Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Health Me Now
•
ติดตาม
15 ส.ค. 2021 เวลา 04:31 • สุขภาพ
ปวดขากรรไกร ปัญหาที่ต้องรีบตัดก่อนลุกลาม
ปวดขากรรไกร คือ โรคนี้ไม่เพียงแต่เกิดจากความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร แต่อาจเกิดจากความผิดปกติของกล้ามเนื้อที่อยู่รอบๆ ข้อต่อขากรรไกร หรือกล้ามเนื้อที่ใช้ในการเคี้ยว เช่น กล้ามเนื้อ masseter, temporalis, lateral pterygoid ด้วย ข้อต่อขากรรไกรเป็นบริเวณที่เชื่อมต่อระหว่างกะโหลกศีรษะและขากรรไกรล่าง
ความผิดปกติของกล้ามเนื้อบริเวณรอบๆ ข้อต่อขากรรไกรนี้ มักเกิดจากมีการทำงานของกล้ามเนื้อบริเวณดังกล่าวมากผิดปกติ โดยเฉพาะถ้ามีความเครียด ซึ่งจะทำให้เกิดอาการปวดและมีการอ่อนล้าของกล้ามเนื้อได้ ซึ่งอาจเกิดจากใช้กล้ามเนื้อมากเกินไป หรือใช้ผิดประเภท เช่น เคี้ยวข้างใดข้างหนึ่งมากกว่าอีกข้าง เคี้ยวของแข็ง มีการสบฟันที่ผิดปกติ ทำให้กล้ามเนื้อทั้ง 2 ข้างทำงานไม่สมดุลกัน ผู้ป่วยบางรายอาจมีประวัติของการนอนกัดฟัน
เรียนรู้เพิ่มเติม
healthmenowth.com
ปวดขากรรไกร: Health Me Now
ปวดขากรรไกร คือ โรคนี้ไม่เพียงแต่เกิดจากความผิดปกติของข...
สาเหตุ ปวดขากรรไกร
สาเหตุของปวดขากรรไกร อาการปวดขากรรไกร อาจเกิดขึ้นได้จากการติดเชื้อ การนอนกัดฟัน หรือการบดฟัน เป็นต้น หากผู้ป่วยเคยได้รับบาดเจ็บหรือเคยได้รับความเสียหายบริเวณขากรรไกรมาก่อน เช่น กระดูกขากรรไกรหัก หรือขากรรไกรเคลื่อน ก็อาจทำให้ปวดกรามได้ หรือเกิดจากโรคต่าง ๆ ดังนี้
ความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร (Temporomandibular Joint and Muscle Disorder: TMD) นับว่าเป็นสาเหตุหลัก ๆ ของอาการปวดกราม TMD เป็นความผิดปกติของกระดูกข้อต่อหรือกล้ามเนื้อขากรรไกร อาจเกิดได้จากการนอนกัดฟัน โดยมักสัมพันธ์กับความเครียด การบดเคี้ยวอาหารมากเกินไป และอาจเกิดจากการบาดเจ็บทางกีฬา หากมีความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร จะทำให้ปวดบริเวณหน้า หู กรามหรือขมับ อาการปวดที่พบมักเป็นการปวดแบบ ตื้อ ๆ ตุบ ๆ หรือแปลบ ๆ ในบางครั้ง อาจปวดร้าวไปที่คอ ไหล่ และหลัง และมักปวดเพิ่มขึ้นขณะขากรรไกรทำหน้าที่ เช่น การเคี้ยว การหาว การพูด รวมถึงเมื่อทำการกดที่บริเวณนั้น ๆ นอกจากนั้นยังทำให้มีเสียงเกิดขึ้นที่ข้อต่อขากรรไกรในขณะที่อ้าปากและหุบปาก ลักษณะเสียงที่ขากรรไกรที่พบได้บ่อยคือเสียงคลิกและเสียงกรอบแกรบ นอกจากนั้นยังทำให้อ้าปากได้จำกัด บางรายอาจมีอาการขากรรไกรค้างหรือมีการหดเกร็งของกล้ามเนื้อบดเคี้ยวร่วมด้วย
โรคหัวใจขาดเลือด ผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดอาจมีอาการปวดในบริเวณอื่น ๆ รอบ ๆ หน้าอกได้เช่นคอ หลัง แขน หรือกราม หากมีอาการหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน เจ็บบริเวณอกด้านซ้าย ก็จะมีอาการปวดกรามเกิดขึ้นด้วย หากเหงื่อออก คลื่นไส้ แน่นหน้าอกหรือเป็นลมร่วมด้วย ควรรีบโทรเรียกรถพยาบาลให้มารับโดยทันที
ไซนัสอักเสบ ผู้ป่วยอาจมีน้ำมูกหรือหนองซึ่งไปสร้างแรงกดบริเวณขากรรไกรเพราะโพรงอากาศจมูกนั้นอยู่ในตำแหน่งที่ใกล้กัน จึงอาจทำให้ปวดกรามได้
1
ปวดหัวคลัสเตอร์หรือปวดหัวเป็นชุด ๆ (Cluster Headaches) ผู้ป่วยมักปวดหัวข้างเดียวและปวดบริเวณรอบ ๆ ดวงตาทำให้อาการปวดอาจลามไปถึงกรามได้
โรคปวดเส้นประสาทใบหน้า (Trigeminal Neuralgia) เป็นภาวะที่เกิดจากการบีบของเส้นประสาท ส่งผลให้มีอาการปวดบนใบหน้ารวมไปถึงกรามบนและกรามล่างด้วย
ปวดฟัน ในบางกรณีที่อาการปวดฟันนั้นรุนแรงมากหรือฟันเป็นหนองได้รับการติดเชื้อ ความปวดจะลามมายังบริเวณกราม
ได้รับบาดเจ็บบริเวณกระดูกข้อต่อขากรรไกร เช่น กระดูกหัก หรือกระดูกขากรรไกรเคลื่อน
ข้อต่อขากรรไกรคลายตัว ขณะที่ตั้งครรภ์ สารรีแลกซิน (Relaxin) จะหลั่งออกมา ทำให้ขากรรไกรคลายตัวลงและเป็นสาเหตุของอาการปวดกราม
อาการ ปวดขากรรไกร
อาจมีอาการดังต่อไปนี้
1. เจ็บหรือปวด บริเวณขากรรไกร
2. เจ็บหรือปวด บริเวณข้อต่อขากรรไกรข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง
3. เจ็บร้าวบริเวณรอบๆหู
4. เคี้ยวอาหารลำบากหรือมีอาการเจ็บเวลาเคี้ยว
5. เจ็บร้าวบริเวณใบหน้า
6. มีภาวะติดขัดของข้อต่อขากรรไกร ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งอ้าปากหรือปิดปากไม่ได้ก็ได้
การรักษา ปวดขากรรไกร
ในผู้ป่วยบางราย อาการเจ็บปวดจาก TMD อาจสามารถบรรเทาและหายเองได้ แต่ถ้าอาการไม่หาย แพทย์อาจแนะนำให้ทำการรักษาด้วยวิธีการรักษาที่หลากหลาย และอาจจะใช้มากกว่า 1 วิธีในการรักษาพร้อมกัน เช่น
1
การใช้ยาแก้ปวด ยาลดการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอย เช่น Ibuprofen
การใช้ยาคลายกังวล (Tricyclic antidepressant) เช่น Amitriptyline ยาในกลุ่มนี้ปกติแล้วจะใช้คลายเครียด ลดความวิตกกังวล แต่ในกรณีใช้ปริมาณน้อยๆ จะช่วยลดปวด ลดภาวะการกัดเค้นฟัน และช่วยให้นอนหลับได้ดีขึ้น
ยาคลายกล้ามเนื้อ (Muscle relaxants) ยากลุ่มนี้จะช่วยลดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุหนึ่งของ TMD ระยะเวลาในการใช้ยาอาจใช้เพียงไม่กี่วันจนถึงหลายสัปดาห์ขึ้นกับอาการของผู้ป่วยแต่ละราย
การผ่าตัดและทางเลือกในการรักษาวิธีอื่นๆ
ถ้าหากการรักษาแบบประคับประคองไม่ได้ผล แพทย์อาจจะพิจารณาใช้วิธีการรักษาด้วยวิธีอื่นๆ เช่น
การล้างเข้าไปภายในข้อต่อขากรรไกร (Arthrocentesis) เป็นวิธีการรักษาที่มีความรุนแรงน้อย โดยการใส่เข็มเข้าไปล้างข้อต่อขากรรไกรเพื่อกำจัดเศษเนื้อเยื่อตาย และชะล้างสารอักเสบที่เกิดขึ้นภายในข้อต่อขากรรไกรออก ซึ่งจะช่วยลดอาการของ TMD ได้
การฉีดยาเข้าข้อต่อ/กล้ามเนื้อ (Injections) ในผู้ป่วยบางรายการฉีดสเตียรอยเข้าข้อต่อขากรรไกรจะช่วยลดการอักเสบและบรรเทาอาการของ TMD ได้ อีกทั้งยังมีการฉีดสาร Botulinum toxin A เข้าไปในกล้ามเนื้อบดเคี้ยวก็มีรายงานทางการแพทย์ว่าช่วยบรรเทาอาการ TMD ได้เช่นกัน
การผ่าตัดข้อต่อขากรรไกรแบบส่องกล้อง (TMJ arthroscopy) เป็นการผ่าตัดโดยการส่องกล้องขนาดเล็กและอุปกรณ์ผ่าตัดเข้าไปในช่องว่างข้อต่อขากรรไกร เพื่อทำการวินิจฉัยและรักษาโรค TMD บางชนิด ซึ่งจะมีผลข้างเคียงหลังการผ่าตัดน้อยกว่าการผ่าตัดข้อต่อขากรรไกรแบบปกติมาก แต่เหมาะสมสำหรับการรักษาโรค TMD บางขนิดเท่านั้น
การผ่าตัดเปิดข้อต่อขากรรไกร (Open joint surgery) เป็นการรักษาที่ใช้ในกรณีที่การรักษาแบบประคับประคองไม่ได้ผล หรือมีหลักฐานแสดงที่ชัดเจนถึงการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางโครงสร้างของตัวข้อต่อขากรรไกร ซึ่งการผ่าตัดเปิดข้อต่อขากรรไกรสามารถเข้าไปทำการซ่อมแซมหรือแม้กระทั้งเปลี่ยนข้อต่อขากรรไกร แต่เนื่องด้วยการผ่าตัดแบบนี้จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาแทรกซ้อนหลักการผ่าตัดค่อนข้างมาก ผู้ป่วยและแพทย์ผู้ทำการรักษาต้องทำการสื่อสารให้เข้าใจถึงผลดีผลเสียการตัดสินใจเลือกวิธีการรักษาด้วยวิธีนี้
healthmenow
สุขภาพ
บันทึก
2
1
1
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ช่องปากและฟัน
2
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย