16 มิ.ย. 2021 เวลา 01:01 • ประวัติศาสตร์
"กองทัพต้องเดินด้วยท้อง"
ไม่ใช่แค่คำพูดเล่น ๆ
แต่มันคือหนึ่งในยุทธศาสตร์
การรบจริง ๆ ในประวัติศาสตร์...
1
"กองทัพ ต้องเดินด้วยท้อง"
คำถามที่ผมอยากถามคือ
มีใครบ้างที่คิดว่าคำพูดประโยคนี้เป็นเพียงคำพูดที่เอาไว้พูดเล่น ๆ กับเพื่อน เวลาหิว❓
ถ้าใครตอบว่า "ใช่"
เคยคิดแบบนั้นจริง ๆ
ผมอยากจะบอกคุณผู้อ่านว่า
คุณกำลังเข้าใจผิดครับ
คำพูดที่ดูเหมือนคำพูดเล่น ๆ เวลาเราเกิดอาการหิวก่อนที่จะต้องลงมือทำงานหรือเดินทางไกลประโยคนี้
มันคือ ประโยคที่เกิดขึ้นจริงในประวัติศาสตร์..
เจ้าของประโยคอมตะ ประโยคนี้ก็คือ จักรพรรดิฝรั่งเศสผู้พิชิตยุโรปนามว่า "นโปเลียน โบนาปาร์ด"
นโปเลียนเคยกล่าวประโยคนี้เอาไว้ว่า
"The army marches on its stomach’ / ‘C’est la soupe qui fait le soldat"
แปลตรง ๆ ตัวเลยว่า กองทัพต้องเดินทัพด้วยท้อง(กระเพาะอาหาร)
1
สิ่งหนึ่งที่นโปเลียนให้ความสำคัญในการวางแผนการทำสงครามในอดีต ที่ในแต่ละสมรภูมิการรบ
ต่างต้องใช้ระยะเวลายาวนาน
ผ่านฤดูกาลที่ขาดแคลนแหล่งอาหาร
รวมทั้งต้องมีการเดินทางอันแสนไกลจากบ้านเกิด เมืองนอน
นั่นก็คือ เสบียงอาหาร
1
เสบียงอาหารคือ ยุทธศาสตร์ที่มีความสำคัญไม่แพ้ศักยภาพของอาวุธและความเก่งกล้าสามารถของเหล่าทหาร
..
นโปเลียนให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ไว้ถึงขนาดตั้งรางวัลให้แก่ผู้ที่สามารถคิดค้นวิธีการถนอมอาหารที่ดีที่สุดสำหรับการรบเป็นเงินสูงถึง 12,000 ฟรัง ซึ่งถือว่าเป็นเงินที่สูงมาก เมื่อสมัยปี ค.ศ.1800
3
และอานิสงค์ของประกาศฉบับนี้ ยังมีผลมาจนถึงปัจจุบัน เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นตอนนั้น มันคือต้นกำเนิดของวิธีการถนอมอาหารกระป๋องนั่นเอง
3
การถนอมอาหารในยุคนโปเลียน ยังใช้เพียงวิธีการนำอาหารใส่ลงในขวดแก้ว อัดจุกไว้ด้วยฝาไม้ก๊อก เสร็จแล้วนำไปลวกด้วยน้ำร้อนเพื่อฆ่าเชื้อโรค คล้ายกับการสเตอริไลซ์
2
..
