12 ก.ค. 2021 เวลา 04:47 • สุขภาพ
เสพติดความทุกข์เรื้อรัง Chronically Unhappy
1
Chronically Unhappy คือคำจำกัดความของผู้เสพติดความทุกข์เรื้อรัง ที่ปล่อยให้ความรู้สึกผิดหวัง โศกเศร้า เสียใจเข้ามาทำร้ายตัวเองซ้ำ ๆ โดยที่บางครั้งไม่มีสาเหตุชัดเจน และเมื่อไหร่ที่ชีวิตราบรื่นและเป็นสุข พวกเขาก็จะพยายามพาตัวเองกลับไปหาอ้อมอกของความเจ็บปวดจนได้
1
Chronically Unhappy
พฤติกรรมของผู้ที่เสพติดความทุกข์เรื้อรัง
1. มองโลกในแง่ร้ายอยู่เสมอ รู้สึกหดหู่ซึมเศร้า เหนื่อยล้ากับชีวิต รู้สึกแพ้พ่ายอย่างไม่มีเหตุผล
1
2. วิพากษ์วิจารณ์ไปเสียหมดทุกคนและทุกสิ่ง จงจำไว้ว่า การมองหาเหตุผลเพื่อตัดสินคนอื่นให้ได้มันก็เหมือนการวางกับดัก ไม่คนอื่นก็ตัวคุณเองนั่นแหละที่จะบาดเจ็บ
2
3. กังวลราวกับว่ามีไฟสุมอกอยู่ตลอดเวลา ในกรณีนี้ถือเป็นพิษที่หนักมาก เพราะว่ามันคือความคิดที่ทำลายตัวเองอย่างหนึ่ง
1
4. พึ่งพาสารเสพติด หันหน้าเข้าหาสุรา บุหรี่ ยาเสพติด เป็นแค่เพียงความบันเทิงที่ทำให้ลืมความทุกข์เพียงชั่วครู่ แต่ผลที่จะตามมาในภายหลังนั้นมีแต่ผลร้ายเป็นอย่างมาก สุขภาพเสื่อมโทรม ประสาทหลอน หดหู่ ซึมเศร้า ทำร้ายร่างกายตนเองและคนรอบข้าง
1
5. หวังไว้ตลอดว่าตัวเองไม่จำเป็นต้องมีส่วนรับผิดชอบในกรณีใด ๆ เมื่อไหร่ก็ตามที่คุณกล้าตำหนิทุกอย่างที่อยู่รอบตัว โดยไม่คิดว่าตัวเองก็มีส่วนผิด
2
6. เป็นคนไร้เป้าหมาย อาจจะเพราะกลัวความผิดหวังในอนาคต หลอนกับความล้มเหลวในอดีต
1
7. หลีกเลี่ยงความกลัว ความกลัวก็เหมือนกับความเป็นจริง ยิ่งหลีกหนียิ่งรู้สึกทรมาน อยู่ไม่เป็นสุข
1
8. ไม่มีเพื่อนสนิท มันคงทรมานไม่ใช่น้อย หากว่าวันหนึ่งเราต้องเจ็บป่วยเพียงลำพัง
 
9. ผูกพยาบาท จองจำไว้แต่ความโกรธแค้น เป็นการเพาะเชื้อของความทุกข์ไว้ในตัวให้มากขึ้น
10. แวดล้อมไปด้วยความสิ้นหวัง คนที่อมทุกข์มักจะมีแววตาที่เศร้า ความคิดล่องลอย คิดว่าทุกข์ที่เผชิญอยู่นี้จะต้องทุกข์อีกนานเพราะโยงชีวิตตัวเองเข้ากับอะไรก็ตาม
1
สาเหตุ
1. ตัวตน ความรู้สึกไม่มั่นคงภายในตนเอง ไม่ภูมิใจในตัวเองหรือที่เรียกว่ามีระดับการยอมรับตัวเอง (Self-esteem) ต่ำกว่าปกติ
1
2. ปมในใจ เหตุการณ์กระทบกระเทือนจิตใจ (Traumatic event) ที่ทำให้เกิดปมขมวดแน่น พร้อมจะฉุดให้เจ็บปวดและหวาดกลัวอยู่เสมอ ตราบใดที่ปมนี้ยังไม่ถูกคลี่คลาย แม้ว่าจะมีความสุข แต่ก็ยังคิดว่าตัวเองจะต้องกลับไปสู่จุดเดิม
1
3. การเลี้ยงดู เด็ก ๆ ที่เติบโตมาในครอบครัวที่เข้มงวดและคาดหวังสูง มักจะเอาความสำเร็จไปผูกติดกับความสุข แม้ว่าชีวิตจะดำเนินไปได้อย่าราบรื่นแต่ยังคงรู้สึกเป็นทุกข์และโหยหาการประสบความสำเร็จอย่างที่คนรอบข้างคาดหวังตลอดเวลา
 
4. อาการป่วย บางครั้งความทุกข์เกิดจากอาการเจ็บป่วยส่วนบุคคล เช่น โรคดีสโทเนีย (Dystonia) ที่มีอาการเศร้าเรื้อรัง แต่จะไม่รุนแรงเท่าโรคซึมเศร้า เกิดได้จากหลายสาเหตุ อาจเพราะการสูญเสีย การถูกปฏิเสธ ที่นำมาซึ่งความสะเทือนใจ สิ่งเหล่านี้อาจทำให้เกิดความผิดปกติกับการผลิตสารสื่อประสาทเซโรโทนินที่ควบคุมเรื่องความรู้สึกได้
1
วิธีแก้ปัญหาจาหวังวนความทุกข์
1. ทำความเข้าใจเมื่อต้องผิดหวัง ความเสียใจไม่ใช่เรื่องผิด จงปล่อยให้ตัวเองรู้สึกผิดหวัง แต่ต้องไม่จมดิ่งเกินไป
2. พาตัวเองไปอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี หลีกเลี่ยงคนที่ชอบตำหนิและพูดถึงเราในแง่ลบ
3. มองหาข้อดีในทุก ๆ เรื่อง ทำให้มีความสุขในแต่ละวัน
4. ฝืนยิ้ม ถ้าสลัดความทุกข์ไม่พ้นสักที ลองแสร้งมีความสุขไปก่อนก็ได้ เพราะอย่างน้อยแค่ฝืนยิ้มก็ทำให้เซโรโทนินหลั่งออกมาแล้ว
#สาระจี๊ดจี๊ด
ดร.แฮร์รี่ ฮอร์แกน (Dr Harry Horgan) นักจิตวิทยาคลินิกแห่งศูนย์ประสาทวิทยาเยอรมัน อธิบายว่า มนุษย์ทุกคนมี กลไกการเอาตัวรอด เป็นของตัวเอง เวลาเกิดภัยคุกคามขึ้นไม่ว่าจะกับทั้งร่างกายหรือจิตใจ เราจะเร่งหาทางแก้ไขและหลบหลีกได้เสมอ
เมื่อตกอยู่ในความทุกข์ เรามักจะหาทางให้ตัวเองรับมือกับมันได้ ไม่ว่าจะด้วยวิธีใด ซึ่งบางครั้งก็ไม่ใช่วิธีที่สมเหตุสมผลจนอาจอาจนำมาซึ่งความเคยชินผิดๆ ที่ทำให้เราล้มเลิกความตั้งใจที่จะพาตัวเองออกจากจุดนั้น หลายคนจึงเลือกจองจำตัวเองให้เป็นนักโทษในคุกแห่งความทุกข์ทรมาน เพราะเชื่อว่ายังไงก็ยังรับมือไหว
#Wasabi ขอเพียงมีส่วนเล็ก ๆ ที่ช่วยให้คุณ!
"เจริญเติบโต ก้าวหน้า สำเร็จ อย่างภาคภูมิใจ"
#สาระจี๊ดจี๊ด #Wasabi #ความรู้ขึ้นสมอง

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา