7 ก.ย. 2021 เวลา 09:26 • ไลฟ์สไตล์
ก่อนจะสรรหาเรื่องราวมาเล่า ให้เห็นถึงจุดที่ชีวิตแต่ละชีวิต มาพบกับจุดพลิกผันที่จะเลือก และส่งผลถึงการเปลี่ยนแปลงในชีวิต ก็อยากจะนำเรื่องราวดี ๆ ที่คล้ายกับแนวคิดนี้มาให้อ่านไปก่อน นั่นคือ สรุปหนังสือ เรื่อง "กลยุทธ์จุดกระแส" (THE TIPPING POINT) แต่งโดย Malcolm Gladwell (คอลัมนิสต์แห่งหนังสือพิมพ์ เดอะ นิวยอร์กเกอร์ และนักเขียนชื่อดัง เจ้าของผลงาน Outliers และ What the Dog Saw) CR ภาพจาก Freepik.com
“เราจะทำความเข้าใจแนวคิดเรื่องจุดพลิกผันได้ก็ต่อเมื่อเราเปลี่ยนวิธีการมองโลก" - Malcolm Gladwell
หนังสือนี้ พูดถึงแนวคิดที่เรียบง่ายซึ่งเป็นหนทางที่ดีที่สุดในการทำความเข้าใจกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน โดยเหตุการณ์ต่างๆเหล่านี้มีจุดๆหนึ่งที่ทำให้ทุกอย่างมันพลิกผันไปจากหน้ามือเป็นหลังมือ เราเรียกจุดนี้ว่า จุดพลิกผัน (The Tipping Point)
จริงๆ คำว่า Tipping Point เป็นศัพท์ทางการแพทย์ที่เกี่ยวกับโรคระบาด หมายถึง ณ จุดหนึ่งที่เชื้อโรคแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว และกลายเป็นโรคระบาดอย่างฉับพลัน อันเนื่องมาจากสภาวะบางอย่างที่เปลี่ยนแปลงไป โดยการเปลี่ยนแปลงนี้ถึงแม้ว่าจะเป็นเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ แต่ทว่ากลับก่อให้เกิดผลกระทบที่ยิ่งใหญ่ได้
 
จุดพลิกผันก็คือจุดที่ทำให้อะไรบางอย่างเปลี่ยนแปลงไปจากหน้ามือเป็นหลังมือ ซึ่งหลายๆครั้งที่จุดพลิกผันที่ดูยิ่งใหญ่เหล่านี้ต่างๆ มีจุดเริ่มต้นขึ้นมาจากเรื่องเพียงเล็กน้อยเท่านั้น และหนังสือเล่มนี้จะพูดถึงเรื่องนี้ นั่นก็คือวิธีที่จะใช้สิ่งเล็กๆน้อยๆเหล่านั้น สร้างจุดพลิกผันขึ้นมาเพื่อให้กลายเป็นปรากฎการณ์เปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่
ในหนังสืออธิบายถึงปรากฎการณ์ต่าง ๆ เหล่านี้ว่าล้วนมีต้นกำเนิดมาจาก “จุดเล็ก ๆ” ที่คนมักมองข้าม แต่กลับทำให้เกิดการลุกลามกลายเป็นกระแสได้ในชั่วข้ามคืน ซึ่ง “จุดเล็ก ๆ” ที่ว่านี้มีองค์ประกอบ 3 อย่าง ก็คือ
1. กฎว่าด้วยคนส่วนน้อย (The Law of Few) : การกระทำบางอย่างดูเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่สามารถสร้างผลกระทบได้อย่างกว้างขวาง จุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ๆหลายๆครั้งก็เริ่มต้นขึ้นมาจากเรื่องเล็กน้อยๆ เพราะเรื่องเล็กน้อยเหล่านี้มีความชัดเจนและน่าสนใจในตัวมันเอง
2. ปัจจัยแห่งการติดหนึบ (The Stickiness Factor): หมายถึงการทำให้ข่าวสารและข้อมูลต่างๆที่เราต้องการจะสื่อออกไปนั้น ติดหนึบอยู่ในความคิดของผู้รับข้อมูล คงไม่มีประโยชน์อะไรมาก ถ้าเมื่อเวลาผ่านไปสิ่งที่เราพูดออกไปไม่มีคนจำมันได้เลย ในที่นี้เรียกปรากฎการณ์แบบนี้ว่าไม่ติดหนึบ
3.พลังแห่งบริบท (The Power of Context) : มนุษย์เรามักจะคิดว่าสิ่งต่างๆที่เราเป็นอยู่นั้นเกิดขึ้นมาจากภายในตัวเรา แต่ผู้เขียนบอกว่าไม่ใช่ สภาพแวดล้อมภายนอกต่างหากที่มีผลกระทบต่อเรามากที่สุด อธิบายง่ายๆก็คือ เหตุผลที่เราชอบสิ่งนั้นสิ่งนี้ เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ นั่นเพราะว่าเราได้รับผลกระทบจากสภาพแวดล้อมภายนอกตัวเราทั้งนั้น และนี่เรียกว่าพลังแห่งบริบท เช่น สาเหตุที่คนๆหนึ่งชอบกินทุเรียนเป็นเพราะว่าเขาอาจจะอยู่ในประเทศที่นิยมกินทุเรียนหรือครอบครัวของเขาชอบกินทุเรียน เป็นต้น
ขอเพียงเราเข้าใจองค์ประกอบทั้งสาม ก็จะเริ่มมองเห็น “จุดเล็กๆ” ที่ไม่เคยมีใครมองเห็นมาก่อน และสามารถจุดกระแสทุกอย่างให้ลุกลามออกไปได้
เนื้อหาจากเว็บของตลาดหลักทรัพย์ https://www.maruey.com/article/contentinbook/473

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา