Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
คีตาแห่งสยาม
•
ติดตาม
15 ส.ค. 2021 เวลา 03:32 • หนังสือ
✴️ บทที่ 1️⃣ ความท้อแท้ของอรชุน (ตอนที่ 35) ✴️
🌸 “กองทัพฝ่ายจิตวิญญาณ” กับ “กองทัพฝ่ายวัตถุ” 🌸
⚜️ โศลก 1️⃣1️⃣ ⚜️ (ตอนที่ 2)
หน้า 112 – 114
◾#ความขัดแย้งเชิงอภิปรัชญาในจักระสมองร่วมไขสันหลัง ◾
ในการตีความทางอภิปรัชญาที่ลึกซึ้งไปกว่านั้น อาจพูดได้ว่า กองทัพฝ่ายปาณฑพที่ท้ายสมอง กับที่จักระทั้งห้าในไขสันหลัง เผชิญหน้าโดยตรงกับกองกำลังชั่วร้ายของฝ่ายเการพที่ “จักระทั้งหก” นี่เอง #แต่ละจักระมีหน้าที่ทั้งทางกาย_และ_ทางจิตวิญญาณ
ดังที่ได้ยกตัวอย่าง 'อรชุน' ที่จักระบั้นเอว (จักระ 3) พลังเนรมิตสร้างและสิ่งสร้างทั้งหลายแผ่ซ่านจากบรมวิญญาณ และ ในจุลจักรวาลแห่งกายมนุษย์นั้น พระเจ้าและภาพสะท้อนของพระเจ้าตลอดทั้งวิญญาณ ได้ถูกกำหนดไว้ในจักระสูงสุดทางจิตวิญญาณในสมอง พร้อมกับเครื่องปั้นชีวิตและจิตที่จักระท้ายสมองและจักระบนไขสันหลัง #ปฏิการระหว่างพลังสร้างสรรค์นานาทำให้เกิดกายกับจิตมนุษย์
เมื่ออหังการกับกำลังสนับสนุนของมันได้แก่ มายา อวิชชา ความยึดมั่น ความอยาก นิสัยเคยชิน อินทรีย์ พยายามดึงจิตและพลังใฝ่หาพระเจ้าออกไปภายนอกตลอดเวลา มนุษย์จะเห็นสิ่งหยาบหรือวัตถุว่าเป็น “สิ่งจริง” ที่พึงประสงค์และเป็นเรื่องธรรมดา ทวิภาวะ หรือ ความเป็นสองขั้วได้เกิดขึ้นแล้ว พลังฝ่ายลบของมนัสและอหังการพยายามฉุดกระแสชีวิตและการรับรู้สู่ภายนอกให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับวัตถุ — ส่วนพลังฝ่ายบวกของวิญญาณ ซึ่งพุทธิปัญญาอันบริสุทธิ์ได้เผยให้เห็นความจริง พยายามที่จะดำรงจิตและกระแสชีวิตให้อยู่ในครรลองของวิญญาณและบรมวิญญาณ
💥เมื่อโยคีผู้รู้ตื่น ใช้สมาธิ★ และการกระทำที่ถูกต้องพยายามที่จะเรียกทิพยจิตตามธรรมชาติกลับคืนมา ในแต่ละขั้นที่ก้าวหน้าไป ท่านจะพบการขัดขวางจากรี้พลของฝ่ายเการพ เมื่อชนะศึกศีลธรรมด้วยพลังต้านทานการกระทำผิด และยึดมั่นอยู่กับหน้าที่ทางจิตวิญญาณ สามารถควบคุมความวุ่นวายทั้งทางกาย ควบคุมจิตและพลังชีวิตได้แล้ว ตอนนี้ท่านยังต้องเผชิญศึกอภิปรัชญาที่จักระสมองร่วมไขสันหลัง เมื่อท่านพยายามยกจิตให้สูงขึ้นผ่านจักระบรมวิญญาณ ท่านยิ่งถูกต่อต้านอย่างหนัก #จากอำนาจการติดยึดกายจนเป็นนิสัย💥
★วิถีมีองค์แปดแห่งโยคะของปตัญชลี
◾#ความใคร่ในกามกับกองทัพของจิตอหังการที่หลงมายา◾
ผู้ยุยงให้ทำสงครามกับฝ่ายปาณฑพคือ 'ทุรโยธน์' ความใคร่ในกาม(วัตถุ) ที่จักระกระเบนเหน็บ (จักระ 2) — #ช่องปราณหลักซึ่งเป็นทางที่พลังชีวิตและจิตไหลสู่ภายนอก #เป็นที่หล่อเลี้ยงความใคร่ในอินทรีย์สัมผัส_และทำให้เกิดอหังการและการหลงวัตถุ
2
การที่ 'ทุรโยธน์' จะมีชีวิตอยู่ได้ต้องอาศัยการสนับสนุนจากภีษมะ–อหังการ (อสมิตะ) โทรณ–ความโน้มเอียงในนิสัย (สังสการ) และกฤปะ–ความหลงของบุคคล (อวิชชา) ที่จักระท้ายสมอง #จิตวิญญาณที่จักระนี้ถ้าหันสู่ภายในก็จะกลายเป็นอภิจิตแห่งวิญญาณ — #แต่ถ้าหันออกสู่ภายนอกจะกลายเป็นวิญญาณจอมปลอมกับจริตนานาของมัน
'ทุรโยธน์' ในโศลกนี้จึงได้ชักชวนรี้พลทั้งหลายของเการพให้ปกป้องอหังการอย่างเต็มความสามารถ #ต้องไม่ให้จิตมาถึงจักระนี้และหันเข้าไปภายในสู่วิญญาณและบรมวิญญาณ★ ด้วยเป้าหมายนี้กองทัพของฝ่ายเการพจึงถูกปลุกเร้า ให้กระทำการในแต่ละฐานการต่อสู้ที่จักระไขสันหลัง #เพื่อขัดขวางความก้าวหน้าทางจิตวิญญาณ ของกองทัพฝ่ายปาณฑพ
1
★ โยคะศาสตร์รู้กันมานานหลายศตวรรษแล้วว่า ท้ายสมอง (medulla oblongata) กับโครงสร้างที่ เกี่ยวข้องที่ก้านสมองมีบทบาทสำคัญต่อจิตสำนึกของมนุษย์ — ตอนนี้นักสรีรประสาทวิทยาก็ได้พูดถึงเรื่องนี้กันแล้ว เมื่อท้ายสมอง (โยคะศาสตร์เรียกว่า #ฐานจิตของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นวิญญาณหรืออหังการ) เชื่อมกับ พอนส์ วาโรลิอิ (ฐานของมนัส มนินทรีย์ส่วนล่าง) จะมีลักษณะไขว้–แนวเซลล์ประสาทที่ซับซ้อนในก้านสมองส่วนกลาง ซึ่งนักฟิสิกส์ ดร. นิก เฮอร์เบิร์ต ได้เขียนไว้ใน Elemental Mind : Human Consciousness and the New Physics (New York: Penguin Books, 1993) ว่า :
1
“ผัสสะและกลไกการทำงานของร่างกาย ต้องผ่านหย่อมเซลล์ประสาทที่กระจายอยู่นี้ เพื่อที่จะเข้าสู่สมองและออกจากสมอง... กิลเมอร์กับเพื่อนร่วมงานของเขาที่สถาบัน MIT ได้อธิบายหน้าที่ของหย่อมเซลล์ประสาทที่ไขว้กันนี้ว่าเหมือน ‘ศูนย์ประสาทที่บูรณาการความสัมพันธ์ระหว่างกลไกทางผัสสะที่ซับซ้อนกับระบบประสาทอัตโนมัติ เพื่อให้องคาพยพเหล่านี้สามารถทำงานได้อย่างเป็นหน่วยเดียวกัน แทนที่จะเป็นแค่การรวมกันของอวัยวะต่าง ๆ หน้าที่หลักของมันคือทำให้องคาพยพเหล่านี้ มีพฤติกรรมต่อกันถึงสิบหกรูปแบบ เช่น วิ่ง ต่อสู้ หลับ พูด คือมีหน้าที่กระตุ้นประสาทในช่วงเวลาแค่เสี้ยววินาทีสุดท้าย’ จึงเสมือนว่าหย่อมเซลล์ประสาทที่ไขว้กันนี้ต้องตัดสินใจแบบนาทีต่อนาทีว่าร่างกายควรจะทำอะไร
ตรงนี้คือที่อยู่ของฝ่ายบริหารส่วนกลาง ผู้มีหน้าที่เลือก คัดกรอง และเหนืออื่นใดคือมีประสบการณ์กับกิจกรรมบางอย่างที่โครงสร้างสมองส่วนอื่น ๆ เป็นผู้ดำเนินการ ตรงนี้คือจุดเริ่มของการแสวงหาความลับเกี่ยวกับจิตมนุษย์... หลักฐานทุกอย่างชี้ไปที่ข้อสรุปว่า ‘ฉัน’ ในฐานะบุคคล อยู่ในก้านสมองของฉันนี้เอง ก้านสมองซึ่งอยู่ในและรอบ ๆ หย่อมเซลล์ประสาทที่ไขว้กันอยู่นี้...วิญญาณมนุษย์เข้าสู่กายโดยวิธีใดเราไม่รู้ แต่จะต้องผ่านหย่อมประสาทเร้นลับนี้... หลักฐานที่มีสอดคล้องกับอวัยวะส่วนนี้ ได้พอดี เหมือนกับมือที่เข้ากับถุงมือเลยทีเดียว” (อ่านเพิ่มเติมในหน้า 5 และ 11)★★ (อ่านได้ที่ด้านล่างสุดครับ ผมคัดลอกมาให้แล้ว –แอดมิน–)
{หมายเหตุผู้จัดพิมพ์}
▶️ 'ทุนศาสน' – ความโกรธ, ยากที่จะควบคุม กับ ▶️ 'ชยัทรถ' – ความกลัวตาย (อภินิเวศะ) ที่จักระบั้นเอว ▶️ 'กรรณ' – ความยึดมั่นต่อการกระทำทางวัตถุ (ราคะ) กับ ▶️ 'วิกรรณ' – รังเกียจสิ่งที่ไม่น่าพอใจ (เทวษ) ▶️ 'กรรณกับวิกรรณ' – ทำให้เกิดความชอบ ความชังหรือโลภะ ตื่นตัวอยู่ที่จักระไขสันหลัง ▶️ 'สกุนิ' – การยึดมั่นอยู่กับมายา (โมหะ) ที่จักระลำตัว ▶️ 'ศัลยา' – ความโอหังเย่อหยิ่ง (มท) ที่จักระคอ
รี้พลที่สนับสนุนกองทัพของเการพในจักระทั้งหกบนสมองร่วมไขสันหลัง นับตั้งแต่ 'ภีษมะ' 'โทรณ' และ 'กฤปะ' ที่ท้ายสมองไปจนถึง 'ทุรโยธน์' ที่จักระก้นกบ จัดกำลังพลไว้อย่างแน่นหนาดังที่ได้กล่าวมาแล้ว 'กีรติวรมัน' – ความอิจฉา กายติดยึดวัตถุ 'มัตสรย' 'ภูริษรวาส' – ผลแห่งการกระทำทางวัตถุ (กรรม) 'อัศวัตถามัน' – ความอยากที่แฝงอยู่ (อาศยะ หรือ วาสนา) บุตรของโทรณ รวมทั้งคนอื่น ๆ ด้วย เหล่านี้ล้วนเป็นขุนพลและนักรบของกองทัพฝ่ายอินทรีย์สัมผัส★
★จำเป็นที่จะต้องพูดถึงนักรบแห่งทุ่งกุรุเกษตรนี้อย่างรวบรัด อย่างเดียวกับที่ปรากฏในคีตาซึ่งเน้นเฉพาะอุปมานามสำคัญ ๆ ที่จะนำโยคีสู่บรมวิญญาณ กับรี้พลของฝ่ายตรงข้าม รายละเอียดที่ไม่ได้จดจารึก เป็นสิ่งที่ผู้ภักดีจะหยั่งรู้ได้ทันทีเมื่อเขาเข้าสู่สมาธิลึก ตามโยคะสมาธิที่อาจารย์ได้สั่งสอน
✨กองทัพทั้งสองฝ่ายต่างมีอำนาจพอ ๆ กัน ต่างผลัดกันปกครองอาณาจักรกาย แต่โยคีได้ความกล้าและความพากเพียรจากความรู้ที่ว่าสุดท้ายแล้วฝ่ายธรรมะจะเป็นฝ่ายชนะ ท่านถือหลักความจริงที่ว่า การทำชั่ว หรือ ปล่อยให้ความทุกข์ซึ่งเกิดจากมายาและการกระทำที่ผิด ๆ มาครอบงำจิตใจนั้นเป็นสิ่งที่ขัดกับธรรมชาติ การประพฤติธรรมอยู่กับความประเสริฐจึงเป็นสิ่งซึ่งเป็นไปตามธรรมชาติ พระเจ้าทรงสร้างมนุษย์ตามฉายาของพระองค์ และด้วยมรดกทางจิตวิญญาณนี้เองที่ท่านมีสิทธิ์อย่างเต็มที่ที่จะเรียกร้องครอบครองคุณลักษณะแห่งบรมวิญญาณ ผู้ทรงฤทธิ์ที่สามารถพิชิตทุกสิ่ง✨
(มีต่อ)
[จากหน้า 5]
*The pons Varoli คือส่วนหนึ่งของก้านสมอง — อยู่เหนือเมดุลลา และด้านล่างของสมองใหญ่ทั้งสองซีก — เป็นตัวเชื่อมสมองใหญ่ สมองน้อยและเมดุลลา มันมีขนาดเล็ก (1 x 1 x 1½ นิ้ว) ประกอบด้วยกลไกส่งและรับสัมผัสระหว่างสมองกับส่วนอื่นๆของร่างกาย ช่องทางเหล่านี้ผ่านเข้าไปในเครือข่ายเซลล์ประสาทที่หนาแน่น ที่เรียกว่า recticular formation ซึ่งมีหน้าที่กระตุ้นกิจกรรมในสมอง และเป็นตัวควบคุมวงจรการหลับและการตื่นตลอดยี่สิบสี่ชั่วโมง พอนส์ วาโรลิอิมีโครงสร้างพิเศษที่เรียกว่า locus coeruleus (“blue place”) — กระจุกเซลล์เล็ก ๆ ที่มีสาร norepinephrine ซึ่งเป็นสารเคมีที่กระตุ้นร่างกายให้พร้อมแก่การกระทำต่าง ๆ โครงสร้างนี้เกี่ยวข้องกับการรู้สึกตัว การฝัน การหลับ และอารมณ์
[จากหน้า 11]
*ข้าพเจ้าสร้างคำ “Lifetrons” เพื่อแปลความหมายของคำว่า 'ปราณ' ในภาษาสันสกฤต ซึ่งหมายถึง “พลังชีวิต” คัมภีร์ฮินดูเอ่ยถึงคำ อณู หรือ “อะตอม” ส่วน ปรมาณู “เล็กกว่าอะตอม” — หมายถึงพลังไฟฟ้าที่ละเอียดกว่ามาก 'ปราณ' จึงหมายถึง “พลังรังสรรค์ชีวิต" อะตอมกับอิเล็กตรอนเป็น พลังฝ่ายมืดบอด ส่วนปราณนั้นมีธรรมชาติอยู่ฝ่ายปัญญา ตัวอย่างเช่น 'ปราณ' หรือ 'lifetrons' ในตัวอสุจิและไข่ จะพัฒนาตัวอ่อนไปตามการออกแบบของกรรม
บันทึก
1
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ภควัทคีตา เล่ม 1 บทที่ 1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย