Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Bnomics
•
ติดตาม
12 ส.ค. 2021 เวลา 02:09 • หุ้น & เศรษฐกิจ
เหตุใด รัฐบาลจีนจึงเข้ามาควบคุมธุรกิจสถาบันกวดวิชา
1
เหตุใด รัฐบาลจีน จึงเข้ามาควบคุมธุรกิจสถาบันกวดวิชา
นับตั้งแต่ปี 2563 ที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่ามีข่าวออกมามากมาย เกี่ยวกับการที่รัฐบาลจีนได้ออกมาเล่นงานบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ในประเทศ อาทิเช่น บริษัท Alibaba เว็บไซต์ขายปลีกและขายส่ง Tencent ผู้ให้บริการเกมชื่อดังอย่าง Arena of Valor (RoV) และ PUBG DiDi แอปพลิเคชันให้บริการเรียกรถโดยสาร Meituan แอปพลิเคชันให้บริการส่งอาหาร และ ByteDance บริษัทแม่ของ Tiktok ส่งผลให้ราคาหุ้นบริษัทเหล่านี้ลดลงอย่างมาก โดยส่วนใหญ่รัฐบาลจีนได้ออกมาให้เหตุผลว่ามีความจำเป็นจะต้องเข้ามากำกับดูแล เนื่องจากต้องการลดการผูกขาดในตลาดและป้องกันการใช้ข้อมูลผู้บริโภคในทางที่ผิด
5
อย่างไรก็ตาม ล่าสุดรัฐบาลจีนได้เปลี่ยนเป้าหมายไปจัดระเบียบธุรกิจโรงเรียนกวดวิชาที่กำลังกอบโกยเงินกันอย่างสนุกสนาน โดยออกกฎข้อบังคับใหม่ ห้ามไม่ให้โรงเรียนกวดวิชาที่ต้องการสอนหลักสูตรเดียวกับสถานศึกษาแสวงหาผลกำไรและจำเป็นที่จะต้องยื่นขอจดทะเบียนเป็น “องค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร”
2
นอกจากนั้นผู้ที่ทำธุรกิจเดิมหรือผู้ที่จะเข้ามาทำธุรกิจกวดวิชารายใหม่จะไม่สามารถระดมทุนในตลาดหุ้นได้ ทั้งนี้ยังไม่สามารถเปิดให้มีการเรียนการสอนในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ วันหยุดนักขัตฤกษ์ และในช่วงปิดภาคเรียนอีกด้วย ซึ่งข้อห้ามนี้ถือว่าขัดกับสิ่งที่เป็นอยู่ในทุกวันนี้โดยสิ้นเชิง เนื่องจากปกตินักเรียนในประเทศจีนจะต้องเรียนหนักมากกว่า 16 ชั่วโมงต่อวันและจะต้องเรียนพิเศษแม้เป็นวันหยุดเสาร์อาทิตย์
1
กฎระเบียบใหม่นี้จะมุ่งเน้นไปที่วิชาบังคับ เช่น คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และประวัติศาสตร์ การเรียนการสอนในหมวดวิชาศิลปะหรือดนตรีส่วนใหญ่จะไม่ได้อยู่ภายใต้ข้อบังคับใหม่นี้ นอกจากนั้นยังมีการห้ามนำเอาหลักสูตรของต่างชาติมาสอนและห้ามจ้างครูต่างชาติเข้ามาเป็นผู้สอนอีกด้วย
📌 ผลกระทบต่อธุรกิจ
หลังจากที่รัฐบาลจีนได้ออกมาจัดระเบียบธุรกิจกวดวิชา แผนการเข้าเสนอขายหุ้นครั้งแรก (IPO) ของหลาย ๆ บริษัทจึงต้องถูกยกเลิกไป เช่น บริษัท VIPKid และ Huohua Siwei ที่ได้รับเงินลงทุนจาก Tencent ยกเลิกการจดทะเบียนเข้าตลาดหุ้นในประเทศสหรัฐอเมริกา ในขณะที่บริษัท Zuoyebang ที่รับการสนับสนุนจาก Alibaba ก็มีแนวโน้มว่าจะพลาดเป้าหมายที่จะจดทะเบียนในปีนี้_
3 เจ้าของสถานบันกวดวิชาของจีน
ส่วนบริษัทที่อยู่ในตลาดอยู่แล้วอย่าง TAL Education Group, New Oriental Education & Technology Group Inc. และ Gaotu Techedu Inc. ราคาหุ้นก็ร่วงลงอย่างหนักตั้งวันที่ 23 ก.ค. ที่มีข่าวหลุดออกมา โดยลดลงกว่า 70%, 41% และ 63% ตามลำดับ ส่งผลให้มูลค่าทรัพย์สินของผู้ก่อตั้งทั้ง 3 บริษัทลดลงอย่างมากและหลุดโผการจัดลำดับมหาเศรษฐีของโลก
1
Zhang Bangxin แห่ง TAL Education มีทรัพย์สินลดลง 90% เหลือ 1,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
YU Minhong แห่ง New Oriental Education มีทรัพย์สินลดลง 70% เหลือ 1,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
Xiangdong Chen แห่ง Gaotu Techedu มีทรัพย์สินลดลง 96% เหลือ 390 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ราคาหุ้นบริษัทกวดวิชาในประเทศจีน
📌 ธุรกิจสถาบันกวดวิชาในจีน
คนจีนมีความเชื่อว่า “การเรียน” เป็นหนทางที่ดีที่สุดในการเปลี่ยนสถานะทางสังคมและยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นได้ การสอบเข้าสถาบันการศึกษาที่มีชื่อเสียงจึงมีความสำคัญและมีการแข่งขันสูงมาก ดังนั้นการเรียนในห้องเรียนอาจไม่เพียงพอทำให้เยาวชนจีนเป็นจำนวนมากจำเป็นต้องเรียนเสริม โดยข้อมูลจากสมาคมการศึกษาแห่งประเทศจีนได้ระบุไว้ว่านักเรียนระดับ K-12 (อายุราว 6 ถึง 18 ปี) มากกว่า 75% สมัครเข้าเรียนกับสถาบันกวดวิชา
3
ก่อนที่ทางการจีนจะเข้ามาจัดระเบียบสถาบันกวดวิชาบริษัทชั้นนำอย่าง TAL Education Group มีมูลค่าทางตลาดมากกว่า 1.3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ (4 แสนล้านบาท) ซึ่งถือว่าใหญ่มากเพราะเป็นจำนวนเกือบครึ่งหนึ่งของบริษัทจดทะเบียนที่มีมูลค่ามากที่สุดในไทยอย่าง ปตท. อย่างไรก็ตามหลังมีการออกกฎควบคุมมูลค่าทางตลาดของ TAL Education Group ก็ลดลงอย่างมากโดยเหลือมูลค่าเพียง 3.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (1.3 แสนล้านบาท) หรือลดลงกว่า 70% และถ้าหากทางการจีนไม่มีการเปลี่ยนแนวทางการดำเนินนโยบายมูลค่าทางตลาดของธุรกิจนี้ก็คงไม่กลับไปมากดังเดิมอีกต่อไปแล้ว
"เกาเข่า" การสอบเข้ามหาวิทยาลัยของนักเรียนในประเทศจีน
📌 รูปแบบการเรียนการสอนของสถาบันกวดวิชาที่ได้รับความนิยม
ในอดีตนักเรียนมักจะต้องเดินทางเข้าไปเรียนพิเศษที่สถานบันกวดวิชาตามสถานที่ต่าง ๆ แต่ในปัจจุบันเทคโนโลยีมีความก้าวหน้าและสามารถเข้าถึงได้ง่ายขึ้นทำให้เกิดการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ที่เชื่อมโยงทั้งประสบการณ์บนออนไลน์และออฟไลน์เข้าด้วยกันโดยมีชื่อเรียกว่า Online Merge Offline (OMO) Tutoring
1
การเรียนรูปแบบ OMO นี้ให้อิสระกับผู้เรียนมากขึ้นเนื่องจากผู้เรียนสามารถเลือกที่จะเดินทางเข้าไปเรียนที่สถาบันกวดวิชาก็ได้ หรือจะเรียนจากที่บ้านผ่านคอมพิวเตอร์ส่วนตัวก็ทำได้เช่นกัน
OMO Tutoring ได้รับความนิยมอย่างมากในประเทศจีนโดยเฉพาะในเมือง Tier 3 (Tier เป็นการจัดระดับเมืองต่าง ๆ ของประเทศจีนจำแนกตามขนาดของพื้นที่ จำนวนประชากร และความพร้อมด้านสาธารณูปโภค) ซึ่งมีอยู่ถึง 60 ถึง 70 เมืองและคิดเป็นอัตราส่วนของจำนวนประชากรมากกว่าครึ่ง เนื่องจากเมือง Tier 3 สามารถเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพได้ยากกว่าเมือง Tier 1 (เมืองที่พัฒนามากที่สุดทางเศรษฐกิจและสาธารณูปโภค) และ Tier 2 (เมืองใหญ่ที่มีการพัฒนารองลงมาจาก Tier 1)
นักเรียนที่มีความตั้งใจที่อยากจะเรียนในมหาวิทยาชื่อดังอย่าง มหาวิทยาลัยปักกิ่ง มหาลัยวิทยาลัยฟูตัน หรือมหาวิทยาลัยชิงหวา จึงต้องอาศัยการเรียนรูปแบบในลักษณะ OMO เป็นหลักเนื่องจากช่วยให้ลดระยะเวลาการเดินทางไปเรียนและสามารถเข้าถึงอาจารย์ผู้สอนที่มีคุณภาพได้ง่าย
📌 ทำไมรัฐบาลจีนจึงเข้ามาควบคุมธุรกิจนี้
ทางการจีน เล็งเห็นถึงปัญหาที่เยาวชนใช้เวลาหมดไปกับการเรียนมากเกินไปจนไม่มีเวลาไปทำกิจกรรมอื่น ๆ ที่ตนเองชื่นชอบหรือสนใจจริง ๆ จนก่อให้เกิดความเครียด และผู้ปกครองจำเป็นต้องเสียเงินเป็นจำนวนมากหากต้องการส่งลูกเข้าเรียนสถาบันกวดวิชาจึงได้เข้ามาตรวจสอบและควบคุมให้ธุรกิจนี้ดำเนินไปในทิศทางที่เหมาะสม
3
นอกจากนี้ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา จีนเริ่มมีความกังวลเกี่ยวกับการขาดแคลนแรงงาน หลังอัตราการเกิดมีจำนวนลดลงอย่างรวดเร็ว และจีนกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) อีกด้วย ดังนั้นทางการจีนจึงหวังว่าการเข้ามาควบคุมกิจการนี้จะเป็นอีกทางหนึ่งที่จะช่วยลดค่าใช้จ่ายของการมีบุตรลงได้บ้าง และสร้างแรงจูงใจให้คู่รักมีบุตรมากขึ้นในอนาคต
1
2
เพราะในปัจจุบันถ้าหากไปดูข้อมูลของสมาคมสังคมศาสตร์นครเซี่ยงไฮ้จะพบว่าการเลี้ยงลูกหนึ่งคนตั้งแต่เกิดจนถึงระดับมัธยมต้นจำเป็นต้องใช้เงินเฉลี่ยราว 1.3 แสนดอลลาร์สหรัฐ (4 ล้านบาท) โดยในจำนวนนี้ประมาณ 60% หรือ 2.4 ล้านบาทเป็นค่าใช้จ่ายด้านการศึกษา
New Oriental Education & Technology Group หนึ่งในสถาบันกวดวิชาชื่อดังของประเทศจีน
📌 กฎข้อบังคับช่วยให้เด็กเข้าถึงการศึกษาได้ในราคาที่ถูกลงจริงหรือเปล่า
อย่างไรก็ตามก็ยังมีข้อถกเถียงกันอยู่ว่ามาตรการควบคุมธุรกิจดังกล่าวจะใช้ได้ผลจริงหรือไม่ เนื่องจากถ้าหากจีนยังไม่สามารถสร้างมาตรฐานการศึกษาให้เท่าเทียมกันได้ทั่วประเทศ นักเรียนก็จะยังคงแข่งขันกันเพื่อสอบเข้าสถาบันการศึกษาที่มีชื่อเสียงเหมือนเดิม และบรรดาพ่อแม่ผู้ปกครองก็ยังต้องดิ้นรนหาติวเตอร์มาสอนพิเศษแบบตัวต่อตัวซึ่งมีราคาแพงกว่าการเรียนออนไลน์ หรือการเข้าไปเรียนในสถาบันกวดวิชามาก
7
3
📌 บทเรียนจากจีน
สุดท้ายนี้หากมองย้อนกลับมาที่บ้านเรา ประเทศไทยก็ถือว่าเป็นประเทศที่มีการแข่งขันทางการศึกษาสูงไม่แพ้ประเทศจีนเลยและจำนวนสถาบันกวดวิชาก็มีอยู่ไม่น้อย (กว่า 2,801 ราย ในปี 2562 แต่ลดลงมาเหลือ 1,712 ราย ในปี 2563 เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19)
1
สะท้อนให้เห็นว่าระบบการศึกษาภายในโรงเรียนนั้นอาจจะยังไม่ดีพอที่จะใช้ในการสอบวัดระดับต่างๆ และทำให้ครอบครัวที่มีรายได้มากกว่ามีโอกาสเข้าถึงการศึกษาได้ดีกว่า ตอกย้ำปัญหาด้านความเหลื่อมล้ำให้แก่สังคมไทย ดังนั้นสิ่งที่รัฐบาลจีนทำก็น่าจะเป็นแนวทางที่ดีในการพัฒนาการศึกษาสำหรับรัฐบาลไทยต่อไป
2
#รัฐบาลจีน #ตลาดหุ้นจีน #สถาบันกวดวิชา #ความเหลื่อมล้ำ
#Bnomics #Economics #เศรษฐศาสตร์เป็นเรื่องง่ายสำหรับทุกคน
ผู้เขียน : ธีระภูมิ วุฒิปราโมทย์ Economist, Bnomics
ภาพประกอบ : จินดาวรรณ อรรถมานะ Graphic Designer, Bnomics
▶︎ ติดตามช่องทางของ Bnomics ได้ที่
Website :
https://www.bnomics.co
Facebook :
https://www.facebook.com/Bnomics.co
Blockdit :
https://www.blockdit.com/bnomics
Line OA : @Bnomics
https://bit.ly/3eYkTJC
Youtube :
https://www.youtube.com/bnomics
Twitter :
https://twitter.com/bnomics_co
Bnomics - Bangkok Bank Economics
'Be an Economist for Everyone'
วิเคราะห์ เจาะทุกประเด็นเศรษฐกิจ ให้เป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ
Reference:
https://www.posttoday.com/world/659267
https://www.facebook.com/watch/?v=835849037047849
https://www.thairath.co.th/news/foreign/2153298
https://www.voicetv.co.th/read/lFqA67iM6
https://www.reuters.com/world/china/chinese-parents-fret-after-government-bans-for-profit-tutoring-firms-2021-07-26/
https://thestandard.co/china-education-stocks-drop-due-to-academic-profit-law/
https://www.blockdit.com/posts/60ffe8e033143e0c8c013969
https://www.macquarie.com/au/en/perspectives/educating-chinas-next-generation-in-a-hybrid-world.html
Bloomberg:
China to Overhaul Education Sector ‘Hijacked by Capital’
Why China Is Cracking Down Now on After-School Tutors: QuickTake
China Said to Mull Turning Tutoring Firms Into Non-Profits
30 บันทึก
30
20
48
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
B-Industry
30
30
20
48
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย