3 ก.ค. 2021 เวลา 01:30 • อาหาร
เรื่องราวของ "ไข่" ที่เราเห็นกันบ่อย ๆ แต่อาจไม่เคยทราบ
วันนี้ก็มาถึงเรื่องราวสาระน่ารู้ สบายสมอง ไปกับ เรื่องราวของอาหารที่แทบจะอยู่ในทุก ๆ มื้ออาหาร อย่าง "ไข่"
โดยสาระที่นำมาให้เพื่อน ๆ รับชมกัน
ก็จะเป็นความแตกต่างคร่าว ๆ ระหว่างไข่ที่มาจากสัตว์ปีกแต่ละประเภท
รวมไปถึง ชื่อเรียกรูปแบบของไข่ไก่ ที่มาจากวิธีการเลี้ยงไก่ อย่างเช่น Cage Free, Free Range หรือ Organic
เป็นอย่างไร ไปดูกันเลย !
วันนี้พวกเราขอพูดเกี่ยวกับ เรื่องราวที่น่าสนใจของไข่ไก่
ปกติแล้ว เราควรบริโภคไข่ไก่วันละกี่ฟองดี ?
หื้มม น่าคิดนะ เพราะตามที่เราเข้าใจเนี่ย กินวันละฟอง ก็น่าจะเพียงพอ..
หรือ วันละ 2-3 ฟองดีละ.. ก็มันอยากกินคู่กับอาหารทุกมื้อเลย
แถมบางมื้อเนี่ย… คุณแม่ค้าก็ใจดี ดันใส่ไข่มาให้ 2 ฟองอีกแนะ
ว่าแต่...ทำไมเราถึงมีข้อจำกัดในเรื่องของการกินไข่ ที่ต้องจำกัดฟองต่อวันกันละ ?
(สำหรับเพื่อน ๆ ที่ไม่ได้มีข้อสงสัยตรงนี้ ก็สามารถข้ามได้เลยน้าา)
แน่นอนว่า ไข่มีคอเลสเตอรอลที่สูง แถมแคลอรี่ก็เยอะ
ถ้าจะกินไข่หลาย ๆ ฟอง ก็กินแต่ไข่ขาวดีกว่า เพราะจะได้โปรตีน ไม่มีไขมัน แคลอรี่ต่ำ
เราต้องขอบอกว่า อันที่จริงแล้ว หากเราจะรับประทานไข่ไก่ มากกว่า 2-3 ฟองต่อวัน ก็สามารถทำได้นะ และก็ไม่ได้เป็นอันตรายที่มากขนาดที่เรากลัวกัน
ถึงแม้ว่าคำแนะนำของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะระบุไว้ที่ 1 ฟอง ต่อวันก็ตามที
(เพราะสารอาหารที่เราได้ มันก็เพียงพอแล้ว อีกอย่างก็คือ รับประทานไข่ 1 ฟองต่อวัน จะไม่ส่งผลเสีย หรือ มีความเสี่ยงต่อสุขภาพใด ๆ เลย)
เอ..แล้วเรื่องไข่ไก่กับความเชื่อในเรื่องของคอเลสเตอรอล
ที่คอยบังคับจิตใจเรา ไม่ให้ทานไข่ไก่เกิน 2-3 ฟองต่อวัน
เอ้อ ประเด็นนี้ มันเป็นยังไง ?
อันที่จริงแล้ว ได้มีงานวิจัยจากหลากหลายแห่ง
กล่าวว่า จริงอยู่ที่ไข่มีคอเลสเตอรอล เพียงแต่ว่า มันไม่ได้เป็นอันตรายต่อมนุษย์มากขนาดนั้น นั่นเอง
โดยอ้างอิงจาก งานวิจัยเกี่ยวกับคอเรสเตอรอลของมนุษย์กับอาหาร จากกระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา (United States Department of Agriculture : USDA) ในปี พ.ศ. 2558
เขาได้ทำการทดลอง ถอดคอเลสเตอรอลออกจากสารอาหาร ที่คนอเมริกันต้องควบคุม
หลังจากนั้น พวกเขาก็ค้นพบว่า คอเลสเตอรอลที่ได้รับจากอาหาร มันไม่สัมพันธ์กับปริมาณคอเลสเตอรอลในเลือดเลย
นั่นก็เป็นเพราะ ความเป็นจริงแล้วเนี่ย
คอเลสเตอรอลแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ
1. คอเลสเตอรอลที่ร่างกายสร้างขึ้นที่ตับ จากพลังงานส่วนเกินที่ร่างกายต้องการ
เช่น การโดยรับประทานคาร์โบไฮเดรตที่มากเกินไป
โดยคอเลสเตอรอลส่วนนี้มีมากถึง 75% ของร่างกาย
2. คอเลสเตอรอลที่ได้รับจากการรับประทานอาหารโดยตรง (ต้องย้ำว่า “โดยตรง” นะ)
โดยคอเลสเตอรอลส่วนนี้มีเพียงแค่ 25% เท่านั้น
ดังนั้นจากงานวิจัยนี้ จึงอาจสามารถพิสูจน์ได้ว่า
การลดการกินไข่ ก็อาจไม่ได้ทำให้ระดับคอเลสเตอรอลต่ำลงแต่อย่างใด แต่ถือว่าเป็นการลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจได้เล็กน้อย
แต่พอพูดถึงเรื่อง ความสัมพันธ์ของความเสี่ยงเล็กน้อยต่อการเป็นโรคเบาหวาน หรือ โรคหลอดเลือดหัวใจเนี่ย ก็ยังไม่มีงานวิจัยที่ออกมาเคลมอย่างแน่ชัดนะ
สรุปคือ ไม่ได้มีงานวิจัยที่รองรับว่าเป็นผลดี หรือ ผลเสียที่ชัดเจนต่อสุขภาพ
แต่เรื่องที่น่ากังวลมากกว่าเนี่ย อาจเป็นเรื่องของการนำไข่ไก่มาแปรรูปเป็นเมนูอาหารอย่างเช่น นำมาทอดเป็นไข่ดาวหรือไข่เจียว ที่ร่างกายอาจได้รับปริมาณ ไขมันอิ่มตัว หรือ แคลอรี่ ที่มากเกินไปเสียมากกว่าด้วยนะ
อ้อ ! แต่ต้องเพิ่มคำเตือนนิดนึง สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน หรือ ไขมันในเลือดสูง สามารถกินไข่ได้ 3 ฟอง/สัปดาห์ หรือตามคำแนะนำของแพทย์
อย่างไรก็ดี รับประทานอาหารกันในปริมาณที่เหมาะสม ก็คงจะดีที่สุดนะเพื่อน ๆ
ปิดท้ายด้วยเกร็ดความรู้เบา ๆ
เพื่อน ๆ รู้ไหมว่า โดยเฉลี่ยแล้ว ไข่ไก่ 1 ฟอง ประกอบไปด้วยแร่ธาตุที่เป็นประโยชน์ต่าง ๆ มากมายเลยนะ
- 30% ซีลีเนียม (Selenuim) เป็นโคเอนไซม์ของสารต้านอนุมูลอิสระ
- 25% โฟเลต (Folate) หรือ วิตามินบี9 วิตามินชนิดที่ละลายได้ในน้ำ
- 20% วิตามิน B12
- 16% วิตามิน A
- 12% วิตามิน E
- 7% ธาตุเหล็ก
และ ไข่ห่านและไข่เป็ดเนี่ย ก็จะมีปริมาณของ วิตามิน B12 และ ธาตุเหล็กที่เยอะกว่าไข่ไก่อยู่พอสมควรเลยละ !
หมายเหตุ : ตัวเปอร์เซ็นในที่นี้ หมายถึง ค่า RDI (Recommended Daily Intakes) คือ ปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้บริโภคประจำวันสำหรับคนทั่วโลก
เจ้าตัวเลข “%” ตรงนี้ ก็จะคล้ายๆกับเวลาที่เราดูสารอาหาร ด้านหลังซองขนม หรือ ซองอาหาร ต่าง ๆ นั่นเองจ้า
โดยตัวเลขที่นำมา จะไม่ได้แยกว่า คนเอเชีย คนยุโรปเท่าไรนะ
แล้วก็ผลรวมมันจะไม่ได้ออกมาเป็น 100%
เพราะว่าไม่ใช่เลขอัตราส่วนแบ่งนะจ้า กลัวเผื่อเราทำให้เพื่อน ๆ เข้าใจผิดกัน แห่ะ ๆ
แหล่งอ้างอิงเพิ่มเติม
- หนังสือ Science of Cooking โดย Dr.Stuart Farrimond
โฆษณา