Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Health Me Now
•
ติดตาม
17 ส.ค. 2021 เวลา 03:59 • สุขภาพ
เหงือกอักเสบ ภัยเงียบในช่องปาก
2
เหงือกอักเสบ (รำมะนาด โรคปริทันต์) เป็นโรคที่พบได้บ่อยมากโรคหนึ่ง พบในผู้ใหญ่มากกว่าเด็ก
1
พบบ่อยในผู้ที่ขาดการดูแลสุขภาพช่องปากที่ดี ผู้ที่สูบบุหรี่ ผู้ป่วยเบาหวาน หรือเอดส์
สาเหตุ เหงือกอักเสบ
เกิดจากการรักษาความสะอาดในช่องปากไม่ดี เกิดการสะสมของแผ่นคราบฟัน (dental plaque) และหินปูน* ซึ่งจะมีเชื้อแบคทีเรียอยู่จำนวนมาก เชื้อแบคทีเรียจะปล่อยสารพิษออกมาซึมอยู่บนผิวของเหงือกส่วนที่ติดกับฟัน ทำให้เหงือกเกิดการอักเสบและบวมได้ ถ้าปล่อยทิ้งไว้แผ่นคราบฟันและหินปูนจะค่อยๆ เจาะลึกลงไปในซอกเหงือกและฟัน ในที่สุดจะมีการทำลายกระดูกเบ้ารากฟัน ทำให้ฟันโยก และเกิดถุงหนองในกระดูกเบ้ารากฟันได้เป็นฝีในฟัน เรียกว่า ฝีรำมะนาด หรือฝีปริทันต์ (periodontal abscess)
อาการ เหงือกอักเสบ
ขอบเหงือกส่วนที่ติดกับฟัน จะมีอาการบวมแดงและมีเลือดออกง่ายเวลาแปรงฟัน โดยไม่มีอาการเจ็บปวดแต่อย่างใด
เมื่ออาการลุกลามมากขึ้น จะพบว่าเหงือกร่นคล้ายกับฟันงอกยื่นยาวขึ้น ในรายที่เป็นรุนแรงจะมีอาการไข้ ปวดฟัน ปวดเหงือก เลือดออกที่เหงือก มีกลิ่นปาก
การป้องกัน เหงือกอักเสบ
เรียนรู้เพิ่มเติม
healthmenowth.com
เหงือกอักเสบ: Health Me Now
เหงือกอักเสบ (รำมะนาด โรคปริทันต์) เป็นโรคที...
นอกจากการดูแลสุขภาพช่องปากไม่ดีแล้ว โรคนี้ยังอาจเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ เช่น ฟันคุด การใช้ยาบางชนิด (เช่น เฟนิโทอินที่ใช้รักษาโรคลมชัก ไซโคลสปอริน ที่ใช้ในผู้ป่วยผ่าตัดปลูกถ่ายอวัยวะ ยาลดความดันไนเฟดิพีน เป็นต้น) การติดเชื้อเริมในช่องปาก ภาวะขาดวิตามินซี มะเร็งเม็ดเลือดขาว (ซึ่งอาจมีเหงือกบวมแดง และเลือดออกง่ายเป็นอาการนำมาพบแพทย์ก่อนอาการอื่น ๆ เป็นต้น ดังนั้นเมื่อพบผู้ป่วยมีอาการเหงือกอักเสบ ควรตรวจหาสาเหตุให้แน่ชัด
หญิงตั้งครรภ์และหญิงวัยหมดประจำเดือนมีโอกาสเป็นโรคเหงือกอักเสบได้มากขึ้น จึงควรใส่ใจดูแลสุขภาพช่องปาก และปรึกษาทันตแพทย์ให้บ่อยกว่าคนทั่วไป
ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำรวมทั้งผู้ป่วยเอดส์ อาจเป็นเหงือกอักเสบที่มีความรุนแรงมากกว่าคนปกติ ดังนั้นถ้าพบผู้ที่เป็นเหงือกอักเสบรุนแรงควรตรวจหาสาเหตุที่แฝงอยู่
โรคนี้สามารถป้องกันได้ด้วยการรักษาความสะอาดไม่ให้มีการสะสมของแผ่นคราบฟัน (แผ่นครบ จุลินทรีย์) ด้วยการแปรงฟันให้ถูกวิธีอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง และใช้ไหมขัดฟันอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง และหลังกินอาหารทุกครั้งควรบ้วนปากทันที
คนทั่วไปควรไปพบทันตแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพช่องปากและฟันทุก 6-12 เดือน ถ้าพบมีหินปูนแพทย์จะได้ทำการขูดหินปูนเป็นการป้องกันโรคเหงือกเสียแต่เนิ่น ๆ
การรักษา เหงือกอักเสบ
หากสงสัยควรส่งปรึกษาทันตแพทย์
ถ้าเป็นไม่มาก อาจรักษาด้วยการขูดหินปูนออกและใช้ยาบ้วนปากที่ผสมยาฆ่าเชื้อโรค
ถ้าเป็นมาก อาจต้องเจาะเอาหนองออก ผ่าตัด เหงือก หรือถอนฟันทิ้ง
ระหว่างที่รอปรึกษาทันตแพทย์ ถ้าเหงือกบวมและปวด สงสัยมีหนองอยู่ข้างใน อาจให้ยาแก้ปวด และยาปฏิชีวนะ เช่น เพนิชิลลินวี อีริโทรไมซิน หรือดอกซีไซคลีน รักษาเบื้องต้นไปก่อน
healthmenow
สุขภาพ
บันทึก
1
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ช่องปากและฟัน
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย