดูหนังทราบแต่พระเอกบอกว่ามาผิดที่แล้วจะต้องเป็นอีกที่หนึ่งซึ่งราฟาเอลออกแบบห้องสวดมนต์(น่าจะใช่น่ะ)ไว้ และนั่นคือหนึ่งใน สัญลักษณ์แรกในห้าสัญลักษณ์ของกรุงโรม "สัญลักษณ์แห่งดิน" ใครมีรายละเอียดเพิ่มเติมในหนังสือ Angles & Demons บอกหน่อยน่ะครับ
....
....
ขอบคุณรูปเขียนPantheonวสมัยโบราณจาก page capitolium
Le meraviglie di Giovanni Paolo Pannini: Interno del #Pantheon, 1732. Collezione privata.
https://www.instagram.com/capitolivm/
โคลงชมวัด
ทางแก้ว
กลางเดือนมิถุนายน ๒๕๕๖
บันทึก
1
1
1
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
โคลงชมวัดในโรม
1
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย