23 ส.ค. 2021 เวลา 00:00 • นิยาย เรื่องสั้น
ชำแหละความขำ
Blockdit Originals ซีรีส์บทความพิเศษ
ขำขันเรื่องแรกของประเทศไทยที่ตีพิมพ์เป็นลายลักษณ์อักษร น่าจะคือเรื่องที่ลงใน บางกอกรีคอร์เดอร์ เล่ม 1 ใบที่ 17 วันที่ 3 พฤศจิกายน ค.ศ. 1865 (พ.ศ. 2408)
1
ชื่อเรื่อง ความเตือนอันอ่อน เนื้อเรื่องมีดังนี้
1
ครั้งก่อนมีขุนนางผู้ใหญ่, ได้นั่งกินโต๊ะด้วยกันกับคนอื่นมาก นั่งแน่นกันนัก. มีคนหนึ่งที่พูดมาก ๆ นั่งใกล้กันกับคนนั้น. คนที่พูดมากนั้น, ครั้นพูดแล้วก็ยกมือไปมาตามคำที่เขาพูดด้วย. ขุนนางจึ่งบอกกับเขาคนนั้นว่า, มือของท่านเปนเครื่องรำคาญใจข้าพเจ้านัก. คนนั้นจึ่งตอบว่า, ขอรับกระผม คนแน่นนัก, เกล้าผมไม่รู้ที่จะเอาไว้ที่ไหนได้, ขุนนางจึ่งตอบว่า, ถ้าอย่างนั้นก็เอามือยัดไว้ในปากเสียเถิด
4
นี่เป็นขำขันที่มีอายุอย่างน้อยหนึ่งศตวรรษครึ่ง คะแนนความขำของเรื่องนี้คงแล้วแต่การทำงานของต่อมขำของผู้อ่านแต่ละท่าน
3
ผมอ่านและฟังขำขันมาแต่เด็ก สถานีวิทยุยุคนั้นเป็นพื้นที่ให้นักเล่าขำขันนาม เกษม ฉายพันธ์ เมื่อเขาออกอากาศ เด็ก ๆ ก็นั่งล้อมวิทยุฟัง และขำตามเมื่อดนตรีปิดเรื่องขึ้น
2
ส่วนนิตยสารเล่มแรก ๆ ที่มีคอลัมน์ขำขันในยุคนั้นคือชัยพฤกษ์ของห้างไทยวัฒนาพานิช ซึ่งวางแผงมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2497 ผมไม่เคยพลาดคอลัมน์นี้
ขำขันทั้งของ เกษม ฉายพันธ์ และในนิตยสารชัยพฤกษ์ยุคนั้น ก็คงไม่ต่างจากขำขันเรื่องแรกของไทย ไม่ค่อยมีเนื้อเรื่อง เป็นแก๊กเสียมากกว่า ไม่ค่อยถึงระดับ ‘ขำกลิ้ง’
เวลานั้นผมยังเรียนอยู่ชั้นมัธยมต้น วัยราว 14-15 ก็ริเขียนเรื่องขำขันส่งไปที่นิตยสารชัยพฤกษ์
3
เมื่อได้รับการตีพิมพ์ ก็ฮึกเหิมเขียนขำขันเป็นการใหญ่ ขำขันของผมตีพิมพ์ในนิตยสารชัยพฤกษ์ ชัยพฤกษ์การ์ตูน วิทยาสาร หลายสิบเรื่อง ได้ค่าเรื่องเรื่องละสิบบาท
เกษม ฉายพันธ์
การเขียนเรื่องขำในเวลานั้นไม่ใช่เพราะเป็นคนมีอารมณ์ขันเหลือเฟือ แต่เพราะอยากหารายได้พิเศษ
เรื่องขำขันที่ตีพิมพ์ในนิตยสารยุคนั้นมักเป็นขำขันแนวเล่นมุขพื้น ๆ คล้าย ๆ อย่างที่ฝรั่งเรียก slapstick คืออารมณ์ขันที่เปลือก มันไม่ใช่ความขำที่เกิดจากโครงสร้างพล็อต ยกตัวอย่าง เช่น ครูถามนักเรียน “ปลาอะไรที่ว่ายน้ำไม่ได้?” คำตอบคือ “ปาท่องโก๋”
3
slapstick ถ้าเป็นหนัง ก็เป็นตลกที่ความขำเกิดจากท่าทางหรือการกระทำแปลก ๆ เช่น กางเกงหลุด เดินกางขา ฯลฯ ตัวอย่างที่ชัดเจนก็คือหนังทีวีชุด Mr Bean หลายตอนตลกตรงกิริยาท่าทางของนักแสดง เช่น ยักคิ้วหลิ่วตา ส่งเสียงประหลาด ๆ ผายลมต่อหน้าธารกำนัล
2
ขำขันที่เป็นเรื่องแต่งหรือการ์ตูนจำนวนมากในโลกตอนนี้ ส่วนใหญ่ก็ยังเป็นขำขันที่เปลือก เช่น
“คุณเป็นโรคอะไร?”
2
“ผมเป็นโรคไต-หาหัวจาม” (ตามหาหัวใจ)
1
สมัยนี้เราเรียกงานแบบนี้ว่า มุขแป้ก หรือมุขตลกคาเฟ่ ความขำอยู่ที่การเล่นคำ หรือใช้ประโยคเด็ด ๆ ส่วนใหญ่เมื่อแปลเป็นภาษาอื่น ก็ไม่มีความขำเหลืออยู่เลย
1
ขําขันในนิตยสารชัยพฤกษ์
คนที่ทำงานในวงการขายขำ ไม่ว่าเขียนขำหรือวาดขำ ต้องผลิตงานขำออกมาสม่ำเสมอ คิดแก๊ก คิดมุข ไม่ใช่เรื่องง่าย การพยายามขำให้ได้ภายในเด๊ดไลน์ไม่ใช่เรื่องสนุกแต่ประการใด
2
แต่งานก็คืองาน เมื่อถึงเส้นตาย ก็ต้องส่งงาน
นักเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ ไอแซค อสิมอฟ ก็เขียนเรื่องขำ และในช่วงหนึ่งเขาเขียนเรื่องขำขณะที่กำลังมีความทุกข์ ทว่าหน้าที่ก็คือหน้าที่ อสิมอฟก็เขียนเสร็จ ส่งงานตามกำหนด
2
นี่ทำให้เราต้องคิดว่า บางทีอารมณ์ขันอาจไม่ใช่ปัจจัยสำคัญหรือปัจจัยเดียวที่สร้างสรรค์เรื่องขำ บางทีมันอาจมีสูตรเหมือนการทำขนมเค้กหรือคุกกี้
1
ถ้ามีสูตรจริง เราจะสร้างเรื่องขำอย่างไร?
1
ผมเกิดมาโดยปราศจากต่อมขำที่ใหญ่ผิดปกติ หรือร่ำรวยอารมณ์ขัน กระนั้นผมก็เข้าสู่วงการขายขำโดยไม่ตั้งใจ หนึ่งในงานเขียนที่ต้องพึ่งพาความขำคือนิยายนักสืบชุด พุ่มรัก พานสิงห์ ใช้มุขขำจำนวนมาก เพื่อป้องกันโรคไส้แห้ง ก็ต้องพยายามขำทำมาหากิน
2
ขำขันอาจเป็นแบบแก๊ก - gag (แปลว่าขำขันหรือมุข) หรือการเล่นคำหรือประโยคเด็ด เรียกว่า punch line
1
อีกแบบหนึ่งคือเรื่องที่มีพล็อตเหมือนเรื่องสั้นขนาดสั้น ขำขันแบบนี้เหนือกว่าแก๊ก เพราะต้องออกแบบเรื่อง ตัวละคร และฉาก
1
พูดง่าย ๆ คือแบบที่ 1 คือขำขันที่เปลือก แบบที่ 2 คือขำขันที่แก่น
แบบที่ 1 ขำขันที่เปลือก มักเป็นการเล่นแก๊กหรือมุข ก็คืองานที่วางความขำที่เปลือกของเรื่อง อาจเป็นภาษา ยกตัวอย่างเช่น
นาย ก. : “หมอให้ยามากิน หายเลย”
นาย ข. : “ยาดีนะ”
นาย ก. : “เปล่า หายาไม่เจอ”
2
ขำขันแบบนี้มีแต่คนไทยเข้าใจ เพราะเล่นคำ ‘หาย’ แปลได้ทั้งโรคหายและของหาย
นี่เป็นขำขันที่เกิดจากการเล่นคำ ไม่ใช่พล็อต จึงจัดเป็นขำที่เปลือก
“เวลาเปิดตู้เสื้อผ้า อย่าเปิดดังนะ”
“ทำไม?”
“มีชุดนอนอยู่”
5
“หมอครับ ทำไมยานอนหลับนี้ไม่ได้ผล?”
“เพราะยากำลังนอนหลับน่ะซี”
1
“ไป เมื่อวานนี้ผมไปหาหมอ”
“หมอว่ายังไง?”
“พอหมอพูด ผมงี้ยืนไม่ได้เลย”
“หมอว่าคุณเป็นโรคร้ายอะไรหรือ?”
“เปล่า หมอบอกว่า เชิญนั่ง”
1
ลูกค้าถามแม่ค้าขายไข่ “ไข่อะไรที่แพงที่สุดครับ?”
“ไข่เหี้ยค่ะ”
“ไข่เหี้ยหน้าตาเป็นยังไงครับ?”
แม่ค้าชี้ไปที่กองไข่ไก่
4
“อ้าว! นี่มันไข่ไก่นี่นา ทำไมจึงบอกว่าเป็นไข่เหี้ยล่ะครับ?”
“เพราะเวลาใคร ๆ เห็นราคาแล้ว ทุกคนก็พูดเหมือนกันว่า ไข่เหี้ยอะไรวะ แพงชิบหาย”
5
ขำขันเรื่องต่อไปนี้แพร่หลายในโลกโซเชียลมาหลายปีแล้ว ฉากคือกรุงเทพฯ
1
นักท่องเที่ยวฝรั่งหลายคนเที่ยวกรุงเทพฯโดยใช้รถไฟฟ้า
จากสถานีอโศก มุ่งหน้าสู่สถานีเพลินจิต ได้ยินเสียงประกาศว่า “Next station, Plearn Shit”
2
ฝรั่งมองตากัน ยิ้ม ๆ
รถแล่นต่อไปอีก เสียงประกาศดังขึ้นว่า “Next station, Shit Lom.”
1
ฝรั่งคนหนึ่งเปรยขึ้น “ทำไมชื่อสถานีในกรุงเทพฯจึงมีแต่ shit?”
1
คนไทยที่นั่งใกล้ ๆ ตอบว่า “นี่ยังไม่เท่าไหร่ สถานีปลายทางที่เราจะไปคือ More Shit”
10
หกเรื่องข้างต้นนี้ใช้โครงสร้างเดียวกันเป๊ะ แปลงภาษาเป็นความขำ
ด้วยสูตรนี้เราก็สามารถ ‘รีเมก’ เรื่องขำได้อีกมากมาย หากต้องการให้เรื่องแตกต่างและน่าสนใจขึ้น ก็แต่งเปลือกใหม่ หรือสร้างฉากใหม่
2
ยกตัวอย่างเช่น
เขาชื่อช่วง เป็นศิลปิน มีกินบ้างไม่มีกินบ้าง แต่โชคดีหญิงสาวที่เขาหมายปองรักเขา
เธอชื่อฝน เป็นสาวงามในหมู่บ้าน แม่ของเธอเตือนเธอหลายครั้งแล้วว่าไม่ควรคบเขา
แต่ทั้งสองรักกันและแต่งงานกันในที่สุด อย่างไรก็ตาม แม่ยายก็ยังบอกลูกสาวเสมอว่า “ผัวมึงไม่ได้เรื่อง เลิกกันเถอะ”
1
วันหนึ่งลูกสาวร้องไห้กลับไปหาแม่ บอกแม่ว่า “พี่ช่วงจะฆ่าตัวตาย ต่อว่าหนูไม่รักเขาแล้ว บอกว่าเขาได้ยินว่าหนูจะทิ้งเขาไป”
“แล้วลูกจะทิ้งเขาไปจริงเรอะ?”
“เปล่าค่ะ”
“งั้นไอ้ช่วงไปได้ยินข่าวบ้า ๆ นี้มาจากไหน?”
“ได้ยินจากวิทยุค่ะ”
1
“แล้ววิทยุจะมายุ่งอะไรกับชีวิตชาวบ้านเล่า?”
“เขาบอกว่าวันนั้นได้ยินรายงานอากาศของกรมอุตุฯบอกว่า อีกสองวันฝนจะทิ้งช่วง”
9
คราวนี้มาลองดูขำขันที่ไม่เล่นกับภาษา แต่ก็ยังคงเป็นเรื่องขำแบบเปลือกเช่นกัน ขำขันตระกูลนี้เล่นกับการจบด้วยประโยคเด็ด (punch line) คือท่อนสุดท้ายที่ ‘ปิดจ๊อบ’ ทำให้ขำ ยกตัวอย่างเช่น
1
บาทหลวงถูกตามตัวไปสวดให้นักโทษประหารในคุก วิธีประหารคือใช้เก้าอี้ไฟฟ้า
1
บาทหลวงถามนักโทษว่า “ลูกจะขออะไรเป็นครั้งสุดท้ายไหม?”
“ผมกลัว ผมว้าเหว่มาก หลวงพ่อช่วยจับมือผมตอนเขาประหารได้ไหม?”
5
ในเมื่อความขำเป็น punch line ไม่ใช่โครงสร้างหลักของเรื่อง เราก็อาจแต่งเรื่องเดียวกันนี้ให้จบได้อีกหลาย ๆ แบบ ขำไม่ขำขึ้นกับต่อมขำของคนอ่าน เช่น
3
“ผมเมื่อยก้นจัง หลวงพ่อช่วยนั่งแทนผมหน่อย”
2
หรือ
“ตอนออกไป หลวงพ่อช่วยดึงเบรกเกอร์ไฟลงหน่อย”
2
ฯลฯ
2
เรื่องทั้งหมดที่ยกตัวอย่างมาข้างต้นนี้เป็นขำที่เปลือก ไม่ใช่ขำที่พล็อต สามารถเล่าใหม่นับพัน ๆ ครั้งโดยที่ผู้อ่านไม่มีทางรู้ว่ากำลังอ่านมุขซ้ำ เหมือนกับเราใช้โครงกระดูกของม้ามาปั้นแต่งรูปร่างภายนอก มันอาจออกมาเป็นม้าดำ ม้าขาว ม้าลาย ลา ยูนิคอร์น ฯลฯ
3
เปลือกนอกดูเป็นคนละเรื่อง แต่จริง ๆ แล้วเป็นเรื่องเดิม
นี่ก็คือกลวิธีของฮอลลีวูดในการทำหนังใหม่แบบ ‘เหล้าเก่าในขวดใหม่’ ขายได้เรื่อย ๆ
1
ก็มาถึงขำขันแบบที่สอง คือเรื่องที่ขำที่แก่น
เรื่องแบบนี้ใช้พล็อตเป็นตัวจุดความขำ เขียนยากกว่าแบบแรกมาก เพราะต้องวางคอนเส็ปต์ ไอเดียแบบนี้คิดไม่ง่าย ถ้าเป็นบ้าน ก็เป็นบ้านที่ออกแบบอย่างมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ไม่ใช่บ้านจัดสรร
มันเป็นเรื่องที่มีพล็อตหรือคอนเส็ปต์หรือ Big Idea ซึ่งเป็นหลักเดียวกับงานเรื่องสั้น นวนิยาย ดนตรี ภาพยนตร์ที่ดี มันยกระดับจากขำขันพื้น ๆ เข้าไปสู่พื้นที่ของวรรณกรรม เพราะต้องมีพล็อต มีการขมวดปม การคลี่คลาย เหมือนเขียนเรื่องสั้น
2
จุดแตกต่างคือต้องเป็นเรื่องสั้นหักมุมจบ
ขณะที่เรื่องสั้นหักมุมจบอาจจบแบบต่าง ๆได้ รวมถึงโศกนาฏกรรม แต่ขำขันต้องจบด้วยความขำอย่างเดียว
3
จะเห็นว่าขำขันแบบมีพล็อตทุกเรื่องในโลกก็คือเรื่องสั้นหักมุมจบ แต่ไม่ใช่เรื่องสั้นหักมุมจบทุกเรื่องเป็นขำขัน
ตัวอย่าง เช่น
