11 ก.ค. 2021 เวลา 03:36 • หนังสือ
✴️ บทที่ 1️⃣ ความท้อแท้ของอรชุน (ตอนที่ 28) ✴️
🌸 “กองทัพฝ่ายจิตวิญญาณ” กับ “กองทัพฝ่ายวัตถุ” 🌸
⚜️ โศลก 9️⃣ ⚜️ (ตอนที่ 1)
หน้า 97 – 98
โศลกที่ 9️⃣
และยังมีนักรบอื่น ๆ อีกหลายท่าน ผู้ล้วนชาญสนาม พร้อมสรรพศัสตราวุธมาพร้อมกัน ณ ที่นี้ ยอมสละชีพเพื่อข้าพเจ้า
“#นักรบผู้กล้าฝ่ายกิเลสมากหน้าหลายตา ผู้ล้วนเชี่ยวชาญการศึกในจิตใจและจิตวิญญาณ ที่จะต่อต้านฝ่ายความดี ทุกคนต่างข้องอยู่ในอาณาจักรกาย มีศัสตราคือความเย้ายวนทางผัสสอินทรีย์ พร้อมจะใช้ความกล้าสามารถต่อสู้เพื่อข้าพเจ้า (กิเลสราชา)”
กองทัพอันเกรียงไกรของฝ่ายเการพระดมพลจากทายาททั้งหนึ่งร้อยของธฤตราษฎร์ (ลักษณะสิบประการของนิสัยใฝ่กาม – ญาเณนทรีย์ห้า กับ กรรเมนทรีย์ห้าของมนินทรีย์ที่มืดบอด) รวมกันเป็นกองทัพที่จงรักภักดี (ความเย้ายวนอย่างไม่จำกัดของอินทรีย์) กับพันธมิตรเการพผู้ชำนาญการยุทธ์ ซึ่งมีอำนาจในการขัดขวางและทำลาย (สิ่งสำคัญซึ่งทุรโยธน์ได้แถลงไว้ในโศลกที่ 8)
ตอนนี้จึงต้องพูดถึงการจัดหมวดหมู่กองกำลังของฝ่ายเการพด้วย แม้ผู้อ่านอาจไม่อยากงุนงงกับ อีก “รายการ” ที่เพิ่มเข้ามา แต่ก็ควรต้องเข้าถึงความคิดของฤษีทั้งยุคเก่าและยุคใหม่ ที่เข้าใจว่าโยคะเป็นศาสตร์ที่ต้องอาศัยการนิยามที่แน่ชัด
เช่นเดียวกับนักวิทยาศาสตร์ที่ต้องหาความสัมพันธ์ระหว่างพลังกับทฤษฎี ในความพยายามที่จะนิยามสิ่งนั้น ๆ ฤษีจึงต้องจัดแบ่งหลักการทั้งหลายที่สัมพันธ์กัน เพื่อให้ได้ผลนั้น ๆ เป็นการเฉพาะ ในเมื่อแต่ละส่วนก็คือส่วนหนึ่งของทั้งหมด จึงหนีไม่พ้นที่แนวคิดที่นำมาพิจารณาอาจมีความหมายคร่อมกันอยู่หรือมีความแตกต่างกันอยู่บ้าง
◾#โทษหกประการของวัตถุอหังการ◾
เมื่ออหังการหรือ “ฉัน" เข้าข้างพลังวัตถุแห่งการสร้าง ว่ากันว่า จะมีโทษหกประการเกิดขึ้น 1️⃣ กาม (ความใคร่) 2️⃣ โกรธ (โทสะ) 3️⃣ โลภ (โลภะ) 4️⃣ หลง (โมหะ) 5️⃣ มท (ความหยิ่ง) 6️⃣ มัตสรย (ความริษยา) #ต่อเมื่อมนุษย์กำจัดโทษทั้งหกนี้ได้แล้วเท่านั้น_เขาจึงจะรู้ธรรมชาติที่แท้จริงของวิญญาณตน
ศัตรูเหล่านี้จะช่วยให้เข้าใจธรรมชาติของฝ่ายเการพบางคนซึ่งได้เอ่ยถึงมาแล้ว และยังจะรู้จักนักรบคนอื่น ๆ ที่มีบทบาทสำคัญในการศึกกุรุเกษตร ตามที่มหาภารตะได้ยกมาเปรียบเทียบสั่งสอน นักรบเหล่านี้อาจไม่มีชื่ออยู่ในคีตา แต่ข้าพเจ้าจะพูดถึงลักษณะที่พวกเขาเป็นตัวแทน เช่น บทที่ 16:7-24 ได้ให้นิยามของคนที่มีนิสัย “มาร” หรือเน้นที่ตัวตนที่สอดคล้องกับข้อบกพร่องหกประการของอหังการ★
★ดูหน้า 1035 เป็นต้นไป
💢ดังนั้น ในความอ่อนแอของมนุษย์ จะมีตราของอหังการซ่อนอยู่ ในเมื่ออหังการรักวัตถุและรักรูปลักษณ์อย่างคับแคบ จิตที่ถูกฝึกในลักษณะนี้จึงได้รับแต่สิ่งคับแคบเห็นแก่ตัว ซึ่งให้โทษแก่จิตมนุษย์💢
(มีต่อ)

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา