24 ก.ย. 2021 เวลา 02:12 • ปรัชญา
"ปัญหาคนละส่วนกับทุกข์"
" ... เวลามีความอยากเกิดขึ้น
ความทุกข์ถึงจะเกิดขึ้น
แล้วเวลาปัญหาเกิดขึ้นความทุกข์ยังไม่เกิดหรอก
ต้องเกิดความอยาก เกิดตัณหาเสียก่อน
ก็คืออยากให้มันไม่มีปัญหา นั่นล่ะตัวตัณหา
ถ้าใจเรายอมรับได้โลกมันเป็นอย่างนี้
กระเพื่อมขึ้นกระเพื่อมลง
ได้มาเสียไปเป็นเรื่องธรรมชาติของโลก
ใจยอมรับตรงนี้ได้ ใจไม่ได้มีตัณหาเกิดขึ้นใจก็ไม่ทุกข์
ปัญหาส่วนปัญหา แต่ใจไม่ทุกข์
เราสามารถอยู่กับโลกที่วุ่นวายได้ โดยใจไม่ทุกข์
ตัวที่ทำให้ใจเราทุกข์คือ ตัวตัณหา
ฉะนั้นตัวที่ทำให้ใจเราทุกข์ขึ้นมาทุกครั้งที่โลกมีปัญหา
ก็คือตัวตัณหา ตัวความอยากนั่นเอง
เรามีสติรู้ทันลงไป ใจมันอยากขึ้นมารู้ทัน
ความอยากมันก็จะดับชั่วคราวไป
ตรงที่ความอยากมันดับความทุกข์มันก็ดับ
เดี๋ยวอยากใหม่ทุกข์ใหม่ อยากใหม่ทุกข์ใหม่
จนวันหนึ่งสติปัญญาเราแก่กล้า
เรารู้โลกอย่างแจ่มแจ้งเรียก โลกวิทู
ผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง
โลกทั้งที่เป็นรูปธรรม โลกทั้งที่เป็นนามธรรม
มันกระเพื่อมขึ้นกระเพื่อมลงอย่างนี้ล่ะ
สุขหรือทุกข์ ดีหรือชั่ว สงบหรือฟุ้งซ่าน
นินทาหรือสรรเสริญ มีลาภหรือหมดลาภ
มียศแล้วหมดยศอะไรอย่างนี้
ธรรมะที่เป็นคู่ๆๆ ทั้งหลาย เป็นของประจำโลก
ถ้าใจมันเดินปัญญาไปเรื่อย
ใจมันฉลาดมันเจริญสติเจริญปัญญาไป
อบรมกล่อมเกลาใจมันฉลาด
ใจมันเข้าใจโลกเป็นอย่างนี้
กระเพื่อมขึ้นกระเพื่อมลง
ความอยากที่จะให้โลกนี้มันดีตลอด ไม่เกิดขึ้นแล้ว
เพราะรู้ว่าโลกนี้มันกระเพื่อม
อยากให้มันดีมันก็ดีไม่ได้หรอก
อยากให้มันไม่เกิดปัญหาก็ไม่ได้
เวลาปัญหามันจะเกิดมันก็เกิด
เพราะฉะนั้นเราแยกให้ออก ระหว่าง ปัญหา กับ ทุกข์
ปัญหานั้นเกิดขึ้นตลอดเวลา
ความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงในโลก
ก็ก่อให้เกิดปัญหาขึ้นมา ... "
.
หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม
11 กันยายน 2564
ติดตามการถอดไฟล์บรรยายฉบับเต็มจาก :

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา