Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Health Me Now
•
ติดตาม
6 ก.ย. 2021 เวลา 09:11 • สุขภาพ
ปวดฟัน...มันไม่สนุกนะ
อาการเจ็บปวดหรือการอักเสบด้านในหรือรอบๆ ฟัน มักเกิดจากฟันผุหรือการติดเชื้อ เป็นโรคทีพบได้ประมาณร้อยละ 80 ของคนทั่วไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กที่ชอบกินน้ำตาลหรือของหวานและไม่ได้แปรงฟันให้สะอาด
4
สาเหตุทั่วไปของอาการ ปวดฟัน
การปวดฟันอาจมีสาเหตุที่ไม่ได้มาจากโรคพื้นเดิม ตัวอย่างเช่น การกัดของแข็ง การใช้ไหมขัดฟัน
การมีบางอย่างติดอยู่ในซอกฟันหรือเครื่องมือจัดฟันเกิดจากการมีเศษอาหารค้างอยู่ตามซอกฟัน หรือมีน้ำตาล (จากอาหารที่กิน) ค้างคาอยู่ในปาก สัมผัสถูกฟันเป็นเวลานาน ทำให้แบคทีเรีย (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Streptococcus mutans) ที่อยู่บนแผ่นคราบฟัน ย่อยสลายเศษอาหารพวกแป้งและน้ำตาลให้เกิดเป็นสารกรดซึ่งสามารถกัดกร่อนผิวฟันทีละน้อย จากชั้นเคลือบฟันภายนอกเข้าไปในเนื้อฟันจนทะลุถึงชั้นโพรงประสาทฟันก็จะทำให้เกิดอาการปวดฟัน หรือฟันอักเสบเป็นหนอง สำหรับในเด็กถือเป็นเรื่องปกติในกระบวนการเจริญเติบโต
เรียนรู้เพิ่มเติม
healthmenowth.com
ปวดฟัน: Health Me Now
อาการเจ็บปวดหรือการอักเสบด้านในหรือรอบๆ ฟัน มักเกิดจากฟ...
การป้องกัน ปวดฟัน
หลีกเลี่ยงการอมหรือจิบของกินที่มีน้ำตาล (เช่นทอฟฟี่ ลูกอม น้ำตาล น้ำผึ้ง ของหวาน น้ำหวาน น้ำผลไม้ นม เป็นต้น) ต่อเนื่องนาน ๆ หากกินของเหล่านี้หลังกินควรรีบบ้วนปากทันทีอย่าให้มีน้ำตาลตกค้างอยู่ในปาก ผู้ที่ฟันผุง่ายควรลดการกินของเหล่านี้
แปรงฟันให้ถูกวิธี อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ใช้ไหมขัดฟัน (dental floss silk) ขัดฟันอย่างน้อยวันละครั้ง และหลังกินอาหารทุกครั้งควรบ้วนปากทันที
ใช้ฟลูออไรด์ อาจเป็นในรูปของยาเม็ด ยาอมบ้วนปาก หรือยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ ถ้าใช้ชนิดกิน ควรปรึกษาทันตแพทย์ถึงขนาดและวิธีการใช้ เพราะถ้าใช้มากไปอาจทำให้ฟันตกกระหรือกินขนาดสูงมากๆ อาจเป็นพิษต่อร่างกายได้ ฟลูออไรด์จะเสริมสร้างผิวเคลือบฟันให้แข็งแรง แต่จะได้ผลดีสำหรับเด็กตั้งแต่แรกเกิดถึง 14 ปี ซึ่งเป็นช่วงที่ฟันกำลังเจริญเติบโต
ควรไปพบทันตแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพช่องปากและฟันทุก 6-12 เดือน
การรักษาอาการ ปวดฟัน ด้วยตนเอง
การใช้ไหมขัดฟันและการแปรงฟันเป็นประจำเพื่อกำจัดเศษอาหารที่ทำให้เกิดความระคายเคืองอาจช่วยลดอาการปวดฟันได้ การใช้ยาบรรเทาปวดอาจช่วยบรรเทาอาการได้ชั่วคราว แต่ทางที่ดีควรจำกัดการใช้ยาเฉพาะที่ที่มี Benzocaine
ขณะที่มีอาการปวด ให้กินยาแก้ปวด ระงับชั่วคราว ถ้ามีการอักเสบหรือเป็นหนอง ให้ยาปฏิชีวนะ เช่น เพนิซิลลินวีอะม็อกซีซิลลิน หรืออีริโทรไมซิน ควรแนะนำไปพบทันตแพทย์ เพื่อทำการอุดฟันหรือถอนฟัน
ปวดฟัน เมื่อไหร่ควรพบทันตแพทย์
ไปพบทันตแพทย์ในกรณีต่อไปนี้
มีอาการนานกว่า 1-2 วัน
ทำงานหรือกิจกรรมประจำวันไม่ได้
ไปพบทันตแพทย์ทันทีในกรณีต่อไปนี้
มีไข้
เหงือกแดงหรือบวมหรือสิ่งที่ไหลออกมามีกลิ่นเหม็นเน่า
กลืนหรือหายใจลำบาก
อาการบาดเจ็บของฟัน
โรคที่เกี่ยวกับอาการ ปวดฟัน
ฟันผุ
พื้นที่ในฟันที่เสียหายอย่างถาวรซึ่งเกิดเป็นรูเล็กๆ การแสดงอาการ:
ปวดฟัน
ฟันหลุด
เสียวฟัน
อาการเสียวฟันไวเกิน
ภาวะที่เจ็บปวดเมื่อมีการสัมผัสส่วนในของฟัน (เนื้อฟัน) การแสดงอาการ:
ปวดฟัน
ความเจ็บปวด
ฟันคุด
ภาวะที่ฟันไม่งอกขึ้นมาจากเหงือกได้เต็มที่ (ฟันขึ้น) การแสดงอาการ:
ปวดฟัน
ฟันผุ
เลือดออกตามไรฟัน
โรครำมะนาดการ
ติดเชื้อของเหงือกที่รุนแรงซึ่งทำลายเหงือกและอาจทำลายขากรรไกร การแสดงอาการ:
ปวดฟัน
ลมหายใจมีกลิ่นเหม็น
อาการบวม
เหงือกอักเสบ
โรคเหงือกชนิดหนึ่งที่ทำให้เหงือกอักเสบ การแสดงอาการ:
ปวดฟัน
เลือดออกตามไรฟัน
ฟันโยก
healthmenow
สุขภาพ
ปวดฟัน
2 บันทึก
2
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ช่องปากและฟัน
2
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย