Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
คีตาแห่งสยาม
•
ติดตาม
8 ส.ค. 2021 เวลา 03:47 • หนังสือ
✴️ บทที่ 1️⃣ ความท้อแท้ของอรชุน (ตอนที่ 34) ✴️
🌸 “กองทัพฝ่ายจิตวิญญาณ” กับ “กองทัพฝ่ายวัตถุ” 🌸
⚜️ โศลก 1️⃣1️⃣ ⚜️ (ตอนที่ 1)
หน้า 110 – 112
โศลกที่ 1️⃣1️⃣
ท่านทั้งหลาย จงเข้าประจํากรมกองให้ถูกต้อง เพื่อปกป้องภีษมะด้วยเถิด
“ท่านทั้งหลาย (โทรณ – สังสการ กับรี้พลผัสสอินทรีย์และพันธมิตรที่มาสนับสนุนกองทัพเการพ) จงตั้งมั่นอยู่ในที่ของตนบนทุ่งกุรุเกษตรแห่งกาย และบนสนามภายในคือจักระสมองไขสันหลังทั้งหลาย แล้วมุ่งมั่นที่จะใช้กำลังของท่านปกป้องภีษมะ – อหังการ”
ทุรโยธน์ — #ความใคร่ในกาม เป็นคนสันดานขี้ขลาด ไม่เคยมั่นใจในอาณาจักรของตน เขารู้ว่าชีวิตของตนนั่นล่อแหลม เพราะต้องพึ่งการสนับสนุนจากสิ่งจอมปลอม หรืออหังการที่ล้วนด้วยมายา อหังการนี้ยึดอยู่กับกาย เกิดตายมาหลายชาติในห้วงมหรรณพแห่งวิญญาณ กายที่ยืนหยัดนี้เองที่ทำให้กิเลสราชาเข้มแข็ง และเร่งเร้าทุกวิถีทางเพื่อให้ตนได้อยู่กับกายจิตนี้ชั่วกัลปาวสาน – เพราะ จิตนี้กับพลอันมีข้อจำกัดของมันสามารถกักขังวิญญาณให้เป็นเชลยของกามได้ ความใคร่ในกามรู้ว่า ถ้าอหังการพ่ายแพ้กองกำลังของฝ่ายสมาธิ วิญญาณจะระลึกได้ถึงภาวะอันสมบูรณ์พร้อม แล้วสามารถทำลายกองกำลังของฝ่ายกามและมายาได้อย่างสิ้นซาก
'อหังการ' (ภีษมะ) ทรงพลังอำนาจกว่าอาจารย์ของกิเลสราชา (กิเลสนิสัย) ในการใช้อิทธิพลมายาพิชิตทหารฝ่ายวิญญาณ ทุรโยธน์จึงได้ขอให้อาจารย์โทรณที่เขานับถือตั้งระวังอหังการ #แม้ว่านิสัยเลวในอดีตถูกทำลายไปแล้ว #แต่ความชั่วร้ายใหม่ๆ_หรือ_แม้แต่อหังการฝ่ายดีก็อาจถูกสร้างขึ้นมาผูกพันวิญญาณได้ ในเมื่ออหังการเป็นอำนาจหลักที่จะลวงวิญญาณให้หลงพัวพันอยู่กับเนื้อหนังและวัตถุ กิเลสราชาจึงเน้นว่าต้องปกป้องภีษมะ–อหังการอย่างถึงที่สุด เพราะเขารู้ว่าการสังหารอหังการทำได้ยาก หากมันได้รับการปกป้องอย่างแข็งขันจากโทรณ–สังสการและกองทัพอินทรีย์สัมผัส
❇️ สรุปย่อ ๆ เกี่ยวกับการจัดทัพเพื่อทำสงครามจิตวิญญาณ ❇️
การสำรวจนักรบและขุนพลคนสำคัญในกองทัพเการพและปาณฑพ ดังที่ได้พรรณนามาในโศลกที่ 4–9 แสดงให้เห็นว่ากำลังของทั้งสองฝ่ายนั้นเกือบเท่าเทียมกัน โยคีที่ตัดสินใจแน่วแน่สามารถใช้ทิพยปัญญาที่เหมาะสมสยบหรือขับไล่ความโน้มเอียงในทางชั่ว – ความใคร่ หรือ นิสัยชั่วร้ายได้ หรืออาจพูดอีกอย่างได้ว่า #ต่อให้ผู้ภักดีมีนิสัยดีอย่างไร_หากเขาเกียจคร้านเฉื่อยชาไม่ระมัดระวังเอาใจใส่ #ความชั่วก็พร้อมที่จะขัดขวางกองทัพที่มุ่งสู่การหยั่งรู้ตนตลอดเวลา
ต่อไปนี้คือการจัดทัพในสงครามจิตวิญญาณ
🔸ทหารฝ่ายวิญญาณ🔸 อยู่ที่จักระทั้งเจ็ดบนสมองร่วมไขสันหลังของมนุษย์ นั่นคือ :
1️⃣ 'สหเทพ' อำนาจที่จะปฏิบัติตามศีลธรรมในข้อห้าม (“เจ้าจงอย่า หรือ เว้นจาก”) อยู่ที่จักระกันกบ หรือ จักระดิน
2️⃣ 'นกุล' อำนาจที่จะทำตามกฎแห่งจิตวิญญาณ ในทางสร้างสรรค์ (“เจ้าจงทำ”) อยู่ที่จักระกระเบนเหน็บ หรือ จักระน้ำ
3️⃣ 'อรชุน' หรือ พลังเพลิงทิพย์ อำนาจแห่งขันติและการควบคุมตน อยู่ที่จักระบั้นเอว หรือ จักระไฟ
4️⃣ 'ภีมะ' พลังชีวิตและลมหายใจที่ควบคุมวิญญาณ อยู่ที่จักระลำตัว หรือ จักระลม
5️⃣ 'ยุธิษเฐียร' ราชาแห่งความสงบ ทิพยปัญญา อยู่ที่จักระคอ หรือ จักระอากาศ
6️⃣ 'วิญญาณ' หรือ อภิจิต สมาธิ การเป็นหนึ่งเดียวกับพระเจ้าด้วยญาณ อยู่ที่จักระท้ายสมอง และกฤษณะ หรือ บรมวิญญาณ หรือ จิตแห่งพระคริสต์ อยู่ที่จุดกึ่งกลางระหว่างคิ้วทั้งสองข้าง ซึ่งเชื่อมตรงและสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับจักระท้ายสมอง
7️⃣ 'บรมวิญญาณอันบริสุทธิ์' อยู่ที่สหัสราระ หรือ “ดอกบัวพันกลีบ” ในสมอง
🔸นักรบที่มาสนับสนุน🔸 ขุนพลเหล่านี้ดังที่พรรณนาไว้ในโศลกที่ 4–6 ได้แก่ :
1️⃣ ยุยุธาน — การอุทิศตนต่อพระเจ้า (ศรัทธา)
2️⃣ อุตตเมาชา — พรหมจรรย์อันกระปรี้กระเปร่า (วีรยา)
3️⃣ เจกิตาน — ความจำแห่งจิตวิญญาณ (สมฤติ)
4️⃣ วิราฏ — ความเกษม (สมาธิ)
5️⃣ กาศีราชา — ปัญญาแยกแยะ (ปรัชญา)
6️⃣ ทรุบท — การวางเฉยอย่างยิ่ง (ติวรสังเวค)
7️⃣ ธฤษฏเกตุ — อำนาจจิตที่จะต่อต้าน (ยม)
8️⃣ ไศพย — อำนาจจิตที่จะยึดมั่น (นิยมะ)
9️⃣ กุนติโภช — ท่ากายที่ถูกต้อง (อาสนะ)
1️⃣0️⃣ ยุธามันยุ — การควบคุมพลังชีวิต (ปราณายามะ)
1️⃣1️⃣ ปุรุชิต — การนำจิตกลับสู่ภายใน (ปรัตยาหาระ)
1️⃣2️⃣ อภิมันยุ — การเป็นนายเหนือตน (สังยม–ธารณะ, ธยาน และสมาธิ) กับ บุตรของนางเทราปตี หรือ พลังสั่นสะเทือนที่สำแดงเป็นแสงและเสียงที่จักระทั้งห้าในไขสันหลัง ซึ่งเป็นจุดสำคัญในการทำสมาธิ
มหาภารตะได้พรรณนาการจัดทัพของฝ่ายปาณฑพว่าหันหน้าไปทาง 'ทิศตะวันออก' — ตะวันออกหมายถึงปัญญา ในกายหรือกุรุเกษตร #ทิศตะวันออกจะอยู่ภายใน_ตามสายตาแห่งจิตวิญญาณผู้รู้แจ้ง
1
การจัดทัพของเการพฝ่ายชั่ว (อธรรม) หันหน้าไปทาง 'ตะวันตก' #หันออกภายนอกสู่อินทรีย์สัมผัส กำลังทัพฝ่ายนี้ รวมกับกองกำลังของปาณฑพทั้งสามที่จักระส่วนล่างของไขสันหลัง ซึ่งถูกทหารของฝ่ายกิเลสราชาผู้ใคร่ในกามยึดครองไว้ — จักระก้นกบ จักระกระเบนเหน็บ และ จักระบั้นเอว — ซึ่งควบคุมกิจกรรมทางผัสสอินทรีย์ทั้งหมด รวมถึงผิวหนังและอวัยวะทั้งหลายที่ถูกอหังการควบคุมไว้ ตลอดจนกองกำลังของประสาททั้งหลายในสมองและโพรงต่าง ๆ ในไขสันหลัง
(มีต่อ)
บันทึก
1
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ภควัทคีตา เล่ม 1 บทที่ 1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย