13 มิ.ย. 2021 เวลา 03:57 • หนังสือ
✴️ บทที่ 1️⃣ ความท้อแท้ของอรชุน (ตอนที่ 25) ✴️
🌸 “กองทัพฝ่ายจิตวิญญาณ” กับ “กองทัพฝ่ายวัตถุ” 🌸
⚜️ โศลก 8️⃣ ⚜️ (ตอนที่ 5)
หน้า 93 – 94
5️⃣ #ชยัทรถ_ความโน้มเอียงที่จะผูกพันอยู่กับกาย (อภินิเวศ)
อุปมานามนี้มีที่มาจากศัพทวิเคราะห์ว่า รมิตวา อนุรกขโต ภูตวา ชยติ อุตกรสตรูเปน ติสถาติ อิติ — “ผู้ชนะด้วยการยึดมั่นชีวิตอย่างยิ่ง – การยึดมั่นกับ การดำรงอยู่อย่างสืบเนื่องของกาย”
ชยท (มาจาก ชยต) หมายถึง การพิชิต รถะ หมายถึง รถ ในที่นี้คือ กาย 'ชยัทรถ' #เป็นตัวแทนของการยึดมั่นกายอย่างเหนียวแน่น #และการยึดมั่นนี้พยายามที่จะเอาชนะศรัทธาของผู้ภักดีที่มุ่งสู่การหยั่งรู้ตน #ด้วยการทำให้เขายึดอยู่กับจิตอันไม่เที่ยง — #การยึดมั่นชีวิตนี้ประณีตกว่าการยึดวัตถุหรือยึดบุคคล #เพราะแม้มันจะถูกเผาด้วยไฟแห่งปัญญา_แต่การยึดมั่นกายอย่างเหนียวแน่นยังคงอยู่
ท่านสวามีศรียุกเตศวร คุรุเทพของข้าพเจ้า มักอธิบาย “ความรักอย่างดื้อรั้นที่มนุษย์มีต่อกายอันไม่เที่ยงของตน” อย่างทำให้เห็นภาพได้ว่า “เหมือนนกที่ถูกขังอยู่ในกรงมานาน #พอเขาปล่อยให้เป็นอิสระ_มันกลับกลัวอิสรภาพนั้น #และไม่เต็มใจที่จะออกไปจากกรงขัง มนุษย์ก็เช่นกัน แม้ผู้ที่มีปัญญามากเมื่อตอนจะตายก็ยังหลงกาย”
2
นักจิตวิทยาชาวตะวันตกเรียกพลังน่าครั่นคร้ามนี้ว่า “ความปรารถนาที่จะรักษาตน” และตั้งข้อสังเกตว่า 'นี่เป็นแรงขับทรงพลังที่สุดในมนุษย์' — #มันไม่แค่แสดงตนในลักษณะการกลัวตายเท่านั้น #แต่ยังทำให้มนุษย์เกิดลักษณะและการกระทำอันไม่เที่ยงแท้ #ที่ขัดกับธรรมชาติแห่งตัวตนที่แท้หรือวิญญาณ_ซึ่งเป็นสิ่งนิรันดร์ เช่น 'ความเห็นแก่ตัว' 'ความโลภ' 'ความอยากสะสมครอบครองทรัพย์สินบนโลก' ราวกับว่านั่นคือบ้านนิรันดร์ของเขา
1
ชยัทรถ จึงเป็นตัวแทนของการยึดกายอย่างเหนียวแน่น ซึ่งสอดคล้องกับกิเลสตัวที่ห้าของปตัญชลี 'อภินิเวสะ' ดังที่ โยคะสูตร 2:9 กล่าวว่า “การยึดชีวิตไว้อย่างเหนียวแน่น อันเป็นผลจากการยึดกายนั้น มันก็ยังแพร่ไปแม้ในผู้มีปัญญา (#เนื่องจากความจำอันซับซ้อนถึงประสบการณ์การตายที่เกิดซ้ำๆในชาติก่อนๆ) นั่นคือ อภินิเวสะ”
(มีต่อ)

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา