3 ส.ค. 2021 เวลา 09:56 • สุขภาพ
รู้จัก "ควินัว (Quinoa)" อาหารสุขภาพ ประจำกาย "สายคลีน"
เดาว่า เพื่อน ๆ หลายคนคงจะคุ้นชื่อคุ้นหูกับ ควินัว (Quinoa) ธัญพืชที่สามารถใช้ทานแทนข้าวได้
ซึ่งก็ให้พลังงานที่พอเหมาะต่อการบริโภคในหนึ่งมื้อ
ที่ดูจะยอดนิยมไปกว่าการอิ่มท้องและพลังงานเนี่ยนะ
ควินัว ยังเป็นธัญพืชที่ให้คุณประโยชน์มากมายเลยทีเดียว จนถูกจัดว่าเป็นอาหารที่อยู่ในกลุ่ม Superfood !
ฟังไปฟังมาแล้ว เราอาจเข้าใจว่าควินัวเนี่ย เป็นอาหารสมัยใหม่ ที่เพิ่งจะถูกผลิตขึ้นมา เพื่อตอบโจทย์คนที่มีไลฟสไตล์รักสุขภาพ
แต่ว่า...ไม่ใช่เลยจ้า ควินัวเนี่ย ถูกค้นพบมานาน มากกว่า 3,000 - 5,000 ปีเลยเชียวนะ !
งั้นวันนี้พวกเรา InfoStory ขอพาเพื่อน ๆ ไปรู้จักกับ "ควินัว (Quinoa)" อาหารสุขภาพ ประจำกาย "สายคลีน" แบบสบายสมองในวันหยุดกันเลยดีกว่า !
ควินัว (Quinoa) หรือ หากเราจะอ่านตามภาษาของชาวอินคาอย่างตระกูลเกชัวแล้ว ก็จะเป็น “คีนวา (KEEN-wa)”
ควินัว เมล็ดธัญพืชชนิดหนึ่ง อยู่ในจำพวกเดียวกับข้าวบาร์เลย์ ข้าวสาลี และ ผักโขม มีลักษณะเป็นเมล็ดกลม ให้คุณประโยชน์ที่สูงมาก
(ถึงแม้จะกลมคล้ายถั่ว แต่ควินัวไม่ได้เป็นถั่วหรือเกี่ยวข้องอะไรกับถั่วนะ)
อันที่จริงแล้ว ควินัว อาจเรียกได้ว่าเป็นธัญพืชเทียม หรือ Pseudo-cereal
ถ้าว่ากันตามหลักการทางวิทยาศาสตร์และพฤกศาสตร์แล้ว ควินัวจะไม่ถูกจัดว่าเป็นธัญพืชได้อย่างเต็มตัวด้วยซ้ำ เพียงแต่เมล็ดของควินัวตะหากละ ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์เป็นอาหารที่มีคุณค่าสูง นั่นเอง
ซึ่งต้นกำเนิดของควินัวนั้น ว่ากันว่าต้องย้อนกลับไปไกลถึง 5,000 ปีก่อนเลยทีเดียวนะ
ในสมัยนั้นก็จะเป็นบรรพบุรุษของชาวอินคา ในตระกูลเกชา (Quechua) และ ชาวไอมารา (Aymara)
ผู้คนในสมัยนั้นยังได้ให้คำนิยามของควินัวว่า “Mother of all grains” ซึ่งทำให้เรานึกถึงประโยคว่าแบบ ควินัวเป็นแม่ทุกสถาบันของธัญพืช (สมัยนั้นยังเรียกธัญพืชนะ)
ในเวลาต่อมา ควินัวก็ถือว่าเป็นอาหารที่บริโภคกันมาต่อเนื่องจนถูกบันทึกเป็นหลักฐานปรากฎ ให้เห็นอยู่ในยุคจักรวรรดิอินคา ซึ่งโดยมากจะนิยมปลูกกันในประเทศบริเวณเทือกเขาแอนดีส (Andes) เช่น เปรู ชิลี โบลีเวีย เอกวาดอร์ และโคลอมเบีย
อย่างไรก็ดี ชื่อเสียงของควินัว ก็เกือบจะจางหายไปพร้อม ๆ กับจักรวรรดิโบราณอย่างอินคาในปี ค.ศ. 1500
จนกระทั่ง...การบุกรุกเข้ามาของอาณานิคมชาวสเปน
แน่นอนว่ากลุ่มชาวสเปนที่แพร่ขยายมาถึงประเทศในแถบอเมริกาใต้ในประเทศเปรูและโบลิเวีย ก็ได้ถูกใจธัญพืชอย่างควินัวเป็นอย่างมาก พวกเขาจึงต้องการหาทางนำพืชสายพันธุ์นี้ กลับไปเพาะปลูกยังยุโรป
ถึงกระนั้น พวกเขาก็ประสบกับความยากลำบากเอาเสียมาก ๆ
นั่นก็เพราะ ควินัวนั้นเจริญเติบโตได้ดีที่ระดับความสูง 4,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล เท่านั้น
อุณหภูมิก็ยังต้องมีความเย็นในระดับที่เหมาะสม รวมไปถึงระดับความชื้นความแห้งของอากาศ อีกด้วย
แน่นอนว่าความพยายามที่จะนำควินัวกลับไปปลูกที่ยุโรปของชาวสเปนก็ล้มเหลวไม่เป็นท่าเลย
ก่อนที่พวกเขาจะสามารถทำสำเร็จได้ ในอีก 400 กว่าปีถัดมา (ประมาณช่วงปี ค.ศ. 1970)
ต้นควินัว
ที่พวกเขาสามารถทำได้ มันก็ไม่ได้มาจากความพยายามของชาวสเปนลูกเดียวหรอกนะ แต่มันก็มีเรื่องราวทางการเมือง การปรับเปลี่ยนระบบประเทศ การปฏิวัติต่างๆนานา ในประเทศชิลี โบลิเวีย หรือ เปรู จีงทำให้ชาวอเมริกาใต้เหล่านี้ ได้พยายามพัฒนาควินัว ที่เปรียบเสมือนจุดเด่นประจำถิ่นออกมาเพื่อสร้างรายได้อีกด้วยเช่นกัน
อีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ควินัวสามารถปลูกในพื้นที่ราบลุ่มได้ ก็มาจากการช่วยเหลือในการวิจัยและพัฒนาจากสหรัฐอเมริกาในช่วงปี ค.ศ. 1940 อีกด้วยเช่นกัน
(ขอแอบเพิ่มนิดนึง จากเรื่องราวตรงที่ชาวสเปนได้พยายามที่จะนำเจ้าพืชชนิดนี้ไปเผยแพร่ยังยุโรป ก็เป็นหนึ่งในที่มาของชื่อเรียกอย่าง ควินัว (Quinoa) ซึ่งเป็นชื่อเรียกชาว "Quechua" บรรพบุรุษของจักรวรรดิอินคา ในภาษาสเปน)
ภาพของ ชาว Quechua ที่ยังคงอาศัยอยู่บริเวณเทือกเขาแอนดีส
แล้วเพื่อน ๆ ทราบไหมว่า ควินัว ก็ยังสามารถปลูกที่ประเทศไทยได้ด้วยเหมือนกันนะ !
โดยจะนิยมทำการเก็บเกี่ยวในช่วง ปลายฤดูเก็บเกี่ยวข้าว หรือ ช่วงปลายฝนต้นหนาว นั่นเอง
แล้วทำไมควินัวถึงมีประโยชน์และจัดเป็นหนึ่งในอาหารสุขภาพที่สายคลีน จำเป็นต้องมีข้างกาย ?
โอเค คือ ควินัว ถูกจัดเป็นอาหารที่อยู่ในกลุ่ม Superfood !
สำหรับเพื่อน ๆ ที่อาจจะไม่รู้จัก Superfood
คอนเซปต์ของเขา ก็คือ อาหารจากธรรมชาติชั้นนำมากกว่า 10 ชนิด ที่ผู้เชี่ยวชาญยอมรับว่า อุดมด้วยโภชนาการที่ดีเลิศ แน่นด้วยวิตามินสำคัญ และ มีสารต้านอนุมูลอิสระ
ซึ่งอาหารที่ถูกเรียกว่าเป็น Superfood ที่เราคุ้นเคยกันก็จะเช่น
ถั่วดำ, ข้าวโอ๊ต, อะโวคาโด, ปลาแซลมอน, บลูเบอร์รี่, ดาร์กช็อกโกแลต , ควินัว, ถั่วอัลมอนด์, มัลติเกรน, ผักสีเขียว เป็นต้น
(มัลติเกรน Multigrain คือ โฮลเกรน (Whole Grain) หรือ แป้งไม่ขัดขาวและธัญพืชแบบหลากหลาย เช่น ข้าวกล้อง ข้าวหอมมะลิ และ โฮลวีท)
โอเค กลับมาที่คุณประโยชน์ที่ทำให้ควินัวถูกเรียกว่าเป็น Superfood กันอีกสักนิด
1. เป็นแหล่งโปรตีนชั้นยอด
เพราะใน “ควินัว” อุดมไปด้วยกรดอะมิโนที่สำคัญ 9 ชนิด ซึ่ง
2. มีกรดอะมิโนที่ร่างกายไม่สามารถผลิตได้ อย่างเช่น ไลซีน (Lysine)
3. กลูเตนฟรี ! เหมาะสำหรับคนที่ไม่สามารถบริโภค แป้งสาลี หรือ ข้าวสวย แป้งขนมปัง แป้งแพนเค้กต่าง ๆ ทั่วไป ได้
4. ให้พลังงานที่สูง แต่มีแคลอรี่และไขมันที่ต่ำ
มีไฟเบอร์สูง ซึ่งเส้นใยหรือไฟเบอร์ที่ว่า นอกจากจะช่วยในเรื่องของการย่อยอาหาร และการขับถ่าย
นอกจากนั้นแล้ว ควินัว ก็ยังเป็นแหล่งของวิตามินและแร่ธาตุที่สำคัญ รวมไปถึงพบสารต้านอนุมูลอิสระ
ซึ่งเป็นหนึ่งในคุณสมบัติของ Superfood นั่นเอง
ควินัวทั้ง 3 สี
ก็พอหอมปากหอมคอกันไป กับเรื่องราวของควินัว
งั้นพวกเรา InfoStory ก็ขออนุญาตพักเรื่องราวสาระสบายสมองไว้ที่ตรงนี้ 🙂
โฆษณา