เศรษฐีสามีภรรยาคู่หนึ่งงานเลี้ยงราตรีสโมสร ก่อนออกจากบ้าน ผู้เป็นภรรยาบอกหัวหน้าคนรับใช้ว่า “ดูแลบ้านให้ดีนะ” คนรับใช้หนุ่มค้อมศีรษะ “ครับ”
1
เขาเป็นคนหนุ่มหน้าตาดี ทำงานดี ไม่เกี่ยงงาน มารับตำแหน่งหัวหน้าคนใช้ในคฤหาสน์ได้สองปีแล้ว ไม่เคยบกพร่องเรื่องงาน เขามีรสนิยมดี รู้เรื่องศิลปะ แฟชั่น อ่านหนังสือมาก เขาเป็นรูปร่างสมส่วนผึ่งผาย
งานราตรีผ่านไปเรียบร้อย ผู้เป็นสามีพบรัฐมนตรีคนหนึ่ง ซึ่งชวนเขาคุยเรื่องงานต่อ เขาจึงขอให้ภรรยากลับบ้านก่อน
1
ภรรยาสาวกลับถึงคฤหาสน์ ขณะก้าวเข้าไปในห้องนั่งเล่น ก็ตะลึงเมื่อเห็นพบว่าใครคนหนึ่งกำลังเอกเขนกจิบเหล้าในห้องนั่งเล่น หล่อนจ้องเขา บอกคนรับใช้หนุ่มเรียบ ๆ ว่า “วางแก้วเหล้าลง แล้วตามฉันมา”
2
หล่อนเดินตรงไปที่ห้องนอน เขาเดินตามเจ้านายสาวไปอย่างว่าง่าย หล่อนปิดประตูห้องนอน ตรงไปที่เตียง บอกเขา “ถอดเสื้อผ้าฉันออก”
1
เสียงเขาสั่นสะท้าน “จะดีหรือครับ?”
1
หล่อนพูดเสียงเข้ม “บอกว่าให้ถอด ก็ถอดออก” คนรับใช้หนุ่มถอดเสื้อผ้าของหล่อนออกอย่างรวดเร็ว หล่อนสัมผัสรู้ว่าลมหายใจเขาแรงขึ้น
“ถอดถุงน่องของฉันออก” เขาทำตาม
6
“ถอดยกทรงด้วย”
1
แล้วยกทรงก็ปลิวลงไปกองบนพื้น
“ทีนี้ก็ถอดกางเกงในของฉันออก”
“จะดีหรือครับ?” เขาพูดซ้ำ
“บอกให้ถอดก็ถอด อย่าเถียง อย่าช้า”
มือของเขาสั่นขณะที่อาภรณ์ชิ้นสุดท้ายของหล่อนหลุดจากร่าง หล่อนจ้องตาเขา เอ่ยว่า “เข้ามาใกล้ ๆ ซิ”
1
“ครับ”
“ถ้าแกขืนเอาชุดของฉันมาใส่อีกครั้ง ฉันไล่แกออกแน่”
10
โครงสร้างเรื่องนี้คือเรื่องสั้นหักมุมจบนั่นเอง ปูเรื่องอย่างดีก่อนหักมุมแบบคาดไม่ถึง และขำ คุณลักษณะสำคัญของเรื่องแบบนี้คือเราเปลี่ยนตอนจบเป็นอย่างอื่นไม่ได้ เพราะมันไม่ใช่ตลกภาษา ไม่ใช่ตลก punch line มันออกแบบมาเป็น ‘แพกเกจ’ อย่างนี้
4
อีกหนึ่งตัวอย่าง
ครั้งหนึ่งยอดนักสืบ เชอร์ล็อก โฮล์มส์ กับหมอวัตสันคู่หูไปตั้งแคมป์ข้ามราตรีกลางธรรมชาติ
หลังจากกินอาหารเย็นแสนอร่อยกับไวน์หนึ่งขวด ทั้งสองก็เข้านอน หลายชั่วโมงผ่านไป เชอร์ล็อก โฮล์มส์ ตื่นขึ้น หันไปสะกิดเพื่อนรัก
 
“วัตสัน มองขึ้นฟ้าหน่อย แล้วบอกผมว่าคุณเห็นอะไร”
หมอวัตสันตอบ “ผมเห็นดวงดาวนับล้านล้านดวง”
“แล้วคุณอนุมานอะไรได้บ้าง?”
หมอวัตสันไม่แปลกใจที่เพื่อนถาม เพราะโฮล์มส์เป็นเจ้าแห่งการอนุมาน เขาครุ่นคิดอยู่ครู่หนึ่ง
“ในทางดาราศาสตร์ มันบอกว่ามีดาราจักรนับล้าน ๆ ข้างนอกโน้น และอาจมีดาวเคราะห์อีกจำนวนมหาศาล ในทางโหราศาสตร์ ดาวเสาร์สถิตในราศีสิงห์ ในทางศาสตร์เวลา อนุมานว่าขณะนี้เป็นเวลาประมาณตีสามสิบห้านาที ในทางอุตุนิยมวิทยา เชื่อว่าพรุ่งนี้ฟ้าจะแจ่มใส ในทางศาสนศาสตร์ ผมเห็นว่าพระผู้เป็นเจ้าทรงอำนาจสูงสุด มนุษย์เราเล็กกระจิริด และไร้ความสำคัญในจักรวาล แล้วมันบอกอะไรคุณบ้าง โฮล์มส์?”
7
โฮล์มส์เงียบงันไปขณะหนึ่ง กล่าวว่า “วัตสัน เจ้างั่ง! มีคนขโมยเต็นท์ของเราไปแล้ว”
8
ลองอ่านอีกเรื่อง
ทุก ๆ ปี ไอน์สไตน์ต้องไปพูดปาฐกถา เล็กเชอร์ตามที่ต่าง ๆ ทั่วโลก ปีละหลายสิบครั้ง บ่อยครั้งเขาก็เบื่อ เขาอยากทำงานเงียบ ๆ มากกว่า แต่ก็ต้องไป...
วันหนึ่งไอน์สไตน์นั่งรถไปพูดที่มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง และบ่นกับคนขับรถว่า เบื่อพูดเล็กเชอร์แล้ว คนขับรถบอกว่า “งั้นทำไมไม่ให้ผมขึ้นพูดแทนล่ะครับ? หน้าตาผมก็คล้ายท่าน ใส่หนวดสวมวิกผมฟู ๆ ก็เหมือนแล้ว”
2
ไอน์สไตน์ถาม “แล้วคุณจะพูดเรื่องฟิสิกส์ได้หรือ?”
1
“ทำไมจะไม่ได้ ผมได้ยินท่านเล็กเชอร์มาหลายสิบหนแล้ว อีกอย่างท่านพูดแต่ละเรื่อง ก็ไม่มีใครเข้าใจ แต่พวกเขาก็ปรบมือให้ทุกที”
6
ไอน์สไตน์บอกว่า เป็นความคิดที่ดี ทั้งสองก็ไปหาซื้อหนวดและวิก เปลี่ยนชุดกัน แล้วไปสถานที่เล็กเชอร์ คนขับรถก็ขึ้นไปพูดแทนเจ้านาย ขณะที่ไอน์สไตน์หลบอยู่ในที่นั่งแถวท้ายห้องประชุม
3
คนขับรถพูดเหมือนไอน์สไตน์ คนฟังปรบมือเป็นระยะโดยไม่รู้ว่าคนพูดเป็นไอน์สไตน์ตัวปลอม เมื่อพูดจบ นักฟิสิกส์คนหนึ่งก็ยกมือถาม เป็นคำถามยาก คนขับรถเงียบไปครู่หนึ่ง ก็ตอบว่า “คำถามนี้มันง่ายเสียจนใคร ๆ ก็น่าจะตอบได้ ผมจะให้คนขับรถของผมที่นั่งอยู่ด้านท้ายห้องตอบก็แล้วกัน”
12
โครงสร้างของเรื่องนี้เป็นเรื่องสั้นหักมุมจบที่ดี เพราะมันปูเรื่อง (คือการสลับตัว) แล้วดำเนินเรื่องไป (การเล็กเชอร์) จนถึงจุดไคลแม็กซ์ (ผู้ฟังตั้งคำถาม) ยากที่จะเดาออกว่าจะจบอย่างไร
ไม่ว่ามองในมุมของเรื่องสั้นหรือขำขัน ก็ได้คะแนนเต็ม
1
เรื่องแบบนี้เขียนยาก มันยกระดับมาตรฐานไปสูงกว่าเรื่องไข่เหี้ย ฝนทิ้งช่วง More Shit ฯลฯ ไปหลายปีแสง
1
เราสามารถใช้ขำขันสะท้อนสังคมและความคิดได้ไหม? คำตอบคือได้ แม้จะมีขำขันแบบนี้ไม่มาก
ลองอ่านขำขันเรื่องนี้ดู
หลังจากแต่งงานมาได้ยี่สิบปี ข้าพเจ้ากับภรรยาก็มีเรื่องทะเลาะเบาะแว้งเป็นประจำ บางครั้งเสียงทะเลาะกันดังได้ยินไปทั่วหมู่บ้าน
อันหมู่บ้านจัดสรรที่เราจับจองเป็นรังรักนั้นก็ไม่ใหญ่โตอะไร เมื่อทะเลาะกัน บ้านอื่นก็ได้ยิน ข้าพเจ้ากับภรรยาจึงตกลงกันว่าเวลาโกรธกัน จะไม่ใช้ปาก หากสื่อสารกันด้วยปากกา เขียนใส่กระดาษให้กัน
3
วันหนึ่งเราทะเลาะกัน ข้าพเจ้านึกได้ว่าวันพรุ่งนี้มีประชุมสำคัญของบริษัท จึงเขียนใส่กระดาษให้เธอ ข้อความว่า “พรุ่งนี้ช่วยปลุกด้วย ตอนหกโมงตรง”
2
คืนนั้นข้าพเจ้าหลับไปพร้อมเพลงโปรด วันรุ่งขึ้น เมื่อข้าพเจ้าตื่นขึ้นมานั้น เป็นเวลาเก้าโมงเช้าแล้ว ข้าพเจ้าโกรธวูบ แต่แล้วสายตาของข้าพเจ้าก็มองไปเห็นกระดาษบนโต๊ะข้างเตียง มีลายมือภรรยาของข้าพเจ้าเขียนว่า “ตื่นได้แล้ว หกโมงแล้ว”
3
เรื่องนี้ไม่เพียงขำที่แก่น ยังเป็นเรื่องสะท้อนสังคมครอบครัวด้วย
1
บางเรื่องก็สามารถสะท้อนวิธีมองโลก เป็นงาน ‘thought provoking’ ทำให้ต้องครุ่นคิดต่อ
“ใครก็ตามที่โค่นล้มจอมเผด็จการ ย่อมเป็นคนน่ายกย่อง”
1
“งั้นเราก็ต้องยกย่องฮิตเลอร์นะ”
“ทำไม?”
“เพราะเขาเป็นคนฆ่าฮิตเลอร์”
3
นี่คือการเสนอมุมมองที่คนส่วนใหญ่อาจมองไม่ถึง เมื่อเขียนเป็นขำขัน ก็ให้รสชาติแปลกดีเหมือนกัน
ลองอีกเรื่องหนึ่ง
ในทางจิตวิทยา ซาดิสท์ (sadist) คือ คนที่ชอบทำให้ผู้อื่นเจ็บปวด ส่วนมาโซคิสท์ (masochist) ​คือ คนที่ชอบให้ผู้อื่นทำร้ายตนเองให้เจ็บปวด
มาโซคิสท์บอกซาดิสท์ว่า “นี่คุณ ช่วยทำให้ผมเจ็บหน่อยสิ”
ซาดิสท์ตอบว่า “กูไม่ทำว่ะ”
5
อ่านขำขันเรื่องนี้แล้วต้องคิดนาน ๆ ถึงจะหัวเราะได้
1
งานเขียนขำขันแบบแก่นเป็นงานที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เป็นสากล อยู่ได้นาน ขำข้ามเวลา
2
ไม่ว่าเป็นงานขำขันหรืองานวรรณกรรม มันก็อาศัยฝีมือการประพันธ์เหมือนกัน หากสามารถเล่าเรื่องโดยลำดับเรื่องดี ใช้ภาษาดี มันก็จะเข้าไปสู่พื้นที่ของวรรณกรรม ก้าวพ้นจากงานธรรมดาหรืองานขำตื้น ๆ เป็นงานศิลปะ
6
ในวัยสูงขึ้น ผมกลับไปอ่านขำขันที่เคยเขียนไว้ตอนเป็นวัยรุ่น พบว่าแทบทั้งหมดไม่ขำแล้ว
แสดงว่าด้วยโลกทัศน์และมุมมองตอนอายุมากขึ้น มองโลกไม่ค่อยขำเหมือนตอนเด็ก
นี่อาจเป็นเรื่องน่าเศร้า มันแปลว่าเราอาจสูญเสียความรื่นรมย์โสภาแจ่มใสแบบเด็กไปแล้ว
3
[ติดตามข้อเขียนของ วินทร์ เลียววาริณ ได้ทุกวันที่เพจ https://bit.ly/3amiAvG และ blockdit.com]
1

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา