29 ส.ค. 2021 เวลา 04:40 • หนังสือ
✴️ บทที่ 1️⃣ ความท้อแท้ของอรชุน (ตอนที่ 37) ✴️
🌸 “สังข์” : พลังสั่นสะเทือนภายในสนามของการต่อสู้ในสมาธิ 🌸
⚜️ โศลก 1️⃣2️⃣ ⚜️
หน้า 118 – 120
🌸 สังข์: พลังสั่นสะเทือนภายในสนามของการต่อสู้ในสมาธิ 🌸
โศลกที่ 1️⃣2️⃣
‘ภีษมะ’ ผู้อาวุโสสูงสุดและทรงอำนาจที่สุดของฝ่ายเการพ ได้เป่าสังข์กังวานเสียงสีหนาทเพื่อปลุกใจทุรโยธน์ให้ร่าเริง
‘ทุรโยธน์–กิเลสราชา’ ไม่ได้รับการตอบสนองอย่างทันท่วงทีจากอาจารย์ ‘โทรณ–นิสัย’ ทั้ง ๆ ที่เขาได้กล่าวแก่อาจารย์โทรณ (โศลกที่ 11) ว่า “ขอให้ทหารฝ่ายจิตที่ว้าวุ่น (ฝ่ายเการพ) ประชุมพร้อมกันเพื่อปกป้องอหังการ (ภีษมะ)” เมื่อเห็นว่าโทรณไม่มีปฏิกิริยาใด ๆ และด้วยความตั้งใจที่จะทำให้ราชาผู้ใคร่ในกามมีใจร่าเริง ไม่ท้อถอย ‘ภีษมะ–อหังการ’ ผู้รู้ทุกอย่าง จึงได้ส่งแรงสั่นสะเทือนของความลำพอง กับการตัดสินใจอันแน่วแน่โดยการ “เป่าสังข์” #ด้วยลมหายใจที่ว้าวุ่นเพื่อผูกกายไว้_และทำลายความนิ่งของสมาธิลึก★
★ ปรมหังสา โยคานันทะเขียนไว้ว่า “#กระแสจักรวาลมากมายมหาศาลที่ไหลบ่าเข้าสู่มนุษย์โดยลมหายใจนั้น_ทำให้จิตไม่สงบ ลมหายใจจึงเชื่อมโยงมนุษย์กับปรากฏการณ์ไร้ความจีรังของโลก #การจะพ้นจากความทุกข์เนื่องจากความไม่จีรังและเข้าสู่อาณาจักรอันเกษมแห่งความจริงแท้นี้ได้ #โยคีต้องเรียนรู้ที่จะทำให้ลมหายใจสงบด้วยสมาธิศาสตร์” (Whispers from Eternity จัดพิมพ์โดย Self-Realization Fellowship)
◾พันธมิตรของ ‘นิสัย’ ‘อหังการ’ และ ‘ความใคร่ในกาม’◾
‘โทรณ–นิสัย’ ถูกนำเสนอให้เห็นว่าไม่เต็มใจนักที่จะต่อสู้กับฝ่ายปาณฑพ ทั้งนี้ ก็เป็นดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่า เขาไม่แค่เป็นอาจารย์ของเการพฝ่ายอธรรมเท่านั้น — แต่ยังเป็นอาจารย์ของปาณฑพฝ่ายธรรมด้วย
ดังนั้นจนกว่าที่ #โยคีจะมั่นคงในการหยั่งรู้ตน โทรณ–จริตนิสัยในตัวท่านย่อมมีทั้ง ‘สังสการฝ่ายดีและฝ่ายชั่ว’ รวมกันอยู่ (นิสัยที่ติดมาแต่ชาติปางก่อน ซึ่งจะสำแดงเป็นนิสัยในชาติปัจจุบัน) อย่างไรก็ตาม ในเมื่อโทรณ–นิสัย ได้เข้าอยู่ฝ่ายเดียวกับเการพ–หรือนิสัยที่ติดยึดกายกับจิตที่โน้มไปทางชั่ว เขาจึงตั้งใจที่จะปกป้องกองทัพฝ่ายเการพ ในการศึกกับนิสัยฝ่ายดีและจริตแห่งปัญญาญาณที่จะมาทำลายล้างนิสัยชั่วช้า
💢“ธรรมชาติของนิสัย” คือ #การกระทำสิ่งที่ตนคุ้นเคยไปอย่างอัตโนมัติ มันจะทำตามรูปแบบเดิมซ้ำ ๆ ไม่สนใจคำสั่งใหม่ ๆ ของความอยาก เมื่อนิสัยเลวถูกท้าทาย สัญชาตญาณปกป้องตนเองทำให้มันมีพฤติกรรมราวกับพร้อมจะขยี้นิสัยดีและความตั้งใจดี ไม่มีเวลาสนใจแรงกระตุ้นที่จะให้ความร่วมมือกับการกระทำที่มองการณ์ทั้งหลายอย่างกว้างไกล #นิสัยเลวจึงเป็นนิสัยที่ทำลายตนเอง เพราะมันแวดล้อมอยู่ด้วยการปักใจเชื่ออย่างคับแคบ มองอะไรสั้น ๆ ชีวิตต้องขึ้นอยู่กับบทบาทของความใคร่ในวัตถุและอหังการผู้เป็นใหญ่💢
ตัวอย่างเช่น ในสงครามจิตวิทยาระหว่าง ‘นิสัยซึ่งไหลไปกับความเย้ายวน’ กับ ‘นิสัยควบคุมตนเอง’ ถ้านิสัยควบคุมตนเองเข้มแข็งกว่า มันก็จะสยบความเย้ายวนได้อย่างง่ายดาย แต่นิสัยดีมักรู้สึกว่าเป็นเรื่องยากที่จะเอาชนะกองทัพความอิ่มหนำสำราญที่รุกเข้ามาตลอดเวลา ทั้งยังชักนำให้เกิดความใคร่ใหม่ ๆ ในวัตถุ และเสริมพลังให้แก่อหังการที่โน้มไปหาฝ่ายกาย #ถ้าอหังการไม่ยึดกาย_ความใคร่ในวัตถุก็จะไม่มี — #และถ้าไม่มีความใคร่_สังสการหรือนิสัยก็ไม่มี ในทางกลับกัน ถ้าไม่ได้รับการปกป้องจากนิสัยและความใคร่ในวัตถุ “อหังการก็อาจถูกสังหารได้”
◾จิตที่ยึดกายอยู่ได้ด้วยลมหายใจที่ปั่นป่วน◾
ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันตนเอง อหังการจึงเรียกร้องให้จับอาวุธ ในบริบทของคีตาโศลกนี้ บอกความหมายว่า “ในช่วงสมาธิลึก” #เมื่อลมหายใจสงบ_จิตเกิดภาวะสงบเบิกบาน_ถอนตนออกจากอินทรีย์สัมผัส — #อหังการที่วิตกกังวลจะเร้าผู้ภักดีให้คิดถึงกาย_ทำให้ลมหายใจปั่นป่วนขึ้นมาอีก
💢เสียงหายใจนี้เหมือนเสียงสิงโตคำรามเมื่อเปรียบเทียบกับความสงบสงัดของสมาธิภายใน ทันทีที่ผู้ภักดีกลับสู่การหายใจ “ตามปกติ” ซึ่งขึ้นอยู่กับ ‘การหายใจเร็ว’ (“การเป่าสังข์” #ซึ่งทำให้เกิดเสียงวัตถุขึ้นในจิตด้วยพลังสั่นสะเทือนของอากาศ) ความใคร่วัตถุในกายถูกปลุกให้ตื่น ร่าเริงในการที่จะนำผัสสอินทรีย์เข้าประจัญบานกับอำนาจสมาธิ💢
💥ผู้ภักดีอย่าเพิ่งท้อใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ ซึ่งเกิดจากขาดการปฏิบัติสมาธิอย่างต่อเนื่องยาวนาน ในความเป็นจริงก็คือ “ในการปฏิบัติสมาธิขั้นแรกๆ” ผู้ภักดีทุกคนรู้สึกว่ามนินทรีย์อันจำกัดของตน ‘ขัดขืน’ ไม่ยอมขยายตัวสู่พระองค์ผู้ทรงสถิตทุกที่ทุกกาล — อหังการ ‘โดยกำลังของความใคร่ในวัตถุ’ และ ‘กองทัพของมัน’ #ใช้กลยุทธ์ทุกอย่างเพื่อขับจิตเกษมของบรมวิญญาณอันสถิตอยู่ทุกที่ทุกกาล #ซึ่งจะสำแดงพระองค์ในความนิ่งแห่งสมาธิเท่านั้น
1
💥แรงสั่นสะเทือนใด ๆ ที่อหังการส่งออกมาในช่วงการทำสมาธิ ล้วนช่วยปลุกความใคร่ในวัตถุให้กลับมีชีวิตในจิตสำนึกแห่งกาย และขับไล่จิตแห่งบรมวิญญาณออกไป แต่เมื่อเพ่งนานขึ้น ลึกขึ้น #โยคีที่เข้าฌานต้องเรียนรู้ที่จะอยู่ในแดนลมหายใจและอินทรีย์ที่สงบ (ซึ่งเป็นสิ่งที่ได้มายาก) ไม่ว่าอหังการกับกองทัพอินทรีย์ความใคร่ในวัตถุจะพยายามขัดขวางอย่างไรก็ตามที
(จบ — โศลกที่ 12)

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา