25 ก.ค. 2021 เวลา 03:42 • หนังสือ
✴️ บทที่ 1️⃣ ความท้อแท้ของอรชุน (ตอนที่ 31) ✴️
🌸 “กองทัพฝ่ายจิตวิญญาณ” กับ “กองทัพฝ่ายวัตถุ” 🌸
⚜️ โศลก 9️⃣ ⚜️ (ตอนที่ 4)
หน้า 102 – 105
5️⃣ #มท (ความลำพอง ความเย่อหยิ่ง)
ความบกพร่องของอหังการทำให้จิตคับแคบจำกัด ความลำพองจะใช้จิตที่บีบคั้นของมันเค้นคอและกดวิญญาณอันไร้ขีดจำกัด ความลำพองในที่นี้หมายถึง การรักความเป็น “ฉัน” หรืออหังการตัวตนที่คอยปกป้องตนเอง (หรือรุกรานผู้อื่น) อยู่ตลอดเวลา เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมประโยชน์ของตัวตนนั้น
ความลำพองในตัวตนนี้ทำให้เกิดความก้าวร้าว ความยโสโอหัง การไว้ตน พฤติกรรมอวดดี การทำ ตามอารมณ์ หรือ ป่าเถื่อนไปกับความเสเพล ผลประโยชน์ หรือ การเรียกร้องของ “ฉัน ของฉัน” — “ชื่อเสียงของฉัน สิทธิของฉัน ฐานะของฉัน เชื้อชาติของฉัน ศาสนาของฉัน ความรู้สึกของฉัน ฉันเป็นฝ่ายถูก ฉันดีเท่ากับคนอื่นหรือดีกว่าด้วยซ้ำ ฉันอยากได้ ฉันมี ฉันเป็น”
ในบรรดาหลาย ๆ ความหมายของคำ มท นี้นอกจากคำว่า “ความลำพอง” แล้วยังมีความหมายอื่น ๆ อีก เช่น “เมามาย เสียจริต” จึงอาจพูดได้ว่า 'มท' คือ #การลุ่มหลงเมามายไปกับจิตอหังการ “ฉัน” จนมนุษย์ไปไกลจากความปกติ หรืออาตมันที่แท้ หรือวิญญาณ
ในมหาภารตะ ตัวแทนของมทคือศัลยา เขาเป็นลุงทางฝ่ายแม่ของปาณฑพฝาแฝด (นกุลกับสหเทพ) ศัลยายกพลไปช่วยเพื่อต่อต้านฝ่ายเการพ แต่ทุรโยธน์ติดสินบนด้วยคำหวานและรางวัลต่าง ๆ นานา ศัลยาจึงหันไปเข้าข้างฝ่ายเการพ #ความลำพองมักจะปั่นหัวและเท้าของมนุษย์ไปในทิศทางที่ผิดๆ คำ 'ศัลยา' แปลว่า “ความผิด หรือ ข้อบกพร่อง” ซึ่งในบริบทนี้บอกนัยถึงความสายตาสั้นของอหังการที่เย่อหยิ่ง #การมองแคบๆที่ทำให้เกิดความสับสนในการใช้เหตุผลและการตัดสินใจของมนุษย์
ศัลยา ยังหมายถึง “การทำร้าย การสบประมาท” 'มท' ทำให้อหังการมนุษย์มีอำนาจในทางชั่วร้าย แสดงความยโสโอหังต่อผู้อื่น ด้วยอคติอย่างดันทุรัง ขาดความอดทนและการให้อภัย ทำให้เขาเกิดความเกลียดชังเพราะความกลัวหรืออคติ จะโดยรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม
ความยโสโอหังยังทำให้คนอหังการสูงพยายามตัดหัวผู้อื่นเพื่อทำให้ตัวเองดูสูงขึ้น อย่างเช่น ใช้การสบประมาทหรือทำให้ผู้อื่นอับอาย ล้อเลียนเมื่อเห็นผู้อื่นทำอะไรผิดหรือแสดงท่าอึดอัดใจ หรือวิพากษ์วิจารณ์ นินทาว่าร้าย เป็นต้น — แม้แต่การทำให้ผู้อื่นไม่สบายใจ ถึงจะมีเจตนาดีแต่ถ้าทำเพื่อสนองความพอใจของตน เขาก็จะได้รับการลงโทษหรือถูกแก้แค้นทันที หรืออย่างดีที่สุดอาจพบกับคำพูดทำนองว่า “คุณควรจะอายที่มาทำร้ายความรู้สึกของฉัน”
#ความลำพองโอหังในมนุษย์ทำให้เขาเป็นที่รังเกียจของผู้อื่น ผู้คนจะรำคาญ และไม่ชอบคนเช่นนั้น ขณะที่ความสุภาพอ่อนน้อม ความสงบ การรู้จักคิด การยิ้ม อย่างร่าเริงจริงใจ ความอดทน ความเข้าใจ ย่อมให้ความเบิกบาน ความสงบและความสบายใจแก่ผู้คนเสมอมา ผู้มีปัญญาจึงมีบุคลิกภาพที่น่าสนใจ ด้วยความรู้สึกเห็นอกเห็นใจเขาจึงครองหัวใจของผู้อื่นได้ แต่คนยโสโอหังจะหลอกตัวเองว่า ท่าทีข่มขู่ของเขาทำให้เขาเป็นผู้นำในหมู่ชน
💢 #แม้มนุษย์ผู้ใฝ่ในจิตวิญญาณก็อาจตกลงจากที่สูงได้เพราะความลำพองภูมิใจในสิ่งที่ตนได้เข้าถึง นี่คือธรรมชาติของ 'มท' ที่อหังการเชิดชูตนเองไม่แค่กับสิ่งดีที่เขาได้รับมาจริง ๆ แต่เขายังเชิดชูสิ่งที่เขาแค่คิดว่าตนมี ดังนั้นยิ่งมีความดีมากเท่าใด เขาอาจจะภูมิพอใจตนเองมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งเท่ากับเพิ่มและเปิดโอกาสให้หลวมตัว สยบยอมอยู่ในความลำพองยโสโอหัง บ่วงมายานี้ช่างเจ้าเล่ห์ยิ่งนัก❗💢
6️⃣ #มัตสรย (ความอิจฉาริษยา การติดวัตถุ)
1
ความอัศจรรย์ของภาษาสันสกฤตคือ คำคำเดียวสามารถบอกนัยความหมายได้ทั้งหมด ซึ่งผู้เชี่ยวชาญโศลกทั้งหลายสามารถเข้าใจได้ทันที ภาษาสันสกฤตเป็น “ภาษาของพระเจ้า” เป็นภาษาที่นำคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์มาสู่มนุษย์ คำแต่ละคำอาจมี ได้หลายความหมาย บริบทจะเป็นตัวกำหนดว่าคำนั้นควรจะมีความหมายอย่างไร
1
ตามปกติแล้ว 'มัตสรย' แปลว่า “ความอิจฉาริษยา” แต่ความหมายที่กว้างกว่านั้นคือมันบอกนัยถึงการติดยึดวัตถุ คำนี้มาจากราก มัตสร ซึ่งแปลว่า “อิจฉา ริษยา เห็นแก่ตัว ความเป็นปฏิปักษ์ อยากได้ เร้าใจ ทำให้มัวเมาลุ่มหลง หรือ เสพติด” มัตสรย จึงหมายถึง #ความเป็นไปได้ที่จะได้ครอบครองหรือเข้าถึงโลกแห่งวัตถุที่ยังไม่สนองอหังการ #จึงอิจฉาอยากได้มาซึ่งความสุขทางวัตถุเหล่านั้น ทำให้เกิดความเร้าใจ ที่จะสนองความพอใจ เกิดเป็นความลุ่มหลงและยึดติดกับสิ่งที่ได้มา ซึ่งในที่นี้คือ การติดยึดวัตถุ บางครั้งเมื่อมีความเป็นปฏิปักษ์เป็นนิสัย ความติดยึดวัตถุนี้จะทำให้เกิดความอิจฉาริษยา เจตนาร้าย และเห็นแก่ตัว
นักรบฝ่ายเการพที่เป็นตัวแทนของความบกพร่องนี้คือ กีรติวรมัน เขาเป็นเพียงคนเดียวในวงศ์ยาทัพ (วงศ์ของศรีกฤษณะ) ที่มาสนับสนุนทุรโยธน์ในสงครามกุรุเกษตร เขากลายเป็นคนที่มีความริษยาอย่างชั่วช้า เมื่อถูกผู้หญิงที่เขาลักพามา ปฏิเสธ ซ้ำหญิงนั้นยังถูกนำตัวไปที่อาณาจักรของศรีกฤษณะ
มัตสรย หรือความอิจฉา #เมื่อแสดงตนอย่างเต็มที่จะทำให้เกิดความใคร่อย่างรุนแรง จึงเป็นไปไม่ได้ที่บุคคลผู้นั้นจะตรงไปถึงเป้าหมายหรืออุดมคติแห่งชีวิต มัตสรย เป็นนักฝัน มันทำให้มนุษย์ฝันถึงโลกที่ความปรารถนาสัมฤทธิ์ผล มนุษย์จึงวิ่งตามมันไป ผ่านประตูการเกิด–ตายอย่างไม่สิ้นสุด ทำให้เขาลืมหน้าที่ที่แท้จริงของตน นั่นคือการปรับปรุงตนเพื่อการวิวัฒน์แห่งวิญญาณ
นอกจากนี้ความอิจฉายังทำให้เขาอยากเป็นเหมือนผู้อื่น คือเขาอยากจะเป็นหรือมีในสิ่งที่เขาอิจฉา การจะทำลายจิตนี้ บุคคลต้องถอนจากตัวตนของตน คิดว่าตนก็เหมือนกับผู้อื่น แล้วเขาจะพบว่าภาวะจิตของทุกคนเหมือนกัน สุขอยู่ครู่หนึ่งแล้วความไม่พอใจก็ตามมา ความอยากยิ่งมากขึ้น เมื่อหยุดความอยากได้เขาจะพบว่า สิ่งที่เขาต้องการจริง ๆ นั้นไม่ใช่การสนองความพอใจอหังการ หรือสนองใจตน แต่เป็นการสนองความพอใจแก่อาตมัน หรือวิญญาณนั่นเอง
🌟วิญญาณซึ่งไพศาลไร้การจำกัดจะไม่ยอมปล่อยให้ความคับแคบของอหังการมาขีดวงชีวิต การทำลายจิตอหังการไม่ได้หมายความว่าเราจะอยู่อย่างไร้เป้าหมาย แต่เราจะไม่จำกัดตัวเองด้วยการผูกตนไว้กับอหังการ เราไม่จำเป็นต้องโยนทรัพย์สินของเราทิ้งไป หรือไม่ดูแลสิ่งที่เรามีอยู่ หรือไม่พยายามแสวงหาสิ่งที่จำเป็นต่อเราจริงๆ แต่ในการทำหน้าที่นั้น เราต้องขจัดการยึดมั่นให้ได้ ผู้ที่ปลดปล่อยตนจากความคับแคบของอหังการ และจากจิตที่คิดแต่จะครอบครองย่อมเป็นใหญ่ในโลกและสวรรค์ บุตรแห่งบรมวิญญาณผู้เป็นอิสระจากการติดยึดวัตถุ จะได้มรดกทิพย์ตามสิทธิ์ของเขา นั่นคือเขาจะได้ทุกอย่างที่มีอยู่ในจักรวาลนี้ ความปรารถนาทั้งหลายของเขาจะได้รับการตอบสนอง🌟
◾จิตอหังการเป็นอาตมันจอมปลอม◾
🔸#กล่าวโดยสรุป🔸 ความชั่วร้ายหลัก ๆ ที่มากับจิตอหังการ กับความบกพร่อง 6️⃣ ประการของมัน เป็นสิ่งที่จะยิ่งทำให้มนุษย์ลืมอาตมันที่แท้หรือวิญญาณ กับการแสดงออก การสำแดง และการเรียกร้องของวิญญาณ ความชั่วร้ายเหล่านั้นจะทำให้มนุษย์หันไปวุ่นอยู่กับการแสวงหา “สิ่งจำเป็น” ของอหังการอย่างไม่รู้อิ่ม
ในแง่จิตวิทยาแล้ว จิตอหังการคืออาตมันจอมปลอมที่ทาบกิ่งต่อตามา จึงจำเป็นต้องเข้าใจและถอนรากอหังการจิตนี้กับความโน้มเอียงทั้งหลายของมัน ซึ่งไม่มีอะไรเหมือนกับอาตมันที่แท้เลย
โยคีผู้ภักดีต้องจำไว้เสมอว่า เมื่อรู้สึกโกรธ “นั่นไม่ใช่ฉัน❗” เมื่อความใคร่หรือความโลภครอบงำ ท่านต้องพูดกับตัวเองว่า “นั่น ไม่ใช่ฉัน❗” เมื่อความโกรธเกลียดสวมหน้ากากอารมณ์ร้ายเข้ามาบดบังธรรมชาติที่แท้จริง ท่านต้องพยายามถอนตนจากมัน “นั่นไม่ใช่ฉัน❗” — ท่านเรียนรู้ที่จะปิดประตูจิต ไม่ให้อาคันตุกะไม่พึงประสงค์เข้ามาพักอาศัยอยู่ในตัวท่าน และเมื่อไหร่ ก็ตามที่ผู้ภักดีถูกผู้อื่นใช้หรือถูกผู้อื่นทำร้าย แล้วยังรู้สึกได้ว่ามีความรักและการให้อภัยของวิญญาณศักดิ์สิทธิ์ระรัวไหวอยู่ภายใน เมื่อนั้นแหละเขาจะสามารถยืนยันด้วยความมั่นใจได้ว่า “นั่นคือฉัน❗ นั่นคือธรรมชาติแท้จริงของฉัน❗”
✨ #โยคะสมาธิเป็นกระบวนการปลูกฝัง_และทำให้รู้ถึงธรรมชาติแท้จริงของตนได้อย่างหนักแน่นมั่นคงขึ้น ด้วยกฎเกณฑ์และวิธีการเฉพาะทางจิตวิทยาและจิตวิญญาณ ซึ่งจะทำให้จิตวิญญาณมาแทนที่อหังการคับแคบ และจิตมนุษย์ที่รับถ่ายทอดกันมาอย่างผิดๆ✨
(จบ – โศลก 9)(มีต่อ)

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา