Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
คีตาแห่งสยาม
•
ติดตาม
27 มิ.ย. 2021 เวลา 02:33 • หนังสือ
✴️ บทที่ 1️⃣ ความท้อแท้ของอรชุน (ตอนที่ 26) ✴️
🌸 “กองทัพฝ่ายจิตวิญญาณ” กับ “กองทัพฝ่ายวัตถุ” 🌸
⚜️ โศลก 8️⃣ ⚜️ (ตอนที่ 6)
หน้า 94 – 95
6️⃣ บุตรของโสมทัต ในที่นี้ คือ #ภูริษรวาส_การกระทำทางกาย (กรรม)
นาม ภูริษรวาส หมายถึง “บ่อย ๆ หรือ ทำซ้ำ ๆ” (ภูริ กับ “แม่น้ำ ไหล” (ษรวาส) อุปมานามนี้มีที่มาจากศัพท์วิเคราะห์ว่า ภูรี พหุลัง สรวัง กศรนัง ยห สห อิติ — “ที่ไหลซ้ำ และหายไปบ่อย ๆ”
สิ่งซึ่งหายไปบ่อย ๆ แล้วกลับมาเกิดซ้ำ ๆ เพื่อทำให้เกิดความต่อเนื่อง เช่นเดียวกับ #น้ำในแม่น้ำที่ไหลไปอย่างต่อเนื่อง_เพราะน้ำใหม่ไหลตามน้ำเก่าที่ผ่านไปแล้ว #ซึ่งเปรียบได้กับการกระทำของมนุษย์กับผลที่เกิดจากการกระทำนั้น ภูริษรวาสจึงเป็นตัวแทนของกรรม อุปสรรคตัวที่หกในรายการของ ปตัญชลี ในโยคะสูตร 1:24 ที่ได้กล่าวมาก่อนแล้ว
#กรรมในที่นี้หมายถึงการกระทำ_ซึ่งเกิดจากความใคร่ในอหังการ_จึงเกิดเป็นกฎของเหตุและผล การกระทำส่งผลผูกพันต่อผู้กระทำ จนกว่าเหตุจะถูกชดใช้ด้วยผลที่เหมาะสม และผลนั้นอาจเกิดทันที หรือเกิดข้ามภพข้ามชาติก็ได้ แม้ไม่ตรงตามตัวอักษรเสมอไป แต่ผลนั้นจะต้องเกิดอย่างที่พระคัมภีร์เก่ากล่าวไว้ว่า “ตาต่อตา ฟันต่อฟัน”
เงื่อนไขและสภาพการณ์ปัจจุบันของคนเราเกิดจากกระแสเจตจำนงแห่งการกระทำและผลกรรมที่สั่งสมมาแต่อดีต เหตุทั้งหลายจึงมักถูกลืมหรือเสมือนว่าขาดความสัมพันธ์กับผล มนุษย์จึงโอดครวญถึงความทุกข์ของตนในชาตินี้ว่าเป็นเคราะห์กรรม ความโชคร้าย และความอยุติธรรม
การเรียนรู้และพยายามปูทางสร้างสรรค์สู่จิตวิญญาณ อาจทำให้กรรมในอดีตลบล้างไปได้ กระนั้นการกระทำในปัจจุบันยังจะต้องถูกชักนำโดยญาณปัญญา ไม่ติดอยู่กับอนุสัยเดิม ๆ กรรมใหม่จึงจะทดแทนกรรมเก่าที่ต้องชดใช้ได้ ดังนั้น ตราบที่ผลกรรมทั้งในอดีตและปัจจุบันไม่ถูกลบล้างไปด้วยญาณปัญญา ก็เป็นไปไม่ได้ที่จะเข้าถึงอิสรภาพที่แท้จริง
ปตัญชลีระบุว่า 'กรรม' หรือ 'การกระทำ' มี 4️⃣ ประเภท ดังปรากฏใน โยคะสูตร 4:7 “#กรรมของโยคีไม่ขาวไม่ดำ #แต่สำหรับผู้อื่นนั้น_กรรมมีสามประเภท (ขาว ดำ หรือ ขาวกับดำปนกันไป)”
1️⃣ การกระทำของคนชั่วเป็น 'กรรมดำ' ที่จะนำเขาไปสู่หายนะ 2️⃣ การกระทำของคนทั่วๆไปในโลกเป็น 'กรรมผสมที่มีทั้งดีและเลว' ซึ่งจะผูกพันเขาให้ได้รับผลไปตามกรรมนั้นๆ 3️⃣ การกระทำของมนุษย์ฝ่ายจิตวิญญาณเป็น 'กรรมบริสุทธิ์' (ขาว) ซึ่งจะส่งผลดี นำเขาไปสู่อิสรภาพ แต่แม้กรรมดีก็ย่อมมีผลผูกพัน 4️⃣ การงานของโยคีที่มุ่งสู่การหยั่งรู้ตน หรืออุตมญาณ จะไม่ทิ้งอนุสัยใดๆไว้ 'ไม่มีดีชั่ว' ผูกพันท่าน
'ภูริษรวาส' หรือ #การกระทำตามอหังการจะส่งผลผูกพัน_เพราะมันเกิดจากความใคร่ในอหังการ — #จึงเป็นสิ่งที่โยคีผู้มีศรัทธามั่นคงต้องพิชิตให้ได้
➖➖➖
7️⃣ #โทรณ (โศลกนี้เรียก ภวัน “ท่าน”) – #นิสัยเคยชิน_หรือ_สังสการ, #ความโน้มเอียงในจิต (วิบาก)
อุปมานามนี้มีที่มาจากศัพท์วิเคราะห์ว่า กรมนัง ทรวีภานัง วิปากัง อิติ — “ผลแห่งการกระทำ (กรรม) ที่ซ่อนอยู่ภายใน (ในที่นี้ คืออยู่ในภาวะที่ละเอียด หรือ ละลาย)”
ความสำคัญเชิงอุปมาของโทรณปรากฏอยู่ในโศลกที่สอง เขาเป็นตัวแทนของนิสัยที่เคยชิน หรือพูดให้ชัด ๆ ก็คือ 'สังสการ' หรือ #อารมณ์ของจิตที่เกิดจากความคิดและการกระทำในอดีต #ซึ่งผลักให้เกิดความโน้มเอียงที่จะกระทำสิ่งนั้นซ้ำๆๆ
นามโทรณนี้ มาจากรากศัพท์ภาษาสันสกฤต ทรุซึ่งให้นัยว่าอยู่ในภาวะละลาย นั่นก็คือ การกระทำในอดีตยังอยู่ในรูปของอารมณ์ที่ละเอียดหรือละลายอยู่ หรือ สังสาระ เราจึงเห็นความสัมพันธ์ระหว่าง 'โทรณ' กับ 'วิบาก' ของปตัญชลี
คำ วิบาก มาจาก วิ-ปาจ ซึ่งให้ความหมายถึง “การออกผล พัฒนาให้เกิดผล” กับ “ละลาย, กลายเป็นน้ำ” สังสการ หรือ อารมณ์ของการกระทำในอดีตในสภาพละเอียด หรือ ละลาย เมื่อมีเงื่อนไขที่เหมาะสม ในที่สุดแล้วมันจะเกิดผล ซึ่งก็คือผลแห่งการกระทำเหล่านั้น
โยคะสูตร 2:12-13 กล่าวว่า “#อารมณ์แห่งการกระทำมีรากหรือเหตุอยู่ที่กิเลส (อุปสรรคทั้งห้า ดังที่ได้บรรยายมาแล้ว) และประสบได้ในการเห็น (สำแดงในชีวิตปัจจุบัน) หรือที่ไม่เห็น (ยังกึ่งหลับกึ่งตื่นรอเงื่อนไขที่เหมาะสม ส่วนมากมักจะยาวไกลไปถึงชาติหน้า หรือชาติต่อๆไป) การเกิดใหม่ของชีวิต การจะเกิดเป็นคนประเภทใด สุขภาพ ความสดชื่นแห่งชีวิต ความสุข และความเศร้า ล้วนถูกกำหนดโดยรากหรือเหตุเหล่านี้”
(มีต่อ)
บันทึก
1
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ภควัทคีตา เล่ม 1 บทที่ 1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย