Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
คีตาแห่งสยาม
•
ติดตาม
12 ก.ค. 2021 เวลา 03:43 • หนังสือ
✴️ บทที่ 1️⃣ ความท้อแท้ของอรชุน (ตอนที่ 29) ✴️
🌸 “กองทัพฝ่ายจิตวิญญาณ” กับ “กองทัพฝ่ายวัตถุ” 🌸
⚜️ โศลก 9️⃣ ⚜️ (ตอนที่ 2)
หน้า 98 – 100
1️⃣ #กาม (ความใคร่)
#ภายใต้หน้ากากหรือในนามของการเติมเต็มความต้องการของตน อหังการจะล่อลวงมนุษย์ให้แสวงหาความพอใจไปเรื่อยๆ แต่ผลที่ได้คือความทุกข์และความหงุดหงิดรำคาญ #สิ่งที่ให้ความยินดีแก่วิญญาณกลับถูกหลงลืม และอหังการพยายามอย่างไม่สิ้นสุดที่จะสนองความอยากอย่างไม่รู้อิ่มของตน
#กามจึงเป็นความอยากที่ผลักดันให้ปล่อยตัวไปตามความเย้ายวนของผัสสอินทรีย์ ความใคร่ในกามนี้เป็นตัวยุให้มนุษย์คิดและกระทำสิ่งผิดๆ เมื่อมีปฏิการกับพลังอื่นๆที่ขัดขวางทิพยธรรมชาติของมนุษย์ – เมื่ออยู่ใต้อิทธิพลของพลังเหล่านี้ – ความอยากจึงเป็นศัตรูตัวร้าย
ตัวอย่างที่ชัดเจนคือทุรโยธน์ ที่ไม่อยากจากอาณาจักรผัสสอินทรีย์แม้แต่นิ้วเดียว หรืออาจพูดได้ว่า #สุขผัสสะคือสาเหตุของสงครามกุรุเกษตร และด้วยการค่อยๆตัดสินใจอย่างเด็ดเดี่ยวในการรบ ฝ่ายปาณฑพจึงชิงอาณาจักรของตนกลับคืนมาได้
กามหรือความใคร่ เมื่อได้รับการสนับสนุนจากพลังอื่นๆของฝ่ายเการพ สามารถฉ้อฉลให้อินทรีย์ของมนุษย์แสดงสัญชาตญาณชั่วช้าออกมาได้ คัมภีร์ฮินดูสอนไว้ว่า ภายใต้อำนาจอันรุนแรงของกาม คนดีมีความรู้กลับทำตัวเหมือนลา เหมือนลิง แพะ และ หมู
ความใคร่สามารถนำไปใช้อย่างผิดๆกับอินทรีย์สัมผัสใดๆ หรือกับทุกอินทรีย์สัมผัสเพื่อแสวงหาความเพลินพอใจ ⏺️ ผ่านจักขุผัสสะทำให้มนุษย์ใคร่ในวัตถุที่มองเห็น ⏺️ ผ่านโสตผัสสะทำให้เขาอยากฟังแต่คำเยินยอที่หวานหูแต่มีพิษร้าย อยากฟังเสียงสั่นสะเทือนของดนตรีที่เร้าธรรมชาติฝ่ายวัตถุของเขา ⏺️ ผ่านฆานผัสสะทำให้เกิดความเพลินพอใจในกลิ่นที่ล่อลวงเขาไปสู่สภาพแวดล้อมและการกระทำที่ผิดๆ ⏺️ ผ่านชิวหาผัสสะทำให้เกิดความใคร่ในอาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งทำให้เขาหลงอยู่กับรสชาติที่เสี่ยงกับสุขภาพของเขา ⏺️ ผ่านกายผัสสะทำให้เขาใคร่ในความสบายทางกายอย่างเกินพอดี และทำลายแรงกระตุ้นทางเพศที่สร้างสรรค์ ⏺️ ความใคร่ยังทำให้มนุษย์แสวงหาความพอใจในทรัพย์สิน ฐานะ อำนาจ และการครอบครอง
💢ทุกสิ่งเหล่านี้สนองความพอใจให้แก่ “ฉัน ตัวฉัน ของฉัน” ความใคร่เป็นเรื่องของอหังการ เป็นบันไดขั้นต่ำสุดในพัฒนาการลักษณะของมนุษย์ อำนาจของกาม หรืออารมณ์ไม่รู้อิ่มนี้ สามารถทำลายความสุข สุขภาพ พลังสมอง ความกระจ่างชัดของความคิด ความจำ และวิจารณญาณของมนุษย์ได้💢
➖
2️⃣ #โกรธ (โทสะ)
#ความอยากที่ไม่สมหวังจะส่งผลเป็นความโกรธ ดังนั้นบุตรคนแรกของธฤตราษฎร์จิตมืดบอดคือ ทุรโยธน์ – ความใคร่ในกาม และบุตรคนที่สอง (น้องถัดจากทุรโยธน์) คือทุหศาสน สัญลักษณ์ของความโกรธ นามนี้มีความหมายว่า “ยากที่จะเหนี่ยวรั้งหรือควบคุม” มาจากรากศัพท์สันสกฤต ทุห “ยาก” กับ สส “เหนี่ยวรั้ง หรือ ควบคุม”
มหาภารตะ ให้ภาพความชั่วร้ายของความโกรธในนิสัยของทุหศาสนอย่างชัดเจน ในคีตาบทที่สอง★ กฤษณะตรัสแก่อรชุนว่าความโกรธ #ทำให้ผู้กระทำผิดจมอยู่ในความหลง #บดบังความจำถึงพฤติกรรมที่ถูกต้องแห่งปรมาตมัน ญาณปัญญาของเขาจึงเสื่อม ความสับสนนี้ทำให้ปัญญาและการกระทำที่ถูกต้องของเขาหมดไป
★บทที่ 2 : 63
💢ความโกรธทำลายความสงบสุข ทำให้ขาดเหตุผล ส่งผลเป็นพฤติกรรมทำลายสุขภาพในหลายลักษณะ : ไม่อดทน รุนแรง หงุดหงิด ร้อนอกร้อนใจ อิจฉาริษยา ขุ่นเคือง มุ่งร้าย โกรธเป็นฟืนเป็นไฟ โกรธด้วยเรื่องไร้สาระเหมือนเด็กๆ โกรธอย่างรุนแรงและต่ำช้าเหมือนมาร โกรธเป็นพักๆ โกรธอย่างไม่มีปี่มีขลุ่ย โกรธเพราะติดนิสัยขี้โกรธ โกรธเพราะกรรมแต่ชาติปางก่อน แม้ความโกรธที่เรียกว่า “โกรธอย่างมีเหตุผล” ก็ไม่ควรมาแทนที่การกระทำและการใช้ปัญญาพิจารณาด้วยความสงบ💢
(มีต่อ)
บันทึก
1
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ภควัทคีตา เล่ม 1 บทที่ 1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย