Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
The Brain Club
•
ติดตาม
29 มิ.ย. 2021 เวลา 11:30 • ประวัติศาสตร์
#38 The Brain Club : History
" ผู้ชายกำลังเดินจูงลูกและเมียของตัวเองไปยังตลาดที่แสนวุ่นวาย เพื่อนำทั้งสองไปประมูลขายให้แก่ผู้เสนอราคาสูงสุด "
ข้อความที่ท่านได้อ่านไป คือบทนำของนวนิยายอมตะคลาสสิกที่วางขายในปี 1886 เรื่อง The Mayor of Casterbridge
น่าแปลกคือคำกล่าวข้างต้นมันเป็นมากกว่านิยาย เพราะมันคือธรรมเนียมปฏิบัติที่เคยเกิดขึ้นจริงๆ ของกลุ่มคนชนชั้นแรงงานที่ยากจนในประเทศอังกฤษช่วงต้นศตรรวรรษที่ 19
ก่อนอื่นต้องขอบอกว่า เรื่องจริงที่จะเล่าต่อไปนี้ ไม่มีการขายลูกเหมือนอย่างที่ในนิยายกล่าวไว้นะครับ มีเพียงการขายแค่เมียเท่านั้น
ในบทความนี้ ผมจะพาคุณผู้อ่านไปย้อนรอยธุรกิจสีเทาจากแดนผู้ดี ว่ามันมีจุดเริ่มต้นมากจากอะไรครับ ?
ในอดีต เมื่อคุณไร้ความสุขในการใช้ชีวิตคู่แล้ว การยื่นเรื่องยุติการสมรสแบบถูกกฎหมาย จำเป็นจะต้องมีตราพระราชบัญญัติรัฐสภา และพรจากคริสตจักรในการยืนยัน พร้อมกับเงินสำหรับเดินเรื่องอภิมหาแพง ตีเป็นค่าเงินในปัจจุบันประมาณ 15,000 เหรียญสหรัฐ ( ราวๆ 480,000 บาท )
จากความยุ่งยาก และค่าใช้จ่ายแพงหูฉีก จึงเกินกำลังที่ประชาชนในชนชั้นแรงงานทั่วไปจะเอื้อมถึง
จึงเกิดธุรกิจ " ขายมนุษย์เมีย (Wife Selling) " โดยชายกระเป๋าหนักที่ชนะการประมูลในตลาดสาธารณะ จะได้กลายเป็นเจ้าของหัวใจคนใหม่ของฝ่ายหญิง
วิธีการไม่ต่างอะไรจากการซื้อขายสินค้าปกติ ถ้าอยากได้ของก็ต้องไปหาซื้อเอาตามตลาดนัด ร้านเหล้า และงานเทศกาลต่างๆ
ในการขาย ฝ่ายชายจะใช้เชือกเส้นหนาๆ ผูกตรงข้อมือ หรือเอวเมียตัวเอง ก่อนจะเช่าพื้นที่ในตลาดเพื่อเตรียมขายเมียตัวเองบนโต๊ะขาตั้งเล็กๆ
จากนั้นบรรดาผู้ชายที่พกเงินติดกระเป๋ามาจ่ายตลาด แล้วสนใจอยากจะรับเธอคนนั้นกลับบ้านด้วย ก็จะเริ่มแห่กันเข้ามาประมูลเป็นแถว
แน่นอนว่ามันเป็นเรื่องที่ผิดกฏหมายแบบ 100% แต่การขายแบบเปิดเผยในที่สาธารณะช่วยทำให้การหย่าถูกต้องในสายตาของประชาชน
ถึงจะผิดแต่ก็ไม่ได้ร้ายแรงอะไรจนขนาดต้องหลบซ่อนในตลาดมืด เพราะโดยส่วนมากจะเป็นการซื้อขายของคนยากจน ตำรวจจึงเพิกเฉยปล่อยให้การดีลดำเนินต่อไปเรื่อยมา
ถึงแม้การขายคู่รักจะเป็นเรื่องที่แปลก ไร้ศีลธรรม และน่ารังเกียจสำหรับพวกเราในปัจจุบันมากแค่ไหน
แต่อย่าลืมว่าในอดีตเกือบสองทศวรรษก่อน พระราชบัญญัติการสมรสฉบับปี 1753 ของอังกฤษ ยังไม่ได้ระบุข้อกำหนดรับรองพิธีแต่งงานแบบเป็นทางการเหมือนในตอนนี้
การสมรสของคู่รักจึงเป็นในลักษณะ "ตกลงยินยอม " กันของทั้งสองฝ่ายแบบไม่มีกฏหมายรับรองชัดเจน
แต่ฝ่ายชายและหญิง จะถือเป็นคู่รักตามกฎหมายอย่างเป็นทางการ โดยฝ่ายชายจะรวมเอาสิทธิ์ในทรัพย์สินของฝ่ายหญิงมาไว้ด้วยกัน
แม้ว่าฝ่ายหญิงจะถูกมองในฐานะสินค้า แต่ก็ใช่ว่าฝ่ายชายจะเป็นผู้ตัดสินใจผูกขาดในการนำเมียตัวเองไปขายเสมอไป
บ่อยครั้งที่ฝ่ายหญิงยอมโดนขายเอง เพื่อจบความสัมพันธ์รักที่ไม่มีความสุขกับคู่รักคนปัจจุบัน โดยการหลีกเลี่ยงการหย่าร้าง ที่กล่าวไปข้างต้นว่ามันทำยากมากๆ
โดยเธอจะสามารถใช้ดุลยพินิจ ในการเลือกได้ว่าจะยอมรับหรือปฏิเสธผู้มาขอซื้อตัวเธอ
เพราะโดยส่วนใหญ่แล้ว ก่อนจะซื้อขายกันอย่างเป็นทางการ ผู้ซื้อบางรายจะทำการพูดคุยกันหลังม่านก่อน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราคา ความพึงพอใจต่อกัน หรือปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ทำให้บ่อยครั้งในการซื้อขายจริงๆ ในที่สาธารณะ มักจะดำเนินไปแบบราบรื่นสบายใจ จนแถบจะเหมือนพิธีวิวาห์ครั้งใหม่เลยก็ว่าได้ เพราะมีตัวผู้ชนะการประมูลอยู่ก่อนแล้วนั้นเอง
เมื่อเวลาผ่านไป ระบบความยุติธรรม และค่าใช้จ่ายในการทำเรื่องหย่าร้างสมัยใหม่เข้าถึงง่ายขึ้น
เพราะในปี 1857 ศาลหย่าร้างแห่งแรกในอังกฤษถือกำเนิดขึ้น ภาพการขายเมียในอดีตจึงเริ่มเลื่อนหายไป จนกลายเป็นเรื่องแปลกในสายตาของคนรุ่นหลัง
แต่ถึงแม้เวลาจะผ่านมากว่า 100 ปีแล้ว การขายเมียก็ยังไม่ได้หายไปแบบถาวร น่าแปลกที่ยังมีข่าวการซื้อขายเมียผ่านมาให้เราเห็นอยู่ตลอด
ตัวอย่างคือในปี 2009 เรื่องเกิดในประเทศอินเดีย มีชาวบ้านฐานะยากจนหลายคนที่ทำอาชีพเกษตรกรในรัฐอุตตรประเทศ และมัธยประเทศ ถูกบังคับให้ขายเมียแก่ " ไพศาลวัลลา (Paisawalla) " หรือเจ้าหนี้พวกเขา
เพราะหาเงินมาใช้หนี้ไม่ไหว เพราะการกู้เงินนอกระบบมีดอกเบี้ยที่แพง
ถือเป็นเรื่องมุมมืดที่น่าเจ็บปวดของแดนภารตะ ซึ่งถ้าหากมีโอกาสเหมาะๆ ผมจะหยิบยกเรื่องนี้มาเขียนให้อ่านในบทความฉบับยาว ฝากติดตามกันด้วยนะครับทุกท่าน
เรียบเรียงโดย : สโมสรสมอง
ที่มา
1.
https://allthatsinteresting.com/wife-selling
2.
https://en.wikipedia.org/wiki/Wife_selling_(English_custom)
3.
https://www.history.com/news/england-divorce-18th-century-wife-auction
1 บันทึก
2
1
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
History : ประวัติศาสตร์
1
2
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย