9 ก.ย. 2021 เวลา 06:21 • สุขภาพ
ปากนกกระจอก ไม่กระจอกตามชื่อ
ปากนกกระจอก หมายถึง อาการแผลเปื่อยที่มุมปากอาจมีสาเหตุจากภาวะขาดวิตามินบี 2 โรคเชื้อรา ภาวะขาดโปรตีน ขาดธาตุเหล็ก  การติดเชื้อแบคทีเรีย โรคผื่นแพ้กรรมพันธุ์  เป็นต้น
ในที่นี้จะกล่าวเฉพาะสาเหตุจากภาวะขาดวิตามินบี 2 ซึ่งปัจจุบันพบได้ไม่บ่อยนัก  เป็นโรคที่ไม่มีอันตรายร้ายแรง แต่บงชี้ถึงภาวะขาดสารอาหาร
สาเหตุ ปากนกกระจอก
ภาวะขาดวิตามินบี 2 หรือไรโบฟลาวิน (riboflavin) ส่วนใหญ่จะพบในเด็กที่เป็นโรคขาดอาหาร หรือกินอาหารที่มีวิตามินบี 2 ใน ปริมาณน้อย นอกจากนี้  ยังอาจพบในผู้ป่วนโรคพิษสุรา โรคตับหรือท้องเสียเรื้อรัง  ผู้ที่มีอาการเบื่ออาหาร  หรือมีความผิดปกติของการดูดซึมของลำไส้
อาการ ปากนกกระจอก
ผู้ป่วยจะมีอาการเป็นแผลเปื่อย  ลักษณะเป็นสีเหลืองๆ ขาวๆ ที่มุมปากทั้ง 2 ข้าง อาจพบอาการอักเสบของเยื่อบุริมฝีปาก (ริมฝีปากมีลักษณะแดง แห้งหยาบบาง และแตกเป็นร่องๆ) ลิ้น (มีลักษณะเป็นสีม่วงแดง)
นอกจากนี้ อาจมีภาวะซีด กระจกตาอักเสบ (ตาแดง กลัวแสง น้ำตาไหล) ผิวหนังอักเสบ ทีเรียกว่า seborrheic dermatitis ซึ่งผิวหนังบริเวณหู ตา จมูก  อัณฑะ ปากช่องคลอด มีลักษณะเป็นมัน เป็นผื่นแดง  มีสะเก็ดเป็นมัน
การป้องกัน ปากนกกระจอก
โรคนี้สามารถป้องกันได้ด้วยการกินอาหารที่มีวิตามินบี 2 เช่น เนื้อสัตว์ ปลา ถั่ว นม ไข่แดง ตับ ผักใบเขียว เป็นต้น
การรักษา ปากนกกระจอก
ให้กินวิตามินบี 2 หรือวิตามินบีรวมวันละ 1-3  เม็ด  จนกว่าจะหาย
ถ้าไม่ได้ผล  ควรตรวจหาสาเหตุอื่น ในวัยกลางคนขึ้นไปอาจเกิดจากโรคเชื้อรา

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา