ภาพจากต้นฉบับที่ Records of the relations between Siam and foreign countries in the 17th century, vol 1: 1607-1632 (หน้า 160) ในเวบไซต์ https://archive.org/details/in.gov.ignca.10644/page/n188/mode/1up
แผนที่ของเนเธอร์แลนด์ แสดงกรุงศรีอยุธยา (ทับศัพท์ด้วยภาษาดัตช์ในสมัยนั้นว่า iudia) ช่วง ค.ศ.1650 กับตำแหน่งสถานีการค้าของดัตช์พร้อมที่พักอาศัย เรียกว่า "De logie" ในภาษาดัตช์ (The lodge ในภาษาอังกฤษ) ในแผนที่นี้จึงใช้คำว่า "Hollandze logie" (ที่พักอาศัยของชาวดัตช์) ขณะที่ฝั่งตรงข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาทางใต้ของกรุงศรีอยุธยา มีคำภาษาดัตช์เขียนกำกับตัวเล็ก ๆ ว่า "Portugeezer Quartier" (พื้นที่ของชาวโปรตุเกส) แสดงตำแหน่งชุมชนชาวโปรตุเกส แผนที่นี้มาจากเอกสาร Gijsbert Heecq, Journael ofte Dagelijcxsz Aenteijkeninghe wegen de Notabelste Geschiedeniszen voorgevallen en gepasseert op de derde Voyagie van Gijsbert Heecq naer Oost-Indijen (Journal kept by Gijsbert Heecq on his third voyage to the East Indies), 1654-55. เก็บรักษาที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติเนเธอร์แลนด์ (Dutch National Archives) กรุงเฮก
สำหรับเนื้อความที่กล่าวถึงการแปลภาษาในรูปแบบ “ภาษาไทย-ภาษาโปรตุเกส-ภาษาดัตช์” ระหว่างพ่อค้าชาวดัตช์กับราชสำนักอยุธยา สามารถดูได้ในช่วงท้ายหน้า 42 ของบทความวิชาการเรื่อง De Merees and Schouten visit the court of King Songtham, 1628 โดย Barend J. Terwiel, University of Hamburg ดาวน์โหลดได้จากเวบไซต์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/pub_jss/article/download/186843/167659/
ส่วนหัวของหนังสือสนธิสัญญาไมตรีและพาณิชย์ ค.ศ.1833 ระหว่างสยามกับสหรัฐฯ เรียงจากซ้ายมาขวาเป็นภาษาไทย ภาษาโปรตุเกส ภาษาจีน และภาษาอังกฤษ โดยส่วนของภาษาโปรตุเกสเขียนว่า Tractado de Amizade e Commercio entre Sua Magestade o Magnífico Rey De Siam e os Estados Unidos da América แปลว่า “สนธิสัญญาไมตรีและพาณิชย์ระหว่างกษัตริย์สยามและสหรัฐอเมริกา” ซึ่งคำบางคำเป็นคำภาษาโปรตุเกสแบบเก่าที่ไม่ใช้แล้วในปัจจุบัน (คำสีเขียวในรูป) และคำเรียกภาษาไทยของ “สหรัฐอเมริกา” ในสนธิสัญญาฉบับนี้ เรียกเป็น “อิศตาโดอุนิโดดาอะเมริกะ” ที่ทับศัพท์มาจากภาษาโปรตุเกสอีกที