1 ก.ย. 2021 เวลา 01:08 • การศึกษา
ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ ตอนที่ 4 "กลไกป้องกันตัวทางจิตใจ"
ภาพจาก https://pin.it/6AAFHGG
Defense Mechanisms(กลไกการป้องกันทางจิต) คือ กระบวนการของจิตใจทีใช้ป้องกันหรือลด ความขัดแย้งภายในจิตใจ ภาวะจิตใจที่ไม่สมดุล
ในที่นี้จะข้อยกมาเฉพาะตัวที่มีความสำคัญและพบได้บ่อย
1. Repression คือการที่ Ego เก็บและกด แรงของ Id ให้พ้น Consciousness ทำให้บุคคลนั้นจะไม่รู้สึกถึงแรงกระตุ้นดังกล่าว นักจิตวิเคราะห์เชื่อว่าจะไม่ลืมถ้าไม่เก็บกด
การเก็บกดทำให้ Id สงบลงได้ แต่อย่างไรก็ตาม แรงผลักดันของ Id จะพยายามหาทางขึ้นมาระดับ Conscious ซึ่งการที่ Ego จะใช้พลังงานกด แรงผลักดัน Id จะทำให้ Ego อ่อนแอไปด้วย
แรงของ Id อาจเพิ่มขึ้นในกรณีต่างๆ เช่นเมื่อเข้าสู่วัยรุ่น จะมีการทำงานของฮอร์โมนมากขึ้น
นอกจากนี้ การผิดหวัง หรือการไม่ได้รับการตอบสนองจะเพิ่มแรงผลักดันของ Id หรือการยั่วยวน ไม่ว่าทางเพศหรือความโกรธ ย่อมจะเพิ่มพลังของ Id
1
1936 แอนนา ฟรอยด์ กล่าวว่า Repression เป็นกลไกหลัก ส่วนกลไกอื่นๆ เป็นตัวเสริม การเก็บกดเท่านั้น
2. Suppression มีความใกล้เคียงกับ Repression เพียงแต่บุคคลนั้น มีเจตนาที่จะลืมด้วยความตั้งใจของตนเอง
3. Reaction Formation คือการทำในสิ่งที่ตรงข้าม เช่น คนที่โหดร้ายแต่แสดงออกในรูปของความเมตตา
โดยทั่วไป Reaction Formation จะเกิดก็ต่อเมื่อมีสิ่งที่สังคมไม่ยอมรับ มาเปลี่ยนเป็นการแสดงออกที่สังคมยอมรับ
การที่จะแสดงออกแบบไหน อยู่ที่ว่า Ego กลัวอะไร
ข้อสังเกต พฤติกรรมที่เกินพอดี มักจะมาจากกลไก Reaction Formation
Reaction Formation จะเกิดใน Unconscious พฤติกรรมหน้าไหว้หลังหลอก ไม่ถือว่าเป็น Reaction Formation
4. Isolation คือ การแยกอารมณ์ ออกจากความคิด ความจำ ประสบการณ์ ความปรารถนา โดยมากความคิดที่ถูกแยกจะเป็นความคิดที่น่ากลัว หรืออันตราย เมื่อความคิดถูกแยกออกจากกัน จะเกิดสภาวะ "ว่างเปล่า" ขาดการปะติดปะต่อ
5. Undoing คือ การลบล้างหรือหักล้างการกระทำที่ไม่ดี ส่วนมากจะเกิดใน Unconscious
การกระทำที่เป็นบาปมักมาจากความปรารถนาของ Id อาจเป็นเรื่องของ Sex หรือ Aggressive
เช่น เด็กที่อิจฉาน้อง เด็กอาจจะตีสิ่งของ และการจูบวัตถุนั้น เพื่อลบล้างสิ่งที่ตนกระทำ
การกระทำซ้ำๆ หรือพิธีศาสนา "Ritual" ก็ใช้กลไก Undoing เป็นแบบ Magical Thinking เป็นความคิดของเด็กเล็ก
6. Denial การปฏิเสธ สิ่งที่ทำให้เจ็บปวด หรือไม่สบายใจโดยใช้วิธีฝัน หรือจินตนาการเอาตามใจชอบ หรือโดยพฤติกรรม
เช่น เด็กกลัวพ่อมาก เพราะตัวใหญ่กว่า แข็งแรงกว่า เด็กอาจบอกว่าเขาเป็นนักมวยที่เก่งที่สุดในโลก
7. Projection การเอาความคิด ความรู้สึก ความปรารถนาของตนโยนให้ผู้อื่น (พบในคนปกติ และคนไข้หวาดระแวง)
ถ้าใช้มากจนทำให้ การเข้าใจสภาพแวดล้อมเสีย ถือว่าเป็นโรคจิตหวาดระแวง
8. Identification การเลียนแบบเหมือนบุคคลตัวอย่าง จะเกิดขึ้นในระดับ Unconscious
เช่น ลูกจะมีลักษณะนิสัยที่เหมือนพ่อแม่
9. Introjection การที่ทำอะไรผู้อื่นไม่ได้ก็หันมาเล่นงานตัวเอง พบบ่อยๆในเด็ก
เช่น เด็กโกรธพ่อแม่แต่ทำอะไรพ่อแม่ไม่ได้ ก็จะตบตีทำร้ายตัวเอง
นักจิตวิเคราะห์ ถือว่า คนนั้นมี Unconscious Identification กับคนที่อยากทำร้ายด้วย
10. Regression การถดถอยกลับไปในวันเด็ก ถ้าเหมาะสมจะเกิดสมดุลของ Id และ Ego แต่ถ้าไม่จะเกิด Conflict ใหม่อาจทำให้เกิดโรคจิตเวชได้
เช่น พี่ที่อิจฉาน้อง อาจกลับไปสู่ การฉี่รดที่นอนได้ ทั้งๆที่ ก่อนหน้านี้ไม่เคยเกิดขึ้น
11. Sublimation การที่ Ego หาสิ่งที่ทดแทนที่ยอมรับไม่ขัดกับสังคม สามารถตอบสนองความต้องการของ Id ในระดับ Unconscious ได้ด้วย
เช่น คนที่มีแรงขับ Aggresive ก็มาประกอบอาชีพหมอ
หรือเด็ก 2-3 ขวบ ชอบเล่นอุจจาระ แต่ครอบครัวไม่ชอบ เด็กจะหันมาเล่นดินน้ำมัน เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ อาจจะกลายเป็นนักปั้น นักแกะสลัก สถาปนิก หรือแม้แต่แพทย์ที่เกี่ยวข้องกับลำไส้ ก็มีรากฐานมาจากนี่
โฆษณา