12 ต.ค. 2021 เวลา 10:30 • ไลฟ์สไตล์
มารู้จักชนิดของ "พริก" ยอดนิยม รอบโลก
พริกมีหลายประเภทมากและสายพันธุ์มากกว่า 27 ชนิด ทั่วโลก
และ อันที่จริงแล้ว อาจมีมากกว่านี้อีก
เพราะการผสมพันธ์ุที่สามารถข้ามสายพันธ์ุไปมาได้ง่าย
รวมถึงเรื่องของการเพาะปลูกด้วยเช่นกัน
โดย พริกสามารถนำมาใช้ปรุงอาหาร เป็นเครื่องเทศ
หรือบางประเทศ เขาก็นำมาใช้เป็นยาด้วยก็มีนะ (ส่วนใหญ่จะเป็นคนสมัยก่อน)
พริกในสกุลเดียวกัน ก็อาจะมีชื่อเรียกที่ต่างกันออกไป
ทั้งนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับสถานที่ที่ปลูก และ ประเภทที่ทำให้มีชื่อเรียกที่แตกต่างกัน นั่นเอง
1
งั้นวันนี้ พวกเรา InfoStory ขอพาเพื่อน ๆ ไปรู้จักกับพริกยอดนิยม รอบโลก กันดีกว่า
แน่นอนว่า อาจไม่ได้ครอบคลุมพริกยอดนิยมในใจเพื่อน ๆ อีก
แต่เอาเป็นว่า ถ้าหากเพื่อน ๆ อยากรู้เรื่องราวเผ็ด ๆ แบบนี้อีก ก็บอกกันได้
พวกเราจะจัดมาให้อีกอย่างแน่นอน
สำหรับเพื่อน ๆ ที่อยากจะอ่านเรื่องราวที่น่าสนใจเพิ่มเติม เกี่ยวกับ “พริก”
ถ้างั้น เราขอเชิญเพื่อน ๆ อ่านต่อกันสบาย ๆ ด้านล่างเลย
พอพูดถึงเรื่องพริกเนี่ย เราก็จะนึกถึงความเผ็ด
เอ้อ ว่าแต่ไอเจ้าความเผ็ดนี่ เพื่อน ๆ เคยสงสัยกันไหม ว่ามันวัดมาจากอะไร ? แล้วคิดค้นโดยใคร ?
(หรือเราเป็นคนทำให้เพื่อน ๆ เริ่มสงสัยซะเอง ถ้าเป็นยังงั้น ไปดูคำตอบกัน !)
ความเผ็ดของพริก จะถูกวัดด้วยหน่วยวัดความเผ็ด ที่มีชื่อว่า ScovilleHeat Unit ที่เรารู้จักในชื่อย่อว่า SHU นั่นเอง (หลายคนร้อง อ้อ ! กันแล้ว)
บุคคลที่คิดค้นหน่วยวัดนี้มา คือ นักวิทยาศาสตร์อเมริกันเชื้อสายเยอรมัน ชื่อว่า วิลเบอร์ สโควิลล์ (Wilber Scoville) ในปี ค.ศ. 1912
Cr. Thespruceeat
โดย คุณสโควิลล์เนี่ย เขามาตรวัดจากปริมาณสารแคปไซซิน (Capsaicin) ที่อยู่ตรงแกนของพริก และนำไปทดสอบด้วยการชิมของผู้ร่วมการทดลอง นั่นเอง (สมัยก่อนนี้ ดิบดีจริงๆเลย)
พอพูดถึงเรื่องความเผ็ด ก็อดที่จะเล่าไม่ได้ว่า ความเผ็ดนั้นไม่ใช่รสชาตินะ
แต่ความเผ็ดคืออาการแสบร้อน หรือเอาง่าย ๆ คือ ความรู้สึกเจ็บปวด
เราต้องใช้คำว่า ความเจ็บปวด ก็เพราะว่า
ความเผ็ด ที่ประกอบไปด้วยสารเคมี ยกตัวอย่างเช่น สารแคปไซซิน (Capsaicin) จากพริก จะไปจับกับเซลล์ประสาทรับความรู้สึกเจ็บปวดและความรู้สึกร้อน ภายในช่องปากของเรา แล้วส่งสัญญานประสาทไปยังสมอง ว่าตอนนี้ ร่างกายของชั้นกำลังถูกโจมตี เจ็บปวดแบบร้อน ๆ
จึงทำให้ออกมาเป็นรสชาติ เผ็ดร้อนจี้ด เหงื่อตก นั่นเองจ้า😅🥵
ขอเสริมนิดนึง ในเรื่องของ ความเผ็ดร้อน
เพื่อน ๆ รู้ไหมว่า ความเผ็ดร้อนเนี่ย ถือว่าเป็นอาวุธป้องกันตัวอย่างหนึ่ง ของพืชชนิด “พริก” นี้ จากการถูกกัดกิน นั่นเอง
(ตอนเราทราบข้อมูลนี้ เราถึงกับร้องอ้อ ออกมาเลย)
มาต่อกัน กับ เรื่อง พริก มีต้นกำเนิดอย่างไร ?
ว่ากันว่า มีการค้นพบมาตั้งแต่สมัย 9,000 ปี ที่แล้ว ในทวีปอเมริกา และ อเมริกาใต้
ซึ่งมาจากวัฒนธรรมของชาวอาณาจักรแอซเท็ก (Aztec) ซึ่งอยู่ในบริเวณเม็กซิโกปัจจุบัน
บุคคลหนึ่งในประวัติศาสตร์ ที่เข้ามาทำให้ พริก แพร่ขยายไปทั่วโลก คือ
“คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส” ที่ได้เก็บเอาพริกไปปลูกในสเปน ในปี ค.ศ. 1550
แน่นอนว่า คนยุโรปพอได้ชิมรสชาติที่แปลกใหม่และร้อนแรงนี่ มันก็ฮิตถล่มเลยละ
จนพวกพ่อค้าต่าง ๆ ได้นำพริก ขยายไปสู่ประเทศอื่นๆ เช่น โปรตุเกส หรือ อินเดีย
(ส่วนใหญ่จะตามช่วงที่ผู้ล่าอาณานิคมเป็นใหญ่นะ เช่น กองเรืออังกฤษที่ขยายเข้าไปในอินเดีย เป็นต้น)
อันนี้เรานำภาพเส้นทางของพริกในแบบฉบับของพี่ “คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส" จาก https://www.legalnomads.com/history-chili-peppers/
โอเค เราขอพาเพื่อนๆวนเข้ามาในเรื่องของ พริกกับประเทศไทย สักนิด ก่อนจะจบบทความ
อันที่จริงแล้ว การเข้ามาของพริกในไทย ยังไม่มีหลักฐานอ้างอิงที่ชัดเจน
แต่หากอ้างอิงจากงานเขียนของ คุณโรม บุนนาค ก็ได้มีเรื่องเล่าขานสันนิษฐานกันว่า
พริก ได้เดินทางจากอินเดีย และ จากพ่อค้าชาวยุโรป ชาวโปรตุเกส เข้ามายังประเทศไทย ในช่วงอยุธยา
สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 หรือ ประมาณปี พ.ศ.2054
ซึ่งว่ากันว่า พริกที่ถูกนำเข้ามาจากชาวยุโรป ก็ได้มาพร้อมกับการเผยแพร่ศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิก อีกด้วยเช่นกัน
ไหน ๆ ก็มาเรื่องพริกของประเทศไทยแล้ว (มาได้ไงนะ คนเขียนก็เขียนเพลินเลย)
ขอปิดท้ายด้วยข้อมูลเกี่ยวกับ พริกของประเทศไทย เบาๆ
อ้างอิงจาก สถิติพริกที่รวบรวมโดยเพจลงทุนแมน (ประจำปี พ.ศ. 2561)
พริกที่มีพื้นที่ปลูกในประเทศไทยมากที่สุด
ก็จะเป็น “พริกขี้หนู” ที่มีพื้นที่ปลูกมากถึง 177,618 ไร่ เลยทีเดียว
พริกขี้หนูสวน
และ สินค้าพริก ส่งออกที่สำคัญคือ พริกสดแช่แข็ง และ ซอสพริก
ส่งออกไปยังประเทศ เนเธอร์แลนด์ ญี่ปุ่น และ เยอรมนี มากที่สุด
ซึ่งจำนวนที่ส่งออกเนี่ย มากกว่า 70,000 ตันเลยทีเดียว...
พริกสดแช่แข็ง
หวังว่าเพื่อน ๆ คงได้รับสาระความรู้เบาสมองจากพวกเราไม่มากก็น้อยนะ
และ หวังว่าเพื่อน ๆ จะได้รับประทานพริกเผ็ดร้อน กันอย่างสนุกมากขึ้น 🙂
โฆษณา