ตัวอย่างทางประวัติศาสตร์ที่ใช้ปัจจัยเรื่องอาหารในการตัดสินแพ้ ชนะ ในการสงครามยังมีตัวอย่างให้เห็นอีกหลายครั้ง เช่น
1
ยุทธวิธีของกรุงศรีอยุธยา หลายครั้งที่ถูกทัพพม่าล้อมไว้ ก็ใช้วิธีตุนเสบียงให้เพียงพอ แล้วปิดประตูเมือง รอจนเสบียงทัพพม่าหมดลง
หรือยุทธศาสตร์การทำสงครามที่ใช้อาหารมาเป็นเงื่อนไขในการรบเพื่อให้ได้รับชนะเท่านั้น
อย่างครั้งเมื่อพระเจ้าตากนำทหารเพียงหยิบมือเข้าตีเมืองจันท์ ก็เช่นกัน
การสั่งให้ทหารกินกันให้อิ่ม
แล้วทุบหม้อข้าว หม้อแกง ทิ้งให้หมด เป็นยุทธวิธีที่ต้องการสร้างพลังแรงฮึดของทหารให้ถึงขีดสุดเสียก่อน
เพราะทหารทุกนายต่างรู้ดีว่า
ถ้ารบแพ้ ไม่ถูกข้าศึกฆ่าตาย
ก็ต้องอดตาย
ทางเดียวที่จะรอดชีวิตไปได้ก็คือ
สู้แบบถวายชีวิตเท่านั้น
เงื่อนไขเรื่องอาหาร จึงกลายเป็นปัจจัยทำให้พระเจ้าตากรบชนะ
ตีเมืองจันทร์ได้สำเร็จ
..
หรือหากจะพูดถึงต้นตำรับดั้งเดิมยุทธศาสตร์การทุบหม้อข้าวหม้อแกง ก่อนทำศึก
ก็คงต้องย้อนไปในประวัติศาสตร์จีน ราวเกือบสองพันปีก่อนพระเจ้าตากจะเข้าตีเมืองจันท์
1
ในยุคราชวงศ์ฉินตอนปลาย
แผ่นดินจีนเกิดกบฏขึ้นมากมาย
ก๊กจากเมืองต่าง ๆ ต้องการแยกตัว ตั้งตนเป็นใหญ่
จนทำให้ทัพจากเมืองหลวงต้องส่งทหารออกไปปราบปรามอยู่ตลอดเวลา
หนึ่งในก๊กที่ตั้งตนเป็นกบฏก็คือก๊กของฌอป๋าอ๋องหรือรู้จักในอีกชื่อหนึ่งว่า แม่ทัพเซี่ยงยี่
ในการศึก ณ เมืองจู่ลู่ ทัพรัฐหานถูกกองกำลังทัพจากเมืองหลวงนับแสนนาย ล้อมไว้ ทำท่าจะพ่ายแพ้
แม่ทัพเซี่ยงยี่ คิดจะหาทางช่วย แต่ด้วยทหารในมือมีเพียงน้อยนิด เมื่อเทียบกับทัพหลวงที่มีกำลังพลเรือนแสน
วิธีการที่ท่านเซี่ยงยี่ใช้ในการนำทัพที่มีอัตราส่วนจำนวนทหารน้อยกว่า 10 เท่า ก็คือการเตรียมเสบียงไปแต่น้อย อยู่ได้เพียงแค่ 3 วัน
เมืองยกทัพขึ้นบก ท่านแม่ทัพได้สั่งให้ทหารจมเรือพร้อมหม้อข้าวให้เกลี้ยง...
เมื่อหลังพิงฝา ถ้าไม่ชนะ ก็ไม่มีที่ให้ถอยอีกแล้ว
กว่าจะได้รับชัยชนะในการรบครั้งนี้ ทหารของแม่ทัพเซี่ยงยี่ต้องปะทะกับทหารหลวงถึง 9 ครั้ง 9 ครา
แต่ด้วยพลังแรงใจและความกล้าหาญ ในที่สุดทัพหลวงก็พ่าย จนนำไปสู่การสิ้นสุดราชวงศ์ฉินในท้ายที่สุด
..
คุณผู้อ่านเห็นพลังแห่งเสบียงหรือยังครับ..
พลังแห่งความหิว บันดาลอะไรก็ได้ บนโลกใบนี้ จริง ๆ..
1
ติดตามอ่านบทความได้ที่

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา