Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
A WAY OF LIFE : ทางผ่าน
•
ติดตาม
4 ก.ย. 2021 เวลา 01:32 • ปรัชญา
"ธรรมะ คือ ... "
"... คนรุ่นหลังเรา คำว่าปฏิบัติธรรมมันเพี้ยน
มันเป็นความหมายที่แคบลงเรื่อย ๆ
อีกหน่อยถ้าไม่มีใครท้วงติงไว้แล้ว
อีกหน่อยเหลือแต่นั่งสมาธิ
หรือเดินจงกรมคือการปฏิบัติ
ถ้าไม่ได้นั่งสมาธิ ไม่ได้เดินจงกรม
ไม่เรียกว่าปฏิบัติ
3
2
จริง ๆ นั่งสมาธิเดินจงกรม
มันเป็นแค่วิธีการที่จะภาวนา ภาวนาคือการเจริญ
เจริญสติ เจริญปัญญา แค่วิธีการ
เราไปหลงวิธีการจนกระทั่งคิดว่ามันคือหลักการ
คือทั้งหมด
2
ชาวพุทธไม่ได้ทำแค่ทำสมถะวิปัสสนา
ชาวพุทธก็ทำหน้าที่ของตัวเอง หน้าที่ต่อครอบครัว
หน้าที่ต่อชุมชน พัฒนาตัวเองไป
ฉะนั้นการที่เราอยู่บ้าน ทำมาหากินอยู่ด้วยความสุจริต
เราได้ปฏิบัติธรรมอยู่แล้ว อันนี้เป็นโลกิยธรรม
2
ส่วนถ้าเราอยากพ้นจากโลก เราก็มาฝึกให้หนักขึ้น
เข้มงวดในการรักษาศีล เข้มงวดในการฝึกสมาธิ
ขยันขันแข็งในการเจริญปัญญา
ถ้าเราทำได้ก็เดินไปสู่โลกุตตระ
ศีล สมาธิ ปัญญานั่นล่ะ เป็นมรรค
มรรคก็คือหนทางไปสู่ความดับสนิทแห่งทุกข์
ฉะนั้นที่เราปฏิบัติธรรม ๆ สูงสุดก็คือเพื่อดับทุกข์
เพื่อความดับสนิทของทุกข์นี่เป้าหมายสูงสุด
ในทางโลกิยธรรมก็คือเพื่อจะดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างดี
แล้วก็เกื้อกูลที่วันหนึ่งเราจะสามารถพัฒนาจิตใจตัวเอง
ไปสู่ความดับสนิทแห่งทุกข์ได้
อย่างถ้าเราติดยาเสพติด กินเหล้าเมายาอะไรอย่างนี้
โอกาสที่จะพัฒนาตัวเองต่ำมาก
ฉะนั้นโลกิยธรรมควรทำไว้ ปฏิบัติให้สม่ำเสมอ
1
แล้วก็ถ้ามีโอกาส
ก็ศึกษาลงมือปฏิบัติธรรมที่จะไปสู่โลกุตตระ
เป็นโลกุตตรธรรม มีศีล มีสมาธิ มีปัญญานี่ล่ะ
สะสมไป ศีล สมาธิ ปัญญาเกิดได้ด้วยสติ
แล้วจริง ๆ กระทั่งโลกิยธรรม เราจะทำได้ดีก็ต้องมีสติ
อย่างถ้าเราขาดสติ เดี๋ยวก็เผลอคบคนไม่ดีไปแล้ว
ใครมาประจบสอพลออะไรอย่างนี้ก็คบเขาชื่นมื่นไป
ไม่มีสติ ไม่มีปัญญาที่จะยั้งคิด
ว่าอันไหนควร อันไหนไม่ควร
หรือมีแต่ข่าวเฟคนิวส์ทุกวันนี้เต็มบ้านเต็มเมืองเลย
เราไม่มีสติ ไม่มีปัญญา เรากลั่นกรองไม่ออก
อันไหนจริง อันไหนไม่จริง
อันไหนควรเชื่อ อันไหนไม่ควรเชื่อ
ที่สำคัญคืออันไหนควรเสพ อันไหนไม่ควรเสพข่าวสาร
นี่เป็นธรรมะที่อยู่กับโลก
ธรรมะเพื่อที่จะพ้นจากโลก
ธรรมะพ้นโลกก็มีสติไว้ แต่ไม่ใช่สติธรรมดา
สติสำหรับจะพ้นโลก เราต้องรู้ก่อนโลกคืออะไร
สิ่งที่เรียกว่าโลก คือรูปนาม
รูปนามที่สำคัญคือรูปนามของเราเองนี้ล่ะ
ก็คือกายกับใจเรานี่เอง
ถ้าเราสามารถปล่อยวางความยึดถือในกาย
ปล่อยวางความยึดถือในใจได้
เรียกเราพ้นโลกแล้ว พ้นโลก
ฉะนั้นคำว่าโลก ๆ ก็คือตัวรูปตัวนามสำหรับนักปฏิบัติ
สำหรับนักเรียน นักศึกษาก็เป็นอีกเรื่อง
โลกก็เป็นโลกที่เขารู้จักกัน โลกภูมิศาสตร์
แต่คำว่าโลกสำหรับผู้ปฏิบัติที่อยากได้โลกุตตรธรรม
ต้องเข้าใจสิ่งที่เรียกว่าโลกก็คือ รูปนาม
พระพุทธเจ้าท่านมีชื่ออีกชื่อหนึ่งว่าโลกวิทู
ผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง บางทีเราก็นั่งเพ้อ ๆ ไปว่า
ท่านรู้ทุกเรื่องเลย ท่านอาจจะรู้ก็ได้
แต่คำว่าโลกที่ท่านแจ่มแจ้งคือ รูปนาม นั่นเอง
ท่านรู้แจ้งตรงนี้ แล้วท่านรู้แจ้งสิ่งที่เหนือโลก
คือ พระนิพพาน
ฉะนั้นพวกเราอยากได้โลกุตตระ
โลกุตตระก็คำว่า โลกกับอุตตร
โลกก็รู้แล้วคือรูปนาม อุตตรแปลว่าเหนือ อุตตร
คนไทยใช้คำว่าอุดร ทิศอุดรก็คือทิศเหนือ
โลกุตตรธรรมก็คือธรรมที่อยู่เหนือโลก
ธรรมที่อยู่เหนือโลกก็คือ
สภาวะที่ไม่ยึดถือในรูปธรรม ในนามธรรม
สภาวะที่ไม่ยึดถือในกายในใจ
จิตมันพ้นจากความยึดถือในกายในใจได้
เราจะพ้นความยึดถือกายยึดถือใจได้ ต้องทำอย่างไร
เราต้องเห็นความจริงของกาย
เห็นความจริงของจิตใจก่อน
1
ความจริงของกาย ความจริงของใจ คือไตรลักษณ์
กายนี้ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
จิตนี้ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
1
การที่เราตามรู้ตามเห็นความจริงของกายของใจ
ว่าเป็นไตรลักษณ์ อันนั้นล่ะเรียกว่าวิปัสสนากรรมฐาน
เป็นการฝึกที่จะเห็นความจริงของรูป นาม กาย ใจ
พอเราเห็นความจริงของรูป นาม กาย ใจแล้ว
จิตมันจะคลายความยึดถือ ปล่อยวาง หลุดพ้น
จิตก็หลุดพ้นจากรูป รูปมีอยู่ แต่จิตไม่ยึด
นามธรรมมีอยู่ กระทั่งตัวจิตก็มีอยู่ แต่ไม่ยึดถือ
1
จิตที่พ้นความยึดถือ เป็นจิตอีกชนิดหนึ่ง
เป็น โลกุตตระ โลกุตตรจิต
จิตมีทั้งฝ่ายที่เป็นโลกิยะ ฝ่ายที่เป็นโลกุตตระ
ฉะนั้นเราจะพ้นโลก คือพ้นรูปพ้นนามได้
เราต้องเห็นความจริงของรูปนาม
ว่าเป็นไตรลักษณ์
1
วิธีที่จะทำให้เราเห็นความจริงของรูปนาม
ว่าเป็นไตรลักษณ์คือการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน
เราจะเจริญวิปัสสนากรรมฐาน
เราไปดูวิธีปฏิบัติ อยู่ในเรื่องของสติปัฏฐาน
มีสติรู้กายในกายเนืองๆ
มีสติรู้เวทนาในเวทนาเนือง ๆ
มีสติรู้จิตในจิตเนือง ๆ
มีสติรู้ธรรมในธรรมเนืองๆ
กายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม
มันเป็นศัพท์เทคนิค เป็น technical terms
กายในกาย เวลาเราจะเรียนรู้กาย
เราไม่ต้องเรียนรู้ทั้งหมดของกาย
ไม่ถึงขนาดต้องเรียนกายวิภาค
รู้กระทั่งเส้นเลือด เส้นเอ็น เส้นประสาท ทุกสิ่งทุกอย่าง
อันนั้นให้หมอเขาเรียน
กายในกายเป็นการสุ่มตัวอย่าง เรียนกายบางอย่าง
ถ้าเข้าใจแล้วก็จะเข้าใจรูปนามทั้งหมด
เวทนาในเวทนาก็เหมือนกัน ถ้าเราเรียนเวทนา
สุ่มตัวอย่างมาเรียน เรียนเวทนาบางอย่าง
ถ้าเราเข้าใจ เราก็จะเข้าใจเวทนาทั้งหมด
แล้วก็เข้าใจจิตที่รู้เวทนาทั้งหมดด้วย
เวลาเราเจริญจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน
เราดูจิตในจิต จิตมีจำนวนมหาศาล
แต่ว่าเราไม่ต้องเรียนทั้งหมด
เราเรียนจิตที่มันเกิดบ่อย ๆ
อย่างถ้าคนไหนขี้โกรธ จิตโกรธเกิดบ่อย
เราก็เรียนอยู่ 2 อย่างพอ
จิตเดี๋ยวก็โกรธ เดี๋ยวก็ไม่โกรธ
เดี๋ยวก็โกรธ เดี๋ยวก็ไม่โกรธ เรียน 2 อย่าง
สุ่มตัวอย่างมาเรียน 2 อย่างนี้
พอเข้าใจ ก็จะเข้าใจว่าจิตทั้งหมดนั่นล่ะ
ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวเรา
เรียนธรรมในธรรม คำว่าธรรมะคืออะไร
พูดยากเลยใช่ไหม ธรรมะคืออะไร ตอบได้ไหม
ธรรมะคืออะไรไม่ค่อยมีการตอบ
แต่พยายามอธิบายธรรมะด้วยการแจกแจงแยกแยะว่า
กุสลาธัมมา อกุสลาธัมมา อัพยากตาธัมมา
1
คำว่าธรรมะคำเดียว แยกได้ 3 อย่าง
ธรรมะที่เป็นกุศล ธรรมะที่เป็นอกุศล
ธรรมะที่ไม่ใช่กุศลไม่ใช่อกุศล
อะไรอย่างนี้ พยายามแยกคำว่าธรรมะ
เพราะฉะนั้นธรรมะกว้างขวางมาก
รวมทั้งโลกุตตรธรรมด้วย ก็อยู่ในธรรมะ
ธรรมะยังแยก 2 กลุ่มก็ได้
ถ้าแยกแบบกุศล อกุศล
แบบเป็นกลาง ไม่เป็นกุศลอกุศล นี่แยกแบบหนึ่ง
แยกอีกอย่างหนึ่งก็ได้
ธรรมะที่เป็นความปรุงแต่ง
อย่างขันธ์ 5 เรา รูป นาม กาย ใจเรานี้
เป็นธรรมะที่อยู่ในกลุ่มของความปรุงแต่ง
เรียกว่าสังขตธรรม
กับธรรมะที่พ้นจากความปรุงแต่ง อสังขตธรรม
คือพระนิพพาน
นี่เป็นการพยายามแยกคำว่าธรรมะ
ไม่อย่างนั้นเราก็งง ได้ยินคำว่าธรรมะแล้วไม่รู้คืออะไร
จะเรียนธรรมะทั้งหมด มันเหลือวิสัยที่จะเรียน
ท่านก็สอนให้สุ่มตัวอย่างมาเรียน
ถ้าเราเป็นพวกกิเลสแรง กิเลสเยอะอะไรอย่างนี้
เราก็ดูนิวรณ์ นิวรณ์มันเป็นกิเลสเบื้องลึกในใจเรา
เป็นตัวขวางตัวกั้นความเจริญทางจิตใจ
นิวรณ์มันซ่อนอยู่ คอยขวาง
อย่างเช่นเวลาเราทำสมาธิ ก็ฟุ้งซ่าน
ก็ขวางการทำสมาธิ
เวลาเราจะเจริญเมตตา โทสะมันก็มาแทรก
คิดไปในทางพยาบาทอะไรนี่
ความเมตตาที่เราพยายามเจริญก็ล่มจมลงไป
ฉะนั้นนิวรณ์เป็นตัวขัดขวางคุณงามความดีทั้งหลาย
2
ถ้าเราเจริญธัมมานุปัสสนา แล้วมาเรียนสุ่มตัวอย่าง
มาเรียนที่พระพุทธเจ้าสอน มาดูนิวรณ์
ตัวไหนที่มันมาขัดขวางคุณงามความดีของเรา
เรียนรู้มัน เรียนรู้ลงไปถึงเหตุถึงผลเลยว่า
ทำไมมันเกิด ทำไมมันไม่เกิด เรียนรู้อย่างนี้
เรียกว่าเจริญธัมมานุปัสสนา ยาก
2
หรือถ้าจิตเราเป็นกุศลเยอะ
พระพุทธเจ้าท่านก็สุ่มตัวอย่างให้
ท่านก็สอนเรื่องโพชฌงค์ 7
โพชฌงค์เป็นองค์แห่งการตรัสรู้
เป็นธรรมะฝ่ายกุศลชั้นเลิศ 7 ข้อ สุ่มตัวอย่างมาเรียน
เรียนธรรมะฝ่ายกุศลอยู่ 7 ข้อนี้ ก็รู้ว่า
สติสัมโพชฌงค์เกิดได้อย่างไร อะไรทำให้มันไม่เกิด
วิริยสัมโพชฌงค์เกิดได้อย่างไร อะไรทำให้มันไม่เกิด
อันนี้ลึกๆ ลงไป ธัมมานุปัสสนาที่ละเอียดที่สุดก็คือ
การเรียนรู้อริยสัจ 4 หรือปฏิจจสมุปบาท
หรืออริยสัจ ก็คือเรื่องเหตุกับผลนั่นล่ะ
เรื่องเหตุกับผล ทำเหตุอย่างนี้ มีผลอย่างนี้
ทำเหตุอย่างนี้ มีผลอย่างนี้ ไม่ทำอย่างนี้ ผลอันนี้ก็ไม่มี
ถ้ามันยากไปเราก็เรียนธรรมะ เจริญสติ เจริญปัญญา
อยู่กับธรรมะที่พอทำได้
อย่างกาย เวทนา จิต 3 อันนี้พอทำได้
จะดูกาย อันนี้มีเงื่อนไข
ควรเข้าฌานก่อนจนจิตเป็นอุเบกขา
ในพระไตรปิฎกจะพูดถึงเข้าฌานจนกระทั่งถึงฌานที่สี่
จิตเป็นอุเบกขาแล้วท่านก็ใช้คำว่า
โน้มน้อมจิตดวงนั้นไปเพื่อให้เกิดญาณทัศนะ
1
ตรงที่ฝึกจิตจนกระทั่งมันถึงอุเบกขาในฌาน
เป็นการทำสมถะเต็มรูปแบบ
แล้วก็ตอนออกมา จิตมันยังมีสมาธิ
มีอุเบกขาทรงตัวอยู่ไม่เกิน 7 วัน แล้วก็เสื่อม
บางทีกำลังเราอ่อน ก็อยู่ได้ 1 – 2 วัน
ตรงที่มันเป็นอุเบกขา เวลามันไปรู้สภาวะ
เห็นรูปธรรม เห็นนามธรรม
แสดงไตรลักษณ์อะไรอย่างนี้ มันจะรู้ซื่อ ๆ
รู้แบบไม่เข้าไปแทรกแซง
1
ถ้าสมาธิเราไม่ดี จิตเราไม่เป็นอุเบกขา
มันจะคอยแทรกแซง
เช่น เห็นอกุศลก็แทรกแซง ทำอย่างไรอกุศลจะดับ
เห็นกุศลก็แทรกแซง ทำอย่างไรกุศลจะอยู่ตลอด
อะไรอย่างนี้
มันจะยินดีบ้างยินร้ายบ้าง เพราะไม่มีอุเบกขา
1
ถ้าเข้าฌานถึงฌานที่สี่
อันนี้เหมาะที่สุดเลยกับการทำวิปัสสนากรรมฐาน
เพราะจิตจะเป็นกลางจริง ๆ
1
แต่ถ้าทำไม่ได้ก็ใช้ขณิกสมาธิ
ขณิกสมาธิเราก็ฝึกเอา สมาธิทีละขณะๆ นี่ล่ะ
ฝึกบ่อย ๆ จิตจะทรงตัวเป็นผู้รู้อยู่ตลอดเวลาเลย ... "
1
.
หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม
22 สิงหาคม 2564
1
ติดตามการถอดไฟล์บรรยายฉบับเต็มจาก :
เยี่ยมชม
dhamma.com
โลกิยธรรมและโลกุตตรธรรม
การปฏิบัติธรรมมันไม่ใช่เรื่องแค่สมถะวิปัสสนา เมื่อไรเราทำตามคำสอนของพระพุทธเจ้า อะไรที่ท่านสอนไว้ เราเอาไปทำ ก็เรียกว่าเราปฏิบัติธรรมทั้งหมด
ขอบคุณรูปภาพจาก : Unsplash
12 บันทึก
21
10
13
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ธรรมะเพื่อความพ้นทุกข์
12
21
10
13
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย