Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
คีตาแห่งสยาม
•
ติดตาม
28 มิ.ย. 2021 เวลา 03:03 • หนังสือ
✴️ บทที่ 1️⃣ ความท้อแท้ของอรชุน (ตอนที่ 27) ✴️
🌸 “กองทัพฝ่ายจิตวิญญาณ” กับ “กองทัพฝ่ายวัตถุ” 🌸
⚜️ โศลก 8️⃣ ⚜️ (ตอนที่ 7)
หน้า 95 – 97
8️⃣ #อัศวัตถามัน_ความใคร่ที่แฝงอยู่ (อาศยะ)
อุปมานามนี้มีที่มาจากศัพท์วิเคราะห์ว่า อศนุวัง สญจยัง ติสถาติ อิติ — “สิ่งที่ยังคงรักษาไว้หรือเก็บอยู่” ความหมายเปรียบเทียบของนามอัศวัตถามัน พบในรากศัพท์สันสกฤตที่สำคัญ ซึ่งเป็นที่มาของนามนี้ คือ อาส-วะ ซึ่งหมายความว่า “เก็บ หรือ รักษาไว้” กับ ถามาน (จากราก สถา) “คงอยู่ หรือ ดำเนินไปในสภาพนั้นๆ” และ “ดำเนินไป หรือ ดำรงอยู่ (ตรงข้ามกับ “ตาย”)”
#สิ่งซึ่งสั่งสมไว้และดำรงอยู่อย่างไม่เปลี่ยนแปลง_และไม่สลายไปกับความตาย นั่นก็คือ #ความใคร่ นั่นเอง ซึ่งตรงกับ อาศยะ (จาก อา-ษา) ของปตัญชลี ถ้าจะพูดให้เจาะจงก็คือ #ความปรารถนาที่แฝงอยู่_หรือ_รากของความใคร่
'วาสนา' หรือ 'อารมณ์ความใคร่ในจิต' โยคะสูตร 4:10 กล่าวไว้ว่า “#ความปรารถนานี้เป็นนิรันดรเหตุของการสร้างสรรค์ของธรรมชาติ” #เป็นเหตุสากลของทุกสิ่งที่ดำรงอยู่นับแต่ปฐมกาล
คัมภีร์ฮินดูกล่าวว่า : #เพราะความปรารถนาที่ไร้ปรารถนาแห่งบรมวิญญาณ #ที่จะชื่นชมธรรมชาติเดียวในรูปแบบที่หลากหลาย #จึงทำให้เกิดละครฝันแห่งจักรวาลขึ้นมา อารมณ์ที่ต้องการดำรงอยู่และชื่นชมประสบการณ์แห่งการดำรงนี้ เป็นส่วนหนึ่งของแก่นแกนความเป็นปัจเจก (ชีวาตมัน) ในหลากหลายรูปแบบแห่งบรมวิญญาณนี้
#ความปรารถนาจึงเป็นกฎพื้นฐานที่ให้ความมั่นใจว่าการสร้างยังดำเนินต่อไป มนุษย์ฝันถึงความปรารถนาของตนในท่ามกลางการหลับ ๆ ตื่น ๆ ขององค์นักฝันแห่งจักรวาล อวิชชาทำให้เกิดอหังการ อหังการทำให้เกิดความรู้สึกหรือความอยาก และเมื่อรวมกับอินทรีย์และอายตนะภายนอก-ภายใน ก็ย่อมเกิดวิธีที่จะหาความเพลิดเพลิน ซึ่งนำไปสู่การกระทำที่ดีหรือชั่ว และผลที่เกิดขึ้นหรือวิบาก ซึ่งจะนำไปสู่เหตุและผลใหม่ๆจากชาตินี้ไปถึงชาติหน้าในวงจรการเกิดแห่งชีวิต ตราบใดที่ความปรารถนานี้ยังไม่หมด การเกิดใหม่ก็ไม่มีวันจบสิ้นเช่นกัน
ในมนุษย์นั้น เมล็ดพันธุ์ความปรารถนาหรือ ความใคร่ที่แฝงอยู่ (อัศวัตถามัน) แตกต่างจากความใคร่อย่างมีแรงกระตุ้น (ทุรโยธน์) มีความแตกต่างอย่างมากระหว่างสองสิ่งนี้ 'ความใคร่ที่มีแรงกระตุ้น' คือ #แรงขับของจิตที่ทำให้เกิดความอยากอย่างไม่สนใจอะไรทั้งสิ้น เจตสิกนี้ไม่มีรากอยู่ในจิตใต้สำนึก เมื่อแรงกระตุ้นนี้เกิดขึ้นในจิตของผู้ใด จิตไม่มีอำนาจเพียงพอที่จะยับยั้งหรือกดมันได้โดยง่าย
#ความอยากทุกอย่างไม่ว่าเราจะทำตามความอยากนั้นหรือไม่_จะนำไปสู่ความอยากใหม่ๆเสมอ #ความอยากที่จะสนองอหังการนี้จะไม่หยุด_แม้มันได้สนองความพอใจแล้วก็ตาม #ความสำเร็จทั้งหลายในโลก_หรือการได้ครอบครองวัตถุทางโลก #ก็ยังให้ความรู้สึกว่าบางสิ่งบางอย่างยังขาดอยู่
เมล็ดพันธุ์ความปรารถนาเกิดจากอหังการความใคร่นี้เอง ความใคร่ที่ไม่ได้รับการตอบสนอง ถ้าไม่ถูกย่างด้วยญาณปัญญาก็จะสร้างเมล็ดพันธุ์ความอยากใหม่ๆในจิต เมล็ดพันธุ์ความอยากนี้มีอำนาจยิ่งกว่าความอยากอย่างบุ่มบ่าม เพราะมันฝังรากลึกอยู่ในจิตใต้สำนึก พร้อมที่จะแตกหน่อทันทีที่ได้รับคำสั่ง ซึ่งบ่อยๆมักเป็นคำสั่งที่ไม่มีเหตุผล น่าอึดอัดขัดใจ และนำไปสู่ความทุกข์ เมื่อความอยากก่อให้เกิดความอยากต่อๆไป #หนทางเดียวที่จะตัดวงจรนี้ก็คือ_ทำลายเหตุของมัน
เมื่อสงครามมหาภารตะยุติแล้ว หลังจากฝ่ายปาณฑพพิชิตฝ่ายเการพได้ เราพบว่า อัศวัตถามัน ยังมีชีวิตอยู่ แต่ก็ไร้อำนาจ และถูกโชคชะตากำหนดให้สัญจรคนเดียวไปในโลก สัญจรอย่างไร้เพื่อนตลอดไป #เมื่อโยคีบรรลุโมกษะแล้วตั้งมั่นอยู่ในทิพยจิตวิญญาณ ความ “ปรารถนา” ของท่านก็เหมือนกับ #ความปรารถนาที่ไร้ปรารถนาแห่งบรมวิญญาณ #มันไม่มีอำนาจหรือความสามารถที่จะผูกมัดหรือเอาชนะอาตมัน (วิญญาณ) ได้
#การทำลายเหตุแห่งพันธนาการ – #ความใคร่ในกาม_อหังการ_นิสัยที่เคยชิน_การติดยึด_และอื่นๆ — #เหล่านี้คือเป้าโจมตีของโยคีผู้ภักดี เมื่อท่านใช้ กองทัพแห่งญาณปัญญาและอำนาจวิญญาณต่อสู้กับอำนาจชั่วร้ายของฝ่ายเการพ
(จบโศลก 8)(มีต่อ)
บันทึก
1
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ภควัทคีตา เล่ม 1 บทที่ 1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย