Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
วินทร์ เลียววาริณ
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
5 ก.ค. 2021 เวลา 00:00 • นิยาย เรื่องสั้น
เส้นพรมแดนเป็นสิ่งสมมุติ มนุษยชาติเป็นเรื่องจริง
Blockdit Originals ซีรีส์บทความพิเศษ
ในปี ค.ศ. 1938 นายตำรวจชาวสวิส นามพอลกรุนอิงเกอร์ (Paul Grueninger) พบตนเองยืนบนทางแพร่งที่จะตัดสินชะตากรรมของมนุษย์จำนวนหนึ่ง เขาอาจเป็นนักบุญหรือคนบาปจากการตัดสินใจครั้งนี้
1
เขามิได้ต้องการเป็นนักบุญ แต่เขารู้ว่าตนเองจะนอนไม่หลับไปตลอดชีวิต หากเลือกอีกทางหนึ่ง
เป็นทางเลือกสองทางที่ยากลําาบากอย่างยิ่ง เพราะราคาของนักบุญคือ นรกของเขาเอง
1
แล้วเขาก็เลือก
ก่อนหน้านั้น ในเดือนสิงหาคม 1938 ฮิตเลอร์ผนวกออสเตรียเข้ากับประเทศเยอรมนี ช่วงหกเดือนต่อมา เกิดกระแสขับไล่ชาวยิวในออสเตรียอย่างรุนแรง
เวลานั้นมีชาวยิวในออสเตรียประมาณสองแสนคน ครึ่งหนึ่งเลือกหนีออกจากประเทศไปทางสวิตเซอร์แลนด์ ประเทศที่รักษาความเป็นกลางในสงคราม
ในเดือนตุลาคม เยอรมนีกับสวิตเซอร์แลนด์ตกลงกันว่า ชาวยิวที่ถือพาสปอร์ตเยอรมันซึ่งมีตราประทับ ‘J’ สามารถผ่านเข้าสวิตเซอร์แลนด์ได้
2
ชาวยิวลี้ภัยที่เข้าประเทศอย่างถูกกฎหมายจะถูกส่งไปที่ค่าย Diepoldsau มีองค์การชาวยิวต่าง ๆ รอช่วยเหลือ เพื่อหาประเทศที่สามให้อยู่
สวิตเซอร์แลนด์ปิดประตูใส่ยิวที่เหลืออีกจำนวนมาก ห้ามผู้ลี้ภัยที่ไม่มีใบอนุญาตเข้าประเทศโดยเด็ดขาด ชาวยิวเหล่านั้นมองเห็นชะตากรรมอันเลวร้ายรออยู่ ฮิตเลอร์ต้องการกำจัดชาวยิวให้สิ้นซากไปจากผืนโลก
พวกเขาตัดสินใจหาทุกวิถีทางหนีตายจากนาซีเข้าสวิตเซอร์แลนด์ ไปตายดาบหน้า
ทางหนีเข้าสวิตเซอร์แลนด์ทางหนึ่งคือผ่านทะเลสาบคอนสแตนซ์ ติดเขต เซนต์ แกลเลน
ณ จุดนี้ นายตำรวจใหญ่ พอล กรุนอิงเกอร์ เป็นผู้บัญชาการ
3
พอล กรุนอิงเกอร์ สมัยหนุ่มและแก่
พอล กรุนอิงเกอร์ เคยรับราชการทหารในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยสวิตเซอร์แลนด์วางตัวเป็นกลาง
1
หลังชีวิตทหาร ในปี 1919 เขาเข้าทำงานในสายตำรวจ และ 19 ปีต่อมา ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจพรมแดนในเขต เซนต์ แกลเลน ซึ่งอยู่ติดกับออสเตรีย
2
แล้วนายตำรวจวัย 47 ปีก็ต้องเจอการตัดสินใจที่ยากที่สุดในชีวิต
ทันใดนั้นเขาก็พบตนเองยืนบนทางแพร่ง เขาต้องตัดสินใจเลือกระหว่างความถูกต้องทางศีลธรรมกับความถูกต้องทางกฎหมาย
1
ทางถูกกฎหมายคือส่งผู้ลี้ภัยกลับแผ่นดินนาซีเพื่อรอวันตาย ทางถูกศีลธรรมคือหาทางรับผู้ลี้ภัยเข้าสวิตเซอร์แลนด์อย่างผิดกฎหมาย แต่ตัวเขาจะถูกลงโทษ เสียอนาคต และอาจต้องเข้าคุก
1
เป็นทางเลือกสองทางที่ยากลำบากใจอย่างยิ่ง
ทว่าเมื่อได้เห็นแววตาของเหล่าผู้ลี้ภัย และได้ยินเสียงร้องของแม่และลูก และความพยายามฆ่าตัวตายของผู้ลี้ภัยบางคน ทันใดนั้นเขาก็รู้ว่า มนุษยธรรมสำคัญกว่ากฎหมาย
พอล กรุนอิงเกอร์ ตัดสินใจทำตามมโนธรรมและจิตสำนึกของเขา เขาปล่อยผู้ลี้ภัยเข้าประเทศมากที่สุด แม้จะต้องปลอมเอกสาร
หลักการคือทำให้ตราประทับบนพาสปอร์ตของคนลี้ภัยเป็นวันที่ก่อนเดือนมีนาคม 1938
เขาเปลี่ยนเลขทะเบียน วันที่ ทำรายงานปลอมของคนที่เดินทางเข้ามาในเขตของเขา หาทางปิดบังช่องโหว่มิให้ใครตามรอยคนเหล่านั้นได้
2
เขายังควักเงินตัวเองซื้อเครื่องกันหนาวให้คนหนีภัยที่เข้าประเทศตัวเปล่า สั่งให้ผู้ใต้บังคับบัญชาดูแลผู้ลี้ภัยอย่างดี โดยเขาเป็นผู้รับผิดชอบเอง
2
ไม่นานพวกเยอรมันก็รู้ และแจ้งต่อทางการสวิส
2
พอล กรุนอิงเกอร์ ถูกตั้งข้อหาปล่อยให้คนยิวจำนวน 3,600 คนเข้าประเทศอย่างผิดกฎหมาย คดีปลอมแปลงเอกสารทางราชการ ฯลฯ
ศาลเริ่มไต่สวนคดีของเขาในเดือนมกราคม 1939 สองเดือนต่อมาเขาถูกปลดออกจากงานโดยไม่ได้รับเงินบำเหน็จใด ๆ
1
ผ่านไปสองปี ศาลตัดสินคดีนี้ในเดือนมีนาคม 1941 แม้ศาลจะเข้าใจแรงจูงใจทางศีลธรรมของเขา แต่เห็นว่ากฎหมายและหน้าที่ต้องมาก่อนศีลธรรม พอล กรุนอิงเกอร์ ถูกตัดสินว่ามีความผิด ถูกปรับ 300 สวิสฟรังค์ และต้องจ่ายค่าทนายค่าคดีความทั้งหมด
3
พอล กรุนอิงเกอร์ ใช้ชีวิตหลังจากนั้นอย่างลำบาก เพราะคนมีประวัติอาชญากรรมหางานทำยาก
หน่วยตําารวจแห่ง เซนต์ แกลเลน
พอล กรุนอิงเกอร์ ไม่เคยเสียใจการกระทำของตนเอง ในปี 1954 เขาบอกว่า “ผมไม่ละอายต่อคำตัดสินของศาล ในทางตรงกันข้าม ผมภูมิใจที่ได้ช่วยชีวิตคนที่ถูกกดขี่ ความช่วยเหลือของผมต่อชาวยิววางบนรากของการมองโลกแบบคริสเตียน มันก็เป็นแค่คำถามเรื่องการช่วยชีวิตมนุษย์ที่ถูกคุกคามด้วยความตาย ในตอนนั้นผมจะคำนึงถึงระบบราชการหรือกฎระเบียบอะไรไปทำไม? แน่ละ ผมตั้งใจทำการเกินกว่าขอบเขตอำนาจของผม และปลอมแปลงเอกสาร
4
แต่ผมทำไปเพียงเพื่อให้คนที่ถูกลงทัณฑ์เข้าประเทศได้ ความเป็นอยู่ของผมเมื่อเทียบกับชะตากรรมที่โหดร้ายของคนหลายพันคนนี้เล็กน้อยเหลือเกิน และไม่สำคัญ จนผมไม่เคยนำมาใส่ใจ”
1
สามสิบสองปีหลังจากเหตุการณ์นั้น ในเดือนธันวาคม 1970 ด้วยแรงกดดันจากสื่อสาธารณะ รัฐบาลสวิสส่งจดหมาย ‘ขอโทษ’ ต่อ พอล กรุนอิงเกอร์ แต่ไม่คืนเงิน และไม่ให้บำเหน็จ
2
ในเดือนเมษายน ปี 1971 พอล กรุนอิงเกอร์ ได้รับการยกย่องจากประเทศอิสราเอลเป็น Righteous Among the Nations
1
(ซ้าย) พอล กรุนอิงเกอร์ ในเครื่องแบบ
พอล กรุนอิงเกอร์
เขาตายอย่างยากจนในปีถัดมา
หลังจากความตายของเขา ทางการสวิสจึงเริ่มกระบวนการคืนเกียรติยศให้ พอล กรุนอิงเกอร์ ใช้เวลานานหลายปี จนถึงปี 1995 รัฐบาลสวิสก็ประกาศว่าคำตัดสินคดีของเขาเป็นโมฆะ
1
รถไฟขนผู้ลี้ภัยชาวยิวที่สถานีรถไฟซูริค 1942
สภาพแคมป์ชาวยิวลี้ภัยที่ Diepoldsau สิงหาคม 1938
ในทุกสังคม กฎหมายถูกยกเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ แต่คำถามคือมันจำเป็นต้องสลักในหิน ปรับแก้มิได้หรือไม่ เมื่อมีประเด็นมนุษยธรรมมาเกี่ยวข้อง?
พอล กรุนอิงเกอร์ จ่ายราคาของการตั้งคำถามนี้ด้วยความยากลำบากทั้งชีวิตของเขา
เพราะเขาเชื่อว่าเส้นพรมแดนเป็นสิ่งสมมุติ ประเทศเป็นสิ่งสมมุติ มนุษยชาติเป็นเรื่องจริง
1
หมายเหตุ
ในปี 2012 สะพานเชื่อมพื้นที่ Diepoldsau ในสวิตเซอร์แลนด์กับเมือง Hohenems ในออสเตรีย ได้รับชื่อว่า พอล กรุนอิงเกอร์ มันเป็นจุดข้ามพรมแดนของพวกยิวที่หนีนาซีเยอรมันเข้าไปในเขต เซนต์ แกลเลน
2
พอล กรุนอิงเกอร์ หนึ่งปีก่อนเสียชีวิต
28 บันทึก
111
6
27
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
Blockdit Originals by Winlyovarin
28
111
6
27
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย