Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Blockพูดได้byข้าวน้อยฯ
•
ติดตาม
6 ส.ค. 2021 เวลา 00:49 • การศึกษา
พี่อยากบอกน้องว่า จริง ๆ แล้ว "หำ"
ไม่ใช่ไอ้นั่นนะ...รู้ไหม?😳
"หำ" กับความหมายที่ทุกคนเข้าใจผิดมาตลอด
นี่คือบทความภาษาศาสตร์ล้วน ๆ
หากเอ่ยคำว่าหำ ทุกคนต่างเข้าใจว่า เรากำลังหมายถึงอวัยวะเพศชายในคำเรียกตามภาษาอีสาน
3
เมื่อเอาคำว่าหำมารวมกับคำว่าบักเป็นคำว่า บักหำ
ก็จะกลายเป็นคำเรียกเด็กผู้ชายในภาษาอีสาน
2
เราทุกคนต่างเข้าใจกันว่า
หำ แปลความหมายได้อย่างนี้
ผมอยากจะบอกว่าคุณเข้าใจถูกครับ เพียงแต่ถูกไม่หมด
1
คำว่าหำไม่ได้หมายความถึงอวัยวะเพศชายในส่วนที่เป็นลึงค์หรือส่วนที่เป็นกล้ามเนื้อยื่นออกมานะครับ
คำว่าหำ ถึงแม้จะหมายถึงอวัยวะเพศชายก็จริง
แต่จะหมายถึงแค่เพียงลูกอัณฑะสองใบ เท่านั้นเอง
2
ที่ถูกต้องคือ
หำ คือไข่(อัณฑะ)
ไม่ใช่ลึงค์
1
ส่วนของลึงค์ ตามภาษาอีสาน จะต้องใช้คำว่าโค็ย จึงจะถูกต้องตรงตามตัวอวัยวะชิ้นนั้น
4
..
ส่วนของโค็ยที่หมายถึงลึงค์ ยังมีความเกี่ยวข้องกับคำว่า บัก ในคำว่า บักหำ อีกด้วย
1
คำว่า บัก หมายถึง สิ่งที่มีลักษณะคอดโดยรอบ อะไรที่มีความคอดโดยรอบ เขาจะเรียกสิ่งนั้นว่าบัก
คำว่าบักจึงแทนลักษณะของลึงค์ที่ในภาษาอีสานเรียกว่า โค็ย นั่นเอง
ดังนั้น คนอีสานโบราณจึงเรียกเด็กผู้ชายตามลักษณะของอวัยวะเพศว่า บักหำ คือเด็กที่มีอวัยวะเพศสองชิ้นคือ บัก(โค็ย) กับ หำ(อัณฑะ)
3
มันก็คล้าย ๆ กับคนปักษ์ใต้เรียกเด็กผู้ชายหรือลูกหลานผู้ชายว่า ไข่ ไข่นุ้ย ไข่ดำ ไข่เขียว ไข่ย้วย ไข่ย้อย อะไรประมาณนี้
1
พูดถึงคำว่าบัก หลายคนอาจจะสงสัยต่อไปว่า แล้วคำว่า บัก ที่ใช้เรียกผลไม้ในภาษาอีสาน เช่น
บักหุ่ง = มะละกอ
บักอึ = ฟักทอง
บักขาม = มะขาม
บักเขียบ = น้อยหน่า
บักมี่ = ขนุน
คำเหล่านี้ ทำไมจึงใช้บักเหมือนกัน
2
คำว่าบักในคำเรียกผัก ผลไม้ในภาษาอีสาน เป็นคนละบักกันกับบักหำน้อย
เพราะคำว่า บัก ในผัก ผลไม้ เป็นคำที่แปลงมาจากคำว่า หมาก ในภาษากลาง ที่ใช้เรียกแทนผลของผลหมากรากไม้ต่าง ๆ
หากใครสังเกตดี ๆ การออกเสียงของคนโบราณแบบแท้ ๆ คำว่าบักหำกับบักเขียบ
ตรงคำว่าบักเขาจะออกเสียงต่างกันเล็กน้อย..
2
..
1
เด็กอีสานรุ่นใหม่บางคนไม่ชอบให้ถูกเรียกว่า บักหำน้อย เพราะมันดูด้อย ดูไม่ทันสมัย
แต่ในความเป็นจริง นี่คือภาษาท้องถิ่นที่ซ่อนไว้ซึ่งความผูกพันกันในครอบครัวและชุมชนหมู่บ้าน
ความเอ็นดูของพ่อแก่ แม่เฒ่า ที่มีต่อลูกหลาน ผ่านคำเรียกโบราณเชย ๆ เหล่านี้ เป็นสิ่งมีค่า
ควรแก่การรักษาต่อไปให้คนรุ่นหลังได้รู้จักว่า เราเป็นผู้มีราก เราเป็นผู้มีบรรพบุรุษ
ไม่มีราก ก็ไม่มีเรานะ
บักหำน้อยเอ้ย..
..
References:
https://www.silpa-mag.com/culture/article_6919
https://esan108.com/dict/view/%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%AB%E0%B8%B3
ติดตามอ่านบทความได้ที่
https://www.blockdit.com/n.sp
14 บันทึก
105
67
54
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ชื่อนี้มีที่มา
14
105
67
54
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย