4 ก.ย. 2021 เวลา 05:53 • ประวัติศาสตร์
อินเดียยุคโบราณ
9
นักบรรพมานุษยวิทยา (Paleoanthropology) ได้ค้นพบซากหัวกะโหลกของมนุษย์ยุคดึกดำบรรพ์ (Fossil) ของ โฮโม อีเร็คตัส (Homo Erectus) ซึ่งเป็นเผ่าพันธุ์ที่คล้ายกับมนุษย์ปัจจุบัน คือมีสันหลังตั้งตรง (Upright Man) เป็นมนุษย์กลุ่มแรกสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่เดินตรงอย่างเต็มตัว
10
อยู่ในช่วงกลางของยุคหินเก่า (Paleolithic age) (2.5 ล้านปี ถึง 10,000 ปีก่อนโดยประมาณ) ซึ่งเป็นยุคที่มนุษย์เริ่มมีนวัตกรรม (Innovation) การนำหินมาใช้เป็นอาวุธและเครื่องมือต่างๆ
10
อ้างอิง (1): Prins, Harald E. L.; Walrath, Dana ; McBride, Bunny. Evolution and prehistory: the human challenge. Wadsworth Publishing, 2007. p. 162.
6
ภาพที่ 1: Credits to https://ultraverse.fandom.com/wiki/Homo_erectus
ปีพุทธศักราช 2525 นักบรรพมานุษยวิทยาได้ค้นพบซากหัวกะโหลกของมนุษย์ยุคดึกดำบรรพ์ (Fossil Hominid Calvaria) ของ โฮโม อีเร็คตัส นาร์มาเดนซิส (Homo Erectus Narmadensis) และอยู่ในช่วงกลางของยุคน้ำแข็ง (The Ionian หรือ The Middle Pleistocene) ซึ่งได้มีการปักหลักตั้งถิ่นฐานมานานระหว่าง 5 แสนถึง 6 แสนปีมาแล้ว
10
ภาพที่ 2: คนทั่วไปจะรู้จักมนุษย์ชวาและมนุษย์ปักกิ่ง แต่น้อยคนจะรู้จักมนุษย์นาร์มาดาในอนุทวีปอินเดีย
ณ หมู่บ้านฮาธโนระ (Hathnora) บริเวณทราบตอนกลางที่ราบลุ่มแม่น้ำ นาร์มาดา (Narmada) ของตอนกลางอินเดีย (Indian Subcontinent) ปัจจุบันคือ รัฐมัธยประเทศ (Madhya Pradesh) นับเป็นการค้นพบหลักฐานโบราณคดีทางมนุษยวิทยาเก่าแก่มากอีกแห่งหนึ่งของโลก
10
ภาพที่ 3: หัวกระโหลกแตกบ่งบอกลักษณะเฉพาะของมนุษย์นาร์มาดา พบครั้งแรกและมีประเภทเดียวในอินเดีย
ยังมีการค้นพบร่องรอยของโครงกระดูกและเครื่องมือที่เป็นของมนุษย์ในยุคปัจจุบันเรียกว่า โฮโม ซาเปียน (Homo Sapien) นั้น ที่รัฐทมิฬนาดู (Tamil Nadu) ทางแถบตอนใต้ของอินเดีย (ภายนอกดินแดนอาฟริกา) ในยุคหินกลาง (Mesolithic Age) ช่วงเวลา 300,000 - 30,000 ปีที่ผ่านมา
10
ภาพที่ 4: ตัวอย่างส่วนหนึ่งของเครื่องมือทั้งหมดที่ถูกขุดพบจากสมัยยุคหินกลาง (Middle Palaeolithic) ของศูนย์การศึกษามรดกชาร์มา (Sharma Centre for Heritage Education) ของอินเดีย
กับอีกแห่งขุดพบได้ที่รัฐ มัธยประเทศ (Madhya Pradesh) เป็นกระดูกมนุษย์ซึ่งมีอายุประมาณ 9,000 ปีมาแล้วตรงกับยุค หินใหม่ (Neolithic Age) และตรงบริเวณจุดเดียวกันยังมีการพบภาพเขียนบนผนังถ้ำมากมายหลายแห่งซึ่งสันนิษฐานว่าป็นผลงานของมนุษย์ในยุคสมัยนั้น
10
ภาพที่ 5: ถ้ำหมายเลข 4 ณ อดัมกฤห์ (Adamgarh rock shelter) อินเดีย
ส่วนร่องรอยมนุษย์ในยุคต่อมานั้นมีอายุประมาณ 7,000 ปีมาแล้ว พบอยู่ตรงบริเวณแม่น้ำ สินธุ (Sindhu) บาโลจีสถาน (Balochistan) ประเทศปากีสถาน (Pakistan) มนุษย์ในรุ่นนี้เริ่มมีอารยธรรมขึ้นแล้ว เนื่องจากพบว่ามนุษย์ในยุคนี้เริ่มรู้จักสร้างที่อยู่อาศัยแบบถาวร รู้จักการเลี้ยงสัตว์ การปศุสัตว์ และการกสิกรรม นับเป็นร่องรอยของมนุษย์แห่งแรกในบริเวณนี้ที่มีความเจริญอย่างแท้จริง
10
และท้ายที่สุดประมาณ 5,000 ปีก่อน ซึ่งอยู่ในยุค สำริด หรือ สัมฤทธิ์ (Bronze Age) ตั้งอยู่บริเวณสองฝั่งแม่น้ำสินธุ จึงเรียกชนกลุ่มที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานและสร้างความเจริญให้กับผืนแผ่นดินบริเวณนี้เป็นกลุ่มแรกว่า “อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ”
11
ภาพที่ 6: การขุดซากเมืองโบราณโมเฮนโจดาโร (Mohenjo-daro) จังหวัดสินธ์ (Sindh) ปากีสถาน แสดงถึงระบบระบายน้ำสาธารณะ และการวางผังเมือง บนฝั่งขวาของแม่น้ำอินดุส (Indus) ซึ่งได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกจากองค์การ UNESCO World Heritage Site
เรียบเรียง: ก้องภพ ปัญญาเลิศสินไพศาล
#ประวัติศาสตร์อินเดีย
10

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา