19 พ.ค. 2021 เวลา 14:33 • ปรัชญา
จิตพรากออกจากขันธ์ ...
หลวงพ่อปราโมทย์ :
วันนี้ค่อยน้อยหน่อย
วันนี้ดูน้อยกว่าเมื่อวาน ค่อยยังชั่ว
เรียนทุกวันจะเรียนอะไร เรียนของเราเองนะ
ได้หลักแล้วก็ต้องไปดูเอาเอง
จริง ๆ แล้วการปฎิบัติก็มีแค่สติปัฏฐาน
ฝึกอยู่แค่นั้นแหละ นะ
สติปัฏฐาน คือ มีสติ รู้รูปนาม รู้กาย รู้ใจ
ด้วยจิตใจที่มีสัมมาสมาธิ ตั้งมั่น เป็นกลาง
เบื้องต้นรู้เพื่อให้เกิดสติ เบื้องปลายรู้ให้เกิดปัญญา
อันนี้พูดให้ฟังทุกวัน
ความจริงสติปัฏฐานยังมีนัยยะอื่น ๆ อีก
อย่างในพระสุตันตปฎิก เล่มสิบเอ็ด
พระไตรปิฎกเล่มสิบเก้า
มีพระสูตรอยู่อันหนึ่ง ชื่อโกสลสูตร
โกสลสูตร พระพุทธเจ้าสอนสติปัฏฐานอย่างย่อๆ
แต่สำนวนที่สอนนี้แปลกไป
ท่านบอกว่ามีกายในกายเป็นวิหารธรรม
มีความเพียรแผดเผากิเลส มีความรู้สึกตัว
มีธรรมเอก มีธรรมเอกคือสัมมาสมาธินั่นเอง
ใจที่ตั้งมั่นขึ้นมา มีสติอยู่ แล้วมีธรรมเอก
การเจริญสติปัฏฐานเนี่ย
มีการเจริญสติปัฏฐานของคนสามกลุ่ม
ทำไม่เหมือนกัน
ปุถุชนเนี่ย ทำสติปัฏฐานอย่างหนึ่ง
พระเสขบุคคลทำอย่างหนึ่ง
พระเสขะหมายถึงพระโสดา พระสกิทาคา พระอนาคา ทำสติปัฏฐานอีกอย่างหนึ่ง
พระอรหันต์ก็ทำสติปัฏฐานอีกอย่างหนึ่ง ไม่เหมือนกัน
ปุถุชนเนี่ย ทำสติปัฏฐาน
เพื่อให้รู้กายรู้ใจตามความเป็นจริง
ความเป็นจริงของมันคือไม่มีตัวเรา
พอเห็นแล้วว่าทั้งกายทั้งใจไม่ใช่ตัวเรา
ก็เป็นพระโสดาบัน
การทำสติปัฏฐานถัดจากนั้นเนี่ย
ไม่ใช่เพื่อให้เห็นว่ากายกับใจไม่ใช่เรา
แต่เพื่อให้รู้ รู้กายรู้ใจลงไปเพื่อให้เห็นอะไร
ให้เห็นทุกข์นั่นเอง
เพราะฉะนั้น พระเสขบุคคลเนี่ย
ยังมารู้กายรู้ใจซึ่งเห็นอยู่แล้วว่าไม่ใช่ตัวเรา
แต่เห็นลงไปเพื่อให้เห็นว่ามันเป็นทุกข์
มันทุกข์เพราะไม่เที่ยง
มันทุกข์เพราะว่าถูกบีบคั้น เป็นทุกขัง
ทุกข์เพราะว่าเป็นอนัตตา
ส่วนพระอรหันต์นะ ทำสติปัฏฐานเหมือนกัน
ท่านก็รู้กายรู้ใจ แต่ไม่ได้ทำเพื่ออะไร
ท่านบอกว่ามีกายในกาย เวทนาในเวทนา
จิตในจิต ธรรมในธรรม นะ เป็นวิหารธรรม
มีความเพียรอยู่ นะ ตามรู้ตามดูกายอยู่
มีธรรมเอก มีธรรมเอกเหมือนกันนะ
แต่ไม่ได้ทำเพื่ออะไร
วรรคสุดท้ายไม่ใช่เพื่อให้เกิดญาณทัสนะ
เพื่อให้เห็นแจ้งอะไร แต่ว่าทำไปอย่างนั้นแหละ
1
จิตมันพรากออกจากขันธ์ มันพรากออกจากขันธ์
รู้กายในกาย จิตก็พรากออกจากกาย
รู้เวทนาในเวทนา จิตก็พรากจากเวทนา
รู้จิตในจิต จิตก็พรากจากจิต
รู้ธรรมในธรรมนะ จิตก็พรากออกจากธรรม
เพราะฉะนั้นเมื่อเราภาวนาไปจนถึงจุดสุดท้ายเนี่ย
จิตเราจะพรากออกจากขันธ์
มันแยกออกจากขันธ์
ขันธ์ก็ทำหน้าที่ของขันธ์ ไม่ใช่ไม่มีขันธ์
ขันธ์ก็มีอยู่ ขันธ์เป็นวิบากไม่มีใครทำลายได้
เพราะฉะนั้น ขันธ์ยังมีอยู่นะ
แต่ว่าจิตพรากจากขันธ์
พวกเราตอนนี้จิตไม่พรากจากขันธ์
แต่จิตคลุกอยู่กับขันธ์
ตะลุมบอนอยู่กับขันธ์อยู่ตลอดเวลา
1
พอมาหัดรู้สึกตัว ก็รู้สึกมันแยก ๆ ออกมา
แยกออกจากขันธ์ได้นิด ๆ หน่อย ๆ นะ
เดี๋ยวก็เข้าไปรวมอีกละ
ทำไมหวงแหนขันธ์มาก
เพราะว่าเห็นว่าขันธ์เป็นตัวเรา
ทีนี้ภาวนามากเข้า มากเข้า เห็นว่าขันธ์ไม่ใช่เรา นะ
แต่ขันธ์นี้ยังนำความสุขมาให้ได้
ขันธ์ไม่ใช่ตัวเราแต่ยังนำความสุขมาให้ได้
เพราะฉะนั้นทำสติปัฏฐานต่อไปอีกเห็นว่าขันธ์นั่นแหละเป็นตัวทุกข์ ไม่ใช่ขันธ์นำความสุขมาให้
ถ้าเห็นขันธ์ยังนำความสุขมาให้ได้ ก็ยังไม่วางขันธ์
ไม่พรากออกจากขันธ์ ยังชื่นชมในขันธ์
เกาะเกี่ยวอยู่ในขันธ์
ตราบใดจิตยังเกาะเกี่ยวอยู่ในขันธ์
ภพชาติจะไม่สิ้นสุดลง
เพราะแสวงหาภพชาติก็เพราะว่ารักขันธ์นั่นแหละ
มีภพมีชาติขึ้นมาก็เพราะมีขันธ์ขึ้นมา
ปัญญาแจ่มแจ้ง ขันธ์นี้เป็นทุกข์ ก็จะวางขันธ์
หลังจากนั้นทำสติปัฏฐานมั้ย ก็ทำ
ทำไมต้องทำ ทำเล่น ๆ ไปอย่างนั้นแหละ
เพราะว่าสติมันอัตโนมัติ
มันก็รู้กายรู้ใจของมันเองทั้งวัน
แต่รู้ไปอย่างนั้นเอง
จิตกับขันธ์มันพรากออกจากกันแล้ว
เพราะฉะนั้นขันธ์ซึ่งเป็นตัวทุกข์
ขันธ์ซึ่งเป็นตัวแปรปรวนนะ ก็ทำหน้าที่ของขันธ์ไป
เป็นทุกข์ไป แปรปรวนไป
1
แต่จิตที่ฝึกดีแล้ว ไม่ทุกข์ไปกับขันธ์
ก็ดำรงชีวิตไปจนกระทั่งวิบากหมด
วิบากหมดก็คือขันธ์มันแตก
ขันธ์นั้นเป็นส่วนของวิบากนะ
เกิดมาด้วยวิบาก ขันธ์มันแตกสลายไป
จิตไม่ไปสร้างภพใหม่ขึ้นมา
เพราะฉะนั้นเราค่อยฝึกนะ ฝึกไปเรื่อย ๆ
สังเกตกายสังเกตใจ รู้กายรู้ใจไป…
CD ศาลาลุงชิน ๒๕
File ๕๑๐๔๑๕a
Time: นาทีที่๐ วินาทีที่ ๐ ถึง นาทีที่ ๖ วินาทีที่ ๘
อ้างอิง โกสลสูตร (จาก larndham.net)
อ้างอิง โกสลสูตร (จาก 8400.org)
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ พระสุตันตปิฎกเล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค สติปัฏฐานสังยุตต์ อัมพปาลีวรรค
ขอบคุณรูปภาพจาก : Unsplash

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา