Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
วิทยาลัยการพัฒนาและฝึกอบรมด้านการบิน
•
ติดตาม
19 ส.ค. 2021 เวลา 12:14 • การศึกษา
การปฏิบัติหน้าที่ของลูกเรือในกรณีต้องลงจอดฉุกเฉิน
การปฏิบัติงานของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินในกรณีลงจอดฉุกเฉิน
โดยปกติจะแยกการลงจอดฉุกเฉินได้เป็น 2 แบบคือลงบนพื้นดิน (Ground Emergency Landing) กับการลงจอดบนพื้นน้ำ (ทะเล) ที่เรียกเป็นศัพท์เฉพาะว่า Ditching
การลงจอดทั้งสองแบบมีวิธีการเตรียมผู้โดยสารต่างกัน และขึ้นอยู่กับเวลาที่เหลืออยู่ด้วย ซึ่งกัปตันจะบอกก่อน Declare Emergency ว่าจากระดับความสูงที่อยู่ ณ ขณะนั้นจนถึงพื้น มีเวลาเหลืออยู่เท่าไหร่
ในภาวะฉุกเฉินต้องมีการเตรียมความพร้อมให้กับผู้โดยสาร หลักๆที่ต้องเตรียมผู้โดยสารคือการสอนท่ารับแรงกระแทก หรือท่า Brace for Impact รวมถึงการสอนผู้โดยสารที่นั่งอยู่ ณ ประตูทางออกให้เปิดประตู (ในกรณีพนักงานไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้) หากเป็นการลงจอดบนผิวน้ำก็ต้องสอนผู้โดยสารใส่เสื้อชูชีพ (Life Vest) รวมทั้งการแนะนำในการอพยพออกนอกตัวเครื่องบินให้เร็วที่สุด และไม่ก่อให้เกิดอันตรายกับสไลด์หรือราฟท์ หรือการกระทำที่จะขัดขวางผู้โดยสารคนอื่นๆในการอพยพ
เมื่อลงจอดฉุกเฉินแล้ว ขั้นตอนการปฏิบัติงานในการอพยพผู้โดยสารนั้นมีรายละเอียดเยอะมาก แต่ขอให้มั่นใจได้ว่าลูกเรือฝึกกันอย่างหนัก และมีการทบทวนขั้นตอนกันอย่างสม่ำเสมอ ทั้งรายปี รายสุ่ม รายก่อนบิน ละเอียดมากจริงๆ เพื่อให้มีสติมากที่สุดเมื่อเกิดภาวะฉุกเฉิน เช่น ก่อนเปิดประตูจะต้องพิจาณาอะไรบ้าง เปิดประตูแล้วสไลด์ไม่กางทำอย่างไร สั่งผู้โดยสารอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ หรือต้องเอาอุปกรณ์ฉุกเฉินอะไรติดตัวไปบ้างขณะอพยพออกจากเครื่องบิน เป็นต้น
โดย อาจารย์ปวรรัตน์ สุภิมารส (อาจารย์ปั๊ป) อาจารย์ประจำหลักสูตรธุรกิจการบิน อดีตลูกเรือสายการบิน ผู้สอนรายวิชาการบริการบนเครื่องบิน และวิชาการอพยพจากเครื่องบินในกรณีฉุกเฉิน
บันทึก
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
Emergency Landing
